ซิสโก้เผยผลการแข่งขัน จากสมรภูมิไอเดียนวัตกรรม “Cisco Innovation Challenge 2019” หวังช่วยสตาร์ทอัพ (Start-Up) สัญชาติไทย ยกระดับสู่ระดับโลก…

highlight

  • ซิสโก้ จัดทำโครงการประกวด Cisco Innovation Challenge 2019 ขึ้นเป็นครั้งแรกในไทยเพื่อเฟ้นหาโซลูชั่นและนวัตกรรมพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น และน่าอยู่ด้วยเทคโนโลยี โดยใช้ประโยชน์จาก IoT และ Cybersecurity
  • ทีมผู้ชนะเลิศ คือ จากทีม Ricult ซึ่งนำเสนอผลงาน “แพล็ตฟอร์มดิจิทัลช่วยชาวนาตัดสินใจจาก Data-Driven” และรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ทีม Captain Thai-Nichi Team ซึ่งนำเสนอผลงาน “การควบคุมฟาร์มนกนางแอ่น” ขณะที่รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ทีม Parkspace ซึ่งนำเสนอผลงาน “Parking Space Application”  ในส่วนของรางวัล Popular Vote จากสื่อมวลชนตกเป็นของ ทีม Ricult

ประกาศผลเป็นที่เรียบร้อย สำหรับเวที “ซิสโก้  อินโนเวชั่น ชาเลนจ์ 2019” ครั้งแรกในประเทศไทย ที่  ซิสโก้ ตั้งใจจัดขึ้น เพื่อเฟ้นหาโซลูชั่นและนวัตกรรมพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นและน่าอยู่ด้วยเทคโนโลยี มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากไอโอที (IoT) 

และ ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (Cybersecurity) ผ่านแนวคิดคนไทยที่สนใจการพัฒนาเทคโนโลยีและชื่นชอบการสร้างนวัตกรรม โชว์ศักยภาพการออกแบบโซลูชั่นที่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจให้ดียิ่งขึ้น

Cisco Innovation Challenge 2019 ตั้งเป้าหนุน Start-Up ไทย สู่เวทีระดับโลก

วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ กล่าวว่า การจัดการการแข่งขันครั้งนี้ ซิสโก้ มีวัตถุประสงค์ ที่จะสนับสนุนให้คนไทยสร้างสรรค์ความคิดในการแก้ไขปัญหาสังคม ด้วยทรานส์ฟอร์เมชั่น 

โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) และไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (Cybersecurity) ที่ถือเป็นนวัตกรรมที่ทั่วโลกต้องการ เพื่อสร้างโอกาสใหม่ ๆ ทุกวันนี้องค์กรและธุรกิจต่างๆไม่มีคำถามว่าควรจะทรานส์ฟอร์มหรือไม่ แต่ “เมื่อไหร่” ที่จะทรานส์ฟอร์ม เพราะปัจจุบันหลายองค์กรยังติดกับการ

Cisco Innovation Challenge 2019
วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์

เร่ืองของปัญหาของการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับธุรกิจมาใช้งาน ดังนั้นการส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ หรือคนที่มีแนวคิดในการนำเอาเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันไปสร้างสรรค์ออกมาเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ อีกทั้งยังเป็นการช่วยส่งเสริมให้นักพัฒนาไทยอีกด้วย

ดังนั้นเราจึงได้จัดทำโครงการประกวด ซิสโก้  อินโนเวชั่น ชาเลนจ์ 2019 ขึ้นเป็นครั้งแรกในไทย เผื่อเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันแนวคิดเหล่านี้ และช่วยสานฝันของพวกเขาให้กลายเป็นจริง และสร้างเวทีที่จะมอบโอกาสที่เหล่านักพัฒนา หรือสตาร์ทอัพ (Start-Up) ขอไทยก้าวไปสูเวทีระดับโลก

ซึ่งการเปิดเวทีแข่งขันครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกสำหรับประเทศไทย ภายใต้โจทย์สำคัญเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคมโดยอาศัยเทคโนโลยี พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นด้าน การศึกษา สาธารณสุข พลังงาน สิ่งแวดล้อม คมนาคม เกษตรกรรม ฯลฯ

ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยมีผู้สนใจทั่วประเทศรวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ต่างให้ความสนใจและแสดงความมุ่มั่นต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลง  ส่งผลงานร่วมแข่งขันมากกว่า 70 ทีม โดยตลอดระยะเวลาของการแข่งขัน เราได้เห็นมุมมอง แนวคิด

ตัวอย่างของโซลูชั่นแปลกใหม่ที่พัฒนาด้วยความตั้งใจจริงของคนรุ่นใหม่ที่จะนำเอา IoT และเทคโนโลยีดิจิทัลมาเชื่อมเข้ากับดาต้า และอุปกรณ์ดิจิทัลต่าง ๆ ที่ใช่ในชีวิตประจำวันเพื่อตอบสนองความต้องการของคนมากกว่าแต่ก่อน ซึ่งทุกไอเดียที่เสนอมาเป็นแนวคิดสร้างสรรค์ที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง

ให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างรวดเร็ว และซิสโก้จะช่วยทำให้ฝันของพวกเขาเป็นจริงให้ได้ โดยเรายังช่วยสนับสนุนการพัฒนา ด้วยการให้วิศวกรของเราเข้าไปช่วยแนะนำเก่ียวกับโซลูชั่นของซิสโก้ ที่จะช่วยให้แนวคิดของสตาร์ทอัพเหล่านี้ทำได้จริง ซึ่งแต่ละทีมมีการเสนอไอเดียนวัตกรรม ที่น่าสนใจ

Cisco Innovation Challenge 2019
คณะกรรมการติดสิน อรนุช เลิศสุวรรณกิจ, มรกต กุลธรรมโยธิน, วัตสัน ถิรภัทรพงศ์, ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ

ซึ่งเราได้คัดเลือก ผลงานที่โดดเด่น จนเหลือทีมที่ผ่านเข้ารอบเป็น 10 ทีมสุดท้าย และให้มาแข่งขันกันในรอบสุดท้าย จนเหลือ 3 ทีม ได้แก่ “การควบคุมฟาร์มนกนางแอ่น” จากทีม Captain Thai-Nichi Team, “แพล็ตฟอร์มดิจิทัลช่วยชาวนาตัดสินใจจาก Data-Driven” จากทีม Ricult

และ “Parking Space Application” จากทีม Parkspace โดยในการตัดสินเราได้รับเกียรติจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการโครงการ CU Transformations จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คุณมรกต กุลธรรมโยธิน กรรมการผู้จัดการ

บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด และ คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ ผู้ร่วมก่อตั้ง และประธานบริหาร บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด อีกทั้งเรายังเปิดโอกาสให้สื่อมวชนที่ได้เข้าร่วมสังเกตการประกวดได้ร่วมโหวตอีกด้วย

Cisco Innovation Challenge 2019
ทีม Ricult ผู้ชนะเลิศจากผลงาน “แพล็ตฟอร์มดิจิทัลช่วยชาวนาตัดสินใจจาก Data-Driven” 

โดยในการประกวดทั้ง 3 ทีม ต่างนำเสนอโครงการในการนำนวัตกรรมมาสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม จนท้ายที่สุดแล้วจึงได้ ผู้ชนะเลิศ คือ จากทีม Ricult ซึ่งจะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 100,000 บาท และรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ทีม Captain Thai-Nichi Team ซึ่งจะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท

ขณะที่รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ทีม Parkspace  ได้รับเงินรางวัลมูลค่า  30,000 บาท ในส่วนของรางวัล Popular Vote จากสื่อมวลชนตกเป็นของ ทีม Ricult ซึ่งทีมที่ที่ชนะเลิศ จะได้รับประกาศนียบัตรและโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันนวัตกรรมระดับโลกของซิสโก้

ขณะที่ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะได้รับสิทธิ์เข้าเรียนหลักสูตรออนไลน์ “Introduction to IoT” และ “Introduction to Cybersecurity” จัดโดย Cisco Networking Academy โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และได้รับประกาศนียบัตรจาก บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด  

 นักพัฒนาไทยยังไปได้ไกลกว่าที่เป็นอยู่

การส่งเสริมให้นักพัฒนาที่มีอยู่ทั่วโลก นั้นถือเป็นพันธกิจที่สำคัญของ ซิสโก้ ที่ช่วยสร้างให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ เพราะเราเชื่อว่า ไอเดียที่จะเกิดให้เกิดความเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดได้จากทุกที่ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเราได้ลงทุนในด้านนวัตกรรมใหม่ ๆ ใน Venture Capital อย่างต่อเน่ือง

อย่างไรก็ดีแม้ว่าการจัดการแข่งขัน ซิสโก้  อินโนเวชั่น ชาเลนจ์ 2019 ในครั้งนี้ แม้จะมีผลงานที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) มากกว่า เทคโนโลยีทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (Cyber security) แต่ก็มีทิศทางดีขึ้น ที่เราได้เห็นความพยายามในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่

ของนักพัฒนาชาวไทย มากขึ้น ซึ่งเราเชื่อมั่นว่า นักพัฒนา หรือสตาร์ทอัพ ชาวไทย ที่มีเก่ง ๆ ยังมีอยู่อีกมาก และยังสามารถต่อยอดไปได้ไกลกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่การจัดเวทีนี้ขึ้นยังมีส่วนช่วยให้นักพัฒนาที่ไม่ได้ผ่านเข้ารอบสามารถได้รับโอกาสในการปรับปรุงผลงานให้ดีขึ้น และเข้าถึงแหล่งเงินทุนจาก Venture Capital ต่าง ๆ ได้

Cisco Innovation Challenge 2019

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่