Huawei

หัวเว่ย (Huawei) เดินหน้าสร้างเชื่อมั่น ให้องค์กร ยุคอภิมหาข้อมูล ดึง ESG Lab ร่วมทดสอบ OceanStor Dorado V3 หลังพบความท้าทายจากบริหารการจัดเก็บข้อมูล ที่มีความซับซ้อน และค่าใช้จ่ายสูง เพิ่มสูงขึ้น แต่อุปกรณ์ Storage แบบเดิมไม่สามารถตอบสนองได้ทันความต้องการ

Huawei OceanStor Dorado V3 – The Best All-flash Storage for Organizations

โทนี่ พัลเมอร์ วิศวกรอาวุโส จาก ESG Lab เปิดเผยว่า เทคโนโลยีการจัดการการจัดเก็บข้อมูลจะกลายเป็นเรื่องที่ท้าทายระบบการจัดเก็บข้อมูลขององค์กรมากขึ้น เนื่องจากปริมาณของข้อมูลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่อการบริหารจัดการต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้องค์กรต่างๆต้องเร่งทบทวน และมองหาเทคโนโลยีใหม่ เข้ามาจัดการ โดยผลจากการสำรวจของ ESG Lab เมื่อเร็วๆนี้ พบว่า ภายในปี 2017 ที่ผ่านมา ปัญหาที่สำคัญที่สุดในการจัดการระบบสตอเรจ มีอยู่ 3 ความท้าทาย ที่องค์กรต่างๆ ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ

ได้แก่ ความสามารถในการป้องกันข้อมูล (Data protection) ซึ่งพบว่ามีถึง 35% รองลงมาคือราคาค่าใช้จ่ายฮาร์ดแวร์ (Hardware costs) 28% และการเติบโตของข้อมูลอย่างรวดเร็ว (Rapid data growth rate) 26% โดยความท้าทายนี้ แม้ไม่แตกต่างไปจาก 2 ปี ที่ผ่านมา แต่ด้วยปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กลายเป็นปัจจัยเร่งทำให้องค์กรต่างๆ

ต้องมองหาเครื่องมือในการจัดการโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร ในส่วนของการจัดเก็บ และปกป้องข้อมูลที่มีความซับซ้อน และค่าใช้จ่ายสูง และเมื่อดูที่เทคโนโลยีสตอเรจแบบ “โซลิดสเตต” (solid-state) พบว่าปัจจัยที่องค์กรต่างๆจะติดตั้ง โซลิดสเตต

มีอยู่ 4 ปัจจัย ด้วยกัน คือ ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพ (58%) ความเสถียรในการทำงาน (34%) ค่าใช้จ่าย I/O (31%) และต้นทุนการเป็นเจ้าของ หรือ (Total cost of ownership : TCO) (30%) ซึ่งผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่องค์จะนำมาใช้ต้อง ยืดหยุ่น สามารถทำงานกับระบบได้หลายรูปแบบ และให้ผลสำเร็จสูง

Huawei

ซึ่งผลจากการทดสอบ Huawei OceanStor Dorado V3 ตลอดระยะเวลา 5ปี นั้น เราพบว่าตัว Dorado V3 สามารถรองรับการทำงานของแอปพลิเคชั่น (Application) สำคัญๆ ของค์กรต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชั่นที่ใช้เองภายในองค์กร หรือแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการลูกค้า

เนื่องจาก OceanStor Dorado V3 นั้นถูกออกแบบให้สามารถใช้งานให้ลดความหน่วงในการเข้าถึงข้อมูลแบบ Non-Volatile Memory Express (NVMe) โดยเป็น Protocol ที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการมาของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบ Flash โดยเฉพาะ ทำให้สามารถรองรับการข้อมูลที่รวดเร็วได้

เพราะลดขั้นตอนในการแปลงข้อมูล (SCSI-SAS) ลงทำให้ระยะเวลาในการเข้าถึงจุดต่อจุดสั้น และเกิดความหน่วงน้อย และทำให้เกิดระยะเวลาในการเข้าถึงข้อมูลที่ต่ำ (latency) แอปพลิเคชั่นต่างๆจึงสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ราบรื่น

นอกจากนี้ในการทดสอบเราได้ทดสอบชุดเครื่องเดสก์ท็อปบนโครงสร้างเสมือน VMware จำนวน 1,000 คน และทดสอบบน Microsoft Exchange Server 2013 ที่มีการใช้งานระบบอีเมลกว่า 5,000 ราย (เนื้อที่รายละ 1TB) ที่ถูกสร้างอยู่บนดีสก์ขนาด 5TB

และสร้างฐานข้อมูล Oracle OLTP ขนาด 9.6TB ให้รองรับการทำงานจากผู้ใช้ 256 รายพร้อมกัน ซึ่งผลที่ได้คือสามารถให้ระยะเวลาในการตอบสนองเพียง 300 ไมโครวินาที ขณะที่ชุดเครื่องเดสก์ท็อปบนโครงสร้างเสมือน VMware จำนวน 1,000 เครื่อง ที่ทำงานพร้อมกันสามารถตอบสนองได้สูงสุดต่ำกว่า 500 ไมโครวินาที

Huawei

และเมื่อทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของ snapshot บนดิสก์ข้อมูลทุกพื้นที่ที่สามารถใช้งานได้จริง (LUN) ในขณะที่ระบบงานอื่นยังทำงานอยู่อยางต่อเนื่อง เราพบว่าประสิทธิภาพการทำงานยังมีคุณภาพ ระบบไม่ได้รับผลกระทบต่อกระบวนการทำงานโดยรวม นอกจากนี้เมื่อสร้าง snapshot บน Huawei GUI ก็สามารถลบไฟล์จำนวนมาก และกู้คืนได้อย่างง่ายดาย

สุดท้ายแล้วเมื่อเปรียบเทียบในส่วนของต้นทุนการเป็นเจ้าของ (TCO) จากผู้ให้บริการผลิตภัณฑ์สตอเรจรายอื่นๆ พบว่าระบบของ OceanStor Dorado V3 นั้นให้ TCO ต่ำกว่าระบบสตอเรจแบบไฮบริดถึง 73% และต่ำกว่า 71% เมื่อเทียบกับสตอเรจแบบ first-gen AFA ซึ่ง OceanStor Dorado V3 สามารถประหยัดได้เท่ากันๆ และช่วยลดค่าใช้จ่ายของแผนกไอที

ทำให้สามารถวางแผนการจัดการทรัพยากร และวางแผนดำเนินงาน แทนการบำรุงรักษาระบบสตอเรจ เนื่องจากความเสถียรของเทคโนโลยี SSD ทำใช้งานได้ต่อเนื่องยาวนาน และมีประสิทธิเพิ่มกว่าระบบทั่วไปถึง 10 เท่า อยา่งไรก็ดีว่าเทคโนโลยีโซลิดสเตต นั้นยังเป็นเทคโนโลยีที่มีราคาค่อนข้างสูง

องค์กรธุรกิจที่จะนำไปใช้อาจจะต้องมองในของความคุ้มค่าในระยะยาว และมองในเรื่องของประโยชน์จากการที่ไม่ต้องลงทุนเพิ่มเติม แต่เพิ่มความปลอดภัยให้องค์กรได้ อีกทั้งยังทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอุตสาหกรรมที่น่าจะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ ได้แก่ การเงิน และการธนาคาร, ผู้ให้บริการโครงข่ายสัญญาณ, ธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ และหน่วยงานภาครัฐ

Huawei

All-Flash Storage Trends Technology for Business

ด้าน ดร.จุมพต ภูริทัตกุล (ซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า วันนี้เทรนด์ของสตอเรจทั่วโลก คือการมองเทคโนโลยีที่จะช่วยลดต้นทุนในการดูแลรักษา โดยต้องคงประสิทธิภาพในการทำงานไว้ได้ อีกทั้งยังต้องสามารถรองรับการเกิดขึ้นของข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Big Data) ได้อีกด้วย

ซึ่ง หัวเว่ย ในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้นำทางด้านเทคโนโลยีของโลก ได้เล็งเห็นแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับการบริหารการจัดเก็บข้อมูลที่จะทวีจำนวนมากขึ้น จึงได้ลงทุนวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยี (R&D) ทางด้านตรอเรจมาตลอดระยะเวลา 15 ปี จนวันนี้ผลิตภัณฑ์ตสอเรจของหัวเว่ยสามารถก้าวขึ้นสู้อันดับต้นๆของโลก (์No.1 in China) และ (No.1 in World Market )

Huawei

ซึ่งเชื่อว่าภายใน 5 ปี หัวเว่ยจะสามารถสร้างรายได้ในกลุ่มผลิตภัณฑ์สตอเรจในตลาดโลกได้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่คิดเป้นรายได้อยู่ที่ 30% ขณะที่ตลาดไทย จะยังคงเป็นตลาดที่หัวเว่ยให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นในภูมิภาคนี้ เพราะด้วยนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐ ที่ต้องการให้ประเทศขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และก้าวสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation)

ทำให้หน่วยงานภาครัฐบาล และภาคธุรกิจ ตื่นตัวในการลงทุนมากขึ้น โดยหัวเว่ยเล็งที่จะขยายไปในอุตสาหกรรมอื่นเพิ่มมากขึ้น จากที่มีความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมทางด้านดารเงินการธนาคาร อยู่เแล้ว

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่