EPSON

เอปสัน (EPSON) เผยโฉมพรินเตอร์อิงค์แท็งค์ 3 รุ่นใหม่  หลังยอดขายอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ระบบแท็งค์ทะลุ 30 ล้านเครื่องทั่วโลก พร้อมตั้งเป้าตลาดไทยแตะ 1.5 ล้านเครื่องในสิ้นปี…

EPSON ตั้งเป้าครองแชมป์อิงค์เจ็ทต่อเนื่อง หลังยอดขายทั่วโลก แตะ 30 ล้านเครื่อง

เอปสันประกาศสร้างนิยามใหม่ให้กับสินค้า ภายใต้ชื่อ EcoTank เพื่อตอกย้ำการเป็นพรินเตอร์อันดับหนึ่งด้านความประหยัดและความคุ้มค่า ด้วยการเปิด ตัวพรินเตอร์แท็งค์แท้ L-series และ M-series รุ่นใหม่ จับกลุ่มองค์กรธุรกิจทุกขนาด

หลังยอดขายอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ระบบแท็งค์ทะลุ 30 ล้านเครื่องทั่วโลก พร้อมตั้งเป้าเป็นแบรนด์แรกในประเทศไทยที่ทำสถิติยอดขายแตะ 1.5 ล้านเครื่องภายในสิ้นปีนี้

EPSON

ยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการด้านการขายและการตลาด บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าตั้งแต่ปี 2553 เอปสันเป็นรายแรกที่เริ่มผลิตพรินเตอร์ระบบแท็งค์แท้ออกสู่ตลาด ในชื่อรุ่น L-Series และรุ่น M-Series ที่เป็นเครื่องพิมพ์แท็งค์แท้ขาวดำ และได้พัฒนาสินค้าให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ซึ่งในปัจจุบันพรินเตอร์ระบบแท็งค์ของเอปสัน สามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้เป็นอันดับหนึ่งของโลก จากการจำหน่ายมากกว่า 30 ล้านเครื่องใน 150 ประเทศทั่วโลก ขณะที่ในประเทศไทย เอปสันยังเป็นผู้ผลิตที่มีพรินเตอร์ระบบแท็งค์แท้มากที่สุดในตลาดถึง 19 รุ่น (L-Series 15 รุ่น และ M-Series 4 รุ่น)

ให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้รุ่นที่เหมาะสมกับงบประมาณ ลักษณะการใช้งาน และปริมาณการพิมพ์ของตัวเองได้อย่างลงตัว ซึ่งภายในสิ้นปีนี้ เอปสันจะเป็นแบรนด์แรกที่สามารถทำยอดขายพรินเตอร์ระบบแท็งค์แตะ 1.5 ล้านเครื่อง ในประเทศไทย โดยมีฐานลูกค้าในเซ็กเมนท์องค์กรธุรกิจตั้งแต่ธุรกิจขนาดเล็ก เอสเอ็มอี ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่

ซึ่งผลจากผลสำรวจที่ทาง ไอดีซี (IDC) เปิดเผยเราพบว่าเทรนด์ตลาดของเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia CISS Market Trend) โดยไตรมาส 2/2018 นั้นเติบโตมากกว่า 49% โดยโตขึ้นกว่าช่วงเดียวกันในปี 2017 ถึง 9%

และโตขึ้นจากในไตรมาส 1/2018 ถึง 10% ขณะที่ตลาดของเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ กลับมีปริมาณการเติบโตลดลงโดยในไตรมาส 2/2018 เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์เหลือเพียง 18% ซึ่งลดลงจากไตรมาสเดียวกันชองปี 2017 ถึง 5% โดยเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2018 มีอัตราลดลง 2%

โดยในตลาดไทยตลาดของเครื่องพิมพ์เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากการใช้เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ และเครื่องแบบอิงค์เจ็ท มากขึ้น โดยไตรมาส 2/2018 นั้นเติบโตมากกว่า 47% โดยโตขึ้นกว่าช่วงเดียวกันในปี 2017 ถึง 2% และโตขึ้นจากในไตรมาส 1/2018 ถึง 10%

ขณะที่ตลาดของเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ กลับมีปริมาณการเติบโตลดลงโดยในไตรมาส 2/2018 เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์เหลือเพียง 23% ซึ่งลดลงจากไตรมาสเดียวกันชองปี 2017 ถึง 4% โดยเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2018 มีอัตราลดลง 4%

ขณะที่สัดส่วน (Segment) ของการใช้งานในช่วง 3 ปี (CY2015-H1 CY2018) ของประเทศไทยนั้น พบว่า ตลาดของโซโห และเอสเอ็มอี (SME/Soho) นั้นเติบโตขึ้นเป็น 52% จากในปี 2015 ที่ตลาดนี้มีการเติบโตอยู่ที่ 50% ตลาดในกลุ่มผู้บริโภค (Consumer) นั้นมีอัตราการใช้งานลดลงเหลือเพียง 21%

โดยในปี 2015 อยู่ที่ 24% ด้านตลาดในกลุ่ม Medium Business เติบโตขึ้น 14% จาก 13% ในปี 2015 ขณะที่ตลาดในกลุ่ม Large&Govt. นั้นมีอัตราการใช้งานเท่าเดิม โดยในปีอยู่ที่ 13% และเมื่อแยกย่อยในแต่ Segment ของการใช้งานในช่วง 3 ปี (CY2015-H1 CY2018)

พบว่าประเทศไทยกาในช้งานตลาดของ SME/Soho นั้นเป็นเติบโตขึ้นของเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ทถึง 54% จากในปี 2015 ที่ตลาดนี้มีการเติบโตอยู่ที่ 33% โดยสัดส่วนของเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์นั้นเหลือเพียง 19% จากในปี 2015 ที่ตลาดนี้มีการเติบโตอยู่ที่ 25%

ตลาดในกลุ่มผู้บริโภค (Consumer) นั้นเป็นเติบโตขึ้นของเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ทถึง 23% จากในปี 2015 ที่ตลาดนี้มีการเติบโตอยู่ที่ 10% ด้านตลาดในกลุ่ม Medium Business เติบโตขึ้น 43% จาก 28% ในปี 2015 โดยสัดส่วนของเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์นั้นเหลือเพียง 46% จากในปี 2015 ที่ตลาดนี้มีการเติบโตอยู่ที่ 54%

ขณะที่ตลาดในกลุ่ม Large&Govt. นั้นมีอัตราการใช้งานของเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ท โดยในปีอยู่ที่ 23% จากในปี 2015 ที่ตลาดนี้มีการเติบโตอยู่ที่ 11% โดยสัดส่วนของเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์นั้นเหลือเพียง 69% จากในปี 2015 ที่ตลาดนี้มีการเติบโตอยู่ที่ 77%

ซึ่งแม้ว่าจะดูเหมือนการเติบโตในภาพรวมนั้นน้อยลง แต่มูลค่า หรือกำไรกับเพิ่มขึ้น เพราะตลาดมีความเข้าใจในการลงทุนซื้อพรินเตอร์เพื่อการใช้งานมากขึ้น

ซึ่งวันนี้เรายินดีที่ประกาศว่าปัจจุบัน เอปสัน นั้นสามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดได้กว่า 50% ซึ่งเป็นส่วนที่ครึ่งของตลาด โดยเราเชื่อว่าจะสามารถครงสัดส่วนเพิ่มได้มากขึ้น เมื่อจบไตรมาสสุดท้ายของปี 2018

และเพื่อสานต่อในวันนี้ เอปสัน ได้กำหนดนิยามใหม่ให้กับพรินเตอร์ระบบแท็งค์ของเราว่าเป็น EcoTank หรือ Economical Tank เพื่อตอกย้ำถึงจุดเด่นด้านความประหยัดและต้นทุนการเป็นเจ้าของ (Total Cost of Ownership) ที่ต่ำที่สุดในตลาด

พร้อมกับเปิดตัวสินค้าใหม่ทั้ง L-Series และ M-Series ภายใต้ชื่อใหม่รวม 5 รุ่น ได้แก่  EcoTank L3110, L3150, M1100, M1120 และ M2140  โดยได้รับการออกแบบให้ชุดแท็งค์หมึกอยู่ภายในตัวเครื่อง บอดี้มีความโค้งมนและขนาดกะทัดรัดยิ่งขึ้น ช่วยประหยัดพื้นที่ในการวาง

อีกทั้งระบบการเติมหมึกยังเป็นแบบ Spill-Free ที่ใช้แรงดันภายในขวดเพื่อช่วยป้องกันการหกของหมึก ตัดปัญหาหมึกหกเลอะระหว่างเติมได้อย่างสมบูรณ์แบบ ยิ่งกว่านั้นยังช่วยป้องกันปัญหาการเติมหมึกผิดสีด้วยจุกขวดที่ได้รับการออกแบบให้มีความแตกต่างเฉพาะสีอีกด้วย

 

EPSON

โดย สินค้าใหม่ทั้ง 5 รุ่นเหมาะกับกลุ่มธุรกิจ SME/Soho ที่มีการพิมพ์งานปริมาณมากและต้องการควบคุมต้นทุนการพิมพ์ โดยชุดหมึกพิมพ์ 4 สี ของ EcoTank L-Series แต่ละชุดสามารถพิมพ์ขาวดำได้ถึง 4,500 แผ่น และพิมพ์สีได้ถึง 7,500 แผ่น

ภายใต้การรับประกันตัวเครื่องและหัวพิมพ์นาน 2 ปี หรือ 30,000 แผ่น ในขณะที่ชุดหมึกพิมพ์ขาวดำของ EcoTank M-Series สามารถรองรับการพิมพ์ได้ 6,000 แผ่น ภายใต้การรับประกันตัวเครื่องและหัวพิมพ์นาน 4 ปี หรือ 50,000 แผ่น

ตั้งเป้าเพิ่มการใช้งานในกลุ่มออฟฟิศ และหน่วยงานราชการ

นอกจ่ากนี้เอปสันตั้งเป้าที่จะรุกตลาดออฟฟิศและหน่วยงานราชการที่ยังใช้พรินเตอร์เลเซอร์อยู่ โดยตลอดเวลาที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้ออกสินค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นถึงประสิทธิภาพการทำงานเมื่อเทียบระหว่างอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ของเอปสันกับเลเซอร์พรินเตอร์ว่า

ไม่ได้มีความแตกต่างกันแต่อิงค์เจ็ทพรินเตอร์กลับให้ความคุ้มค่าที่สูงกว่า ทั้งเรื่องต้นทุน การพิมพ์ต่อแผ่นที่ต่ำกว่า ประหยัดค่าซ่อมบำรุงและค่าไฟได้มากกว่า ดังนั้นการเปิดตัว EcoTank จึงสำคัญต่อการเดินหน้าทางกลยุทธ์ของบริษัทฯ

โดยเฉพาะ EcoTank M-series ที่ออกสู่ตลาดเพื่อแข่งขันกับเลเซอร์พรินเตอร์ขาวดำโดยตรง ซึ่ง EcoTank M-Series ใช้หมึกประเภทพิกเมนท์ที่มีอนุภาคหมึกเคลือบด้วยเรซิน  ทำให้งานพิมพ์คมชัดและกันน้ำ คุณภาพงานพิมพ์เทียบเท่ากับเลเซอร์พรินเตอร์ แต่สามารถช่วยลูกค้าประหยัดค่าไฟได้มากกว่า 27 เท่า

EPSON

และลดต้นทุนการพิมพ์ต่อแผ่นลงได้ 16 เท่า เฉลี่ยต้นทุนการพิมพ์แผ่นละ 10 สตางค์ เมื่อเทียบกับการพิมพ์ด้วยเลเซอร์พรินเตอร์ในระดับเดียวกัน  อีกทั้งหมึกพิมพ์ที่ใช้กับ EcoTank M-Series รุ่นใหม่ ยังมี 2 ขนาดให้ลูกค้าได้เลือกซื้อ คือ ขนาดหมึกพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ได้ 2,000 แผ่น และ 6,000 แผ่น

ซึ่งให้ความคุ้มค่ามากกว่าโทนเนอร์ของเลเซอร์พรินเตอร์ในระดับความเร็วใกล้เคียงกัน  ที่รองรับการพิมพ์ได้เฉลี่ยเพียง 1,000 -1,600 แผ่น โดยสินค้าไฮไลท์ในการเปิดตัวครั้งนี้ ได้แก่ รุ่น M2140 พรินเตอร์มัลติฟังก์ชั่นขาวดำที่ใช้เทคโนโลยีหัวพิมพ์รุ่นใหม่ PrecisionCore

ซึ่งขึ้นชื่อด้านความแม่นยำในการหยดน้ำหมึก สามารถให้ผลงานที่คมชัดสวยงามด้วยความละเอียด 1,200 x 2,400 dpi ให้งานพิมพ์ปริมาณมากด้วยความเร็วการพิมพ์ 20 ipm (ภาพ/นาที)  นอกจากนี้ M2140 ยังสามารถพิมพ์งาน 2 หน้าอัตโนมัติ (Duplex) ช่วยลดต้นทุนค่ากระดาษในออฟฟิศลงได้ถึง 50%

EPSON

รับกับเทรนด์การพิมพ์งานในออฟฟิศวันนี้ ที่มุ่งลดการใช้กระดาษ รวมทั้งยังมีโหมดการพิมพ์บาร์โค้ดที่ให้ความคมชัด ไม่ต่างจากการพิมพ์ด้วยเลเซอร์พรินเตอร์ ส่วนสินค้าใหม่อีกสองรุ่นของ EcoTank  M-Series เป็นพรินเตอร์ซิงเกิ้ลฟังก์ชั่นขาวดำที่มีความ เร็วในการพิมพ์ 15 ipm

ได้แก่ รุ่น M1100 และ M1120 ที่เพิ่มคุณสมบัติการพิมพ์แบบไร้สายผ่าน WiFi สำหรับ EcoTank L-Series ทั้งสองรุ่นที่เปิดตัวในครั้งนี้ ได้แก่ L3110 และ L3150 เป็นพรินเตอร์มัลติฟังก์ชั่น 4 สีที่มี คุณสมบัติพิเศษในการพิมพ์ภาพไร้ขอบขนาด 4R ได้

นอกจากนั้นในรุ่น L3150 ยังรองรับการเชื่อมต่อผ่าน WiFi และ WiFi Direct ผ่านคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทดีไวซ์ได้มากถึง 8 อุปกรณ์ เอปสันคาดหวังว่า EcoTank จะเปลี่ยนทัศนคติและสร้างพฤติกรรมการเลือกซื้อพรินเตอร์ระบบแท็งค์ในผู้บริโภค ขึ้นมาใหม่

โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้เลเซอร์พรินเตอร์ เพราะขณะนี้ทั้งสินค้า L-Series และ M-Series มีประสิทธิภาพที่ทัดเทียมกับเลเซอร์พรินเตอร์ทั้งด้านความคมชัดและความเร็วในการพิมพ์ แต่ให้ความประหยัดในด้านต้นทุนการเป็นเจ้าของที่ดีกว่าพรินเตอร์ระบบแท็งค์ของคู่แข่งและเลเซอร์พรินเตอร์รุ่น Entry อื่นๆ 

EPSON

นอกจากนี้พรินเตอร์ระบบแท็งค์ของเอปสันยังมีความทนทานสูง ซึ่งเป็นจุดเด่นที่เอปสันเหนือกว่าแบรนด์คู่แข่งมาโดยตลอด 

ดังนั้นเอปสันจึงกล้าที่จะนำเสนอการรับประกันสินค้านานกว่าเลเซอร์พรินเตอร์ โดยเฉพาะในรุ่น EcoTank M-Series ซึ่งครอบคลุมระยะเวลาการรับประกันนานถึง 4 ปี หรือ 50,000 แผ่น แต่ขณะที่เลเซอร์พรินเตอร์รับประกันเพียง 3 ปีเท่านั้น

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่