Eleader 2015

จากผลการศึกษาวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป เรื่อง “Business Attitudes Toward Cybersecurity 2014” ซึ่งได้รับการตอบรับจากกว่า 6,200 คน ใน 21 ประเทศ พบว่า เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กหลายคนเชื่อว่าการนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในการทำงาน หรือ BYOD ไม่เป็นภัยคุกคามต่อบริษัท และไม่ใส่ใจลงทุนเรื่องของความปลอดภัยของโมบายล์ดีไวซ์ ในขณะที่พนักงานก็คิดว่าระบบความปลอดภัยเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าของธุรกิจ

จากการสำรวจแสดงให้เห็นว่า ปัจจุบันเจ้าของธุรกิจและพนักงานจำนวนสองในสาม (62%) ใช้โมบายล์ดีไวซ์ส่วนบุคคลในการทำงาน BYOD จึงไม่ใช่แนวโน้มที่กำลังเติบโตอีกต่อไป แต่กลายเป็นวิถีการดำเนินธุรกิจที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีผลกระทบต่อบริษัททุกขนาด ตั้งแต่บริษัทขนาดใหญ่ (จำนวนพนักงาน 5,000 คนขึ้นไป) ไปจนถึงบริษัทขนาดเล็ก (จำนวนพนักงานน้อยกว่า 25 คน)

survey2_317_pic1

อย่างไรก็ตาม ทัศนคติต่อการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลในดีไวซ์เหล่านี้มักจะขึ้นอยู่กับความพึงพอใจเป็นสำคัญ จากการสำรวจความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 92% กล่าวว่า มักเก็บข้อมูลสำคัญไว้ในสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต เพื่อใช้ในการทำงานและกิจกรรมส่วนบุคคลด้วย ผู้ใช้จำนวนหกในสิบ (60%) กังวลเรื่องภัยคุกคามจากการสอดส่องและการโจรกรรมข้อมูลผ่านโมบายล์ดีไวซ์ แต่ก็ยังขาดความกระตือรือร้นที่จะป้องกันตนเอง และปล่อยให้เป็นหน้าที่ของบริษัทแทน

ในส่วนของนายจ้างและเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก พบว่าหนึ่งในสาม (32%) ไม่ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้โมบายล์ดีไวซ์ส่วนตัวของพนักงานในการทำงาน ความเสี่ยงของการโจรกรรมข้อมูลจากดีไวซ์ส่วนตัวของพนักงานไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวล จึงไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก อย่างไรก็ตามตัวแทนจากธุรกิจที่มีขนาดใหญ่กว่า แสดงความกังวลเมื่อพนักงานทำดีไวซ์หาย ซึ่งตัวแทนจำนวน 58% เกรงว่าดีไวซ์ที่ถูกโจรกรรมหรือสูญหาย อาจสร้างความเสียหายให้กับบริษัทได้

ตัวแทนของภาคธุรกิจขนาดเล็กกว่าที่มีแนวโน้มความสนใจการป้องกันเฉพาะของโมบายล์ดีไวซ์น้อยกว่า เชื่อว่าเครื่องมือรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐานของโซลูชันแบบที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายนั้นน่าจะเพียงพอแล้ว และไม่เห็นถึงประโยชน์เพิ่มเติมอื่นๆ ในการจ่ายเงินซื้อโซลูชันแบบพิเศษ ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 80% ไม่ให้ความสนใจเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลในดีไวซ์

ทัศนคติของเจ้าของดีไวซ์และหัวหน้างานเปิดเผยถึงจุดอ่อนสำคัญของเครือข่ายขององค์กร ซึ่งอาชญากรไซเบอร์และคู่แข่งทางธุรกิจที่ไร้ศีลธรรมอาจหาประโยชน์จากจุดอ่อนนี้ เมื่อทำดีไวซ์สูญหาย ก็ไม่คาดคิดว่าจะสร้างความเสียหายแก่บริษัท แต่ความสูญเสียทางการเงินนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น การสูญเสียฐานลูกค้า นอกจากนี้ จากสถิติการค้นคว้าของ แคสเปอร์สกี้ แลป พบว่า ในปี 2014 ผู้ใช้แอนดรอยด์จำนวนหนึ่งในห้าประสบปัญหาภัยคุกคามโมบายล์ และการโจมตีกว่า 53% เป็นโทรจันธนาคารและเอสเอ็มเอส

survey2_317_pic2

“ปัจจุบัน นักธุรกิจมืออาชีพแทบทุกคนต่างใช้โมบายล์ดีไวซ์ของตนเองในการทำงาน แลปทอปหรือสมาร์ทโฟนช่วยอำนวยความสะดวกให้สามารถทำงานส่วนใหญ่ได้จากระยะไกล จากที่ใดก็ได้ทั่วโลก แต่ทั้งนี้ ก็พบเหตุการณ์ที่ข้อมูลสำคัญขององค์กรสูญหายจากดีไวซ์ส่วนบุคคลได้บ่อยครั้ง และทัศนคติเลินเล่อเรื่องการรักษาความปลอดภัยของโมบายล์ดีไวซ์อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงร้ายแรงกับธุรกิจของบริษัท นั่นคือเหตุผลสำคัญที่ควรใช้โซลูชันจำเพาะที่เชื่อถือได้ เพื่อรับมือกับความต้องการยุคใหม่ทันสมัย และทิศทางการตลาด” คอนสแตนติน โวรอนคอฟ หัวหน้าฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์เอ็นด์พ้อยต์ บริษัท แคสเปอร์สกี้ แลป กล่าว

survey2_317_pic3

ตัวอย่างเช่น โซลูชัน Kaspersky Small Office Security ซึ่งเป็นโซลูชันรักษาความปลอดภัยไอทีด้วยเทคโนโลยีระดับองค์กร ออกแบบเพื่อธุรกิจขนาดเล็กโดยเฉพาะ ได้รับรางวัลการันตีประสิทธิภาพ พร้อมด้วยฟังก์ชันแอนตี้มัลแวร์ การป้องกันธุรกรรมออนไลน์ การบริหารคลาวด์ การสำรองข้อมูล และการจัดการพาสส์เวิร์ด โซลูชัน Kaspersky Small Office Security ใช้ง่าย ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการบริหารไอทีสำหรับการปกป้องเน็ตเวิร์กของบริษัท เพื่อให้ผู้ประกอบการมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจได้อย่างคล่องตัว

young woman using laptop computer at airport
young woman using laptop computer at airport