Eleader February 2015

Info_1

งานแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อุปโภคบริโภคระดับโลก CES 2015  ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-9 มกราคม ที่ผ่านมา ณ เมืองลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา ด้วยสถิติบริษัทผู้ร่วมงาน 3,600 แห่ง นำผลิตภัณฑ์ล่าสุดมาเปิดตัวกับผู้เข้าชมงานประมาณ 150,000 คน ถือเป็นการตอกย้ำกระแสของเทคโนโลยี Internet of Things ให้ร้อนแรงยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อพิจารณาจากนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ไฮเทคอันหลากหลายที่ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ครอบคลุมถึง เทคโนโลยีสวมใส่ได้, แก็ดเจ็ตด้านสุขภาพและการออกกำลังกาย, อากาศยานไร้คนขับ (โดรน), รถยนต์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต จากหลายค่ายรถระดับโลก, เทคโนโลยีอัจฉริยะสำหรับครัวเรือน เป็นต้น

Info_2

 

เมื่อวัดกระแสความนิยมบนพื้นที่เครือข่ายสังคมออนไลน์ ก็พบว่าหัวข้อ CES ปีนี้มีการพูดถึงเพิ่มจากงานเมื่อปีก่อนหน้าถึง 105% โดยมีการโพสต์ถึงมากกว่า 735,000 ครั้ง และในจำนวนนี้เป็นประเด็นสนทนาผ่านทวิตเตอร์ถึง 626,000 ครั้ง

โดยตลอดระยะเวลา 4 วันของงาน มีการส่งข้อความผ่านทวิตเตอร์ พร้อมติดแท็ก  #CES2015 จำนวนถึง 290.000 ครั้ง, #CES 32,000 ครั้ง รวมทั้งมีการติดแท็กหมวดหมู่เทคโนโลยีที่สนใจในการเข้าชมงาน อย่างเข่น   #gamergate 30,000 ครั้ง , #othertech 23,700 ครั้ง และ #android 16,700 ครั้ง เป็นต้น

Info_3

และแทบไม่น่าเชื่อว่า ผลิตภัณฑ์ที่ร้อนแรงสุดของงาน CES 2015 ก็คือ เทคโนโลยีสวมใส่ได้ (Wearabel Technology) โดยมีบริษัทชื่อดังทั้งหน้าเก่าและใหม่ ประชันเปิดตัวอุปกรณ์พกพาเพื่อการออกกำลังกาย และแฟชั่นไฮเทคเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ได้แก่ โซนี่, การ์มิน รวมถึงแบรนด์หรูอย่าง สวารอฟสกี้ ที่เกาะติดเทคโนโลยีใหม่ด้วยการส่งนาฬิกาอัจฉริยะ (สมาร์ท วอทช์) ออกมาเอาใจผู้ชื่นชอบความหรูหรา

ไม่เว้นแม้กระทั่งแบรนด์แฟชั่นเครื่องแต่งกายที่มีแฟนคลับเหนียวแน่นอย่าง โอ๊คลีย์ และฟอสซิล ซึ่งถูกผู้ผลิตชิปอันดับต้นๆ ของโลก จีบเข้ามาเป็นพันธมิตรร่วมกันออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นไฮเทค เกาะติดกระแสตลาดใหม่นี้อย่างจริงจัง

Info_4

ความแรงของเทรนด์ Wearabel Technology หนุนให้หัวข้อนี้ขึ้นอันท็อปท็อปฮิตของประเด็นการสนทนาเกี่ยวกับงาน CES 2015 ด้วยยอดการพูดคุยบนโลกโซเชียลถึง 31,000 ครั้ง ตลอดช่วงเวลา 4 วันของการจัดงาน ส่วนอันดับรองลงมา คือ โทรทัศน์ (Television) 29.000 ครั้ง และเกม (Gaming) 19,000 ครั้ง

ทั้งนี้ เหตุผลหนึ่งที่ “โทรทัศน์” เป็นหัวข้อน่าสนลำดับต้นๆ ของงานนี้ น่าจะเป็นความต่อเนื่องจากกระแสงานปีก่อนหน้า ที่ผู้ผลิตโทรทัศน์พยายามผลักดันโทรทัศน์ความคมชัดสูง 4K เข้าสู่ตลาด และมาตอกย้ำความแรงขึ้นอีกในปีนี้ โดยมุ่งเทรนด์ไปที่คุณภาพของสีซึ่งพัฒนาขึ้นจากความคมชัดแบบ 4K โดยเฉพาะเจ้าตลาดจากแดนโสมอย่าง ซัมซุง และแอลจี ที่แข่งกันนำโทรทัศน์รุ่นใหม่ ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า quantum dot มาโชว์ในงาน ให้ภาพคมชัดและสดใสกว่าเมื่อเทียบกับจอภาพแอลซีดี และที่แน่ๆ สมาร์ททีวีเหล่านี้ ล้วนแต่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย ผู้ใข้งานสามารถทำการอัพเดทโปรแกรมต่างๆ ให้รองรับความบันเทิงแบบไร้ขีดจำกัดได้อย่างสะดวกสบาย

Info_5

 

ขณะที่ ผู้บริหารระดับสูงของซัมซุง ยังประกาศกร้าวผ่านเวทีนี้ว่า ในอนาคตทุกผลิตภัณฑ์ที่บริษัทผลิตขึ้น จะรองรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ภายในปี 2020  ส่งผลให้มีการส่งต่อข้อความส่วนนี้ผ่านเครือข่ายโซเชียลอย่างคึกคัก ขึ้นทำเนียบผู้บริหารบริษัทไอที ซึ่งถูกพูดถึงมากที่สุดของงานปีนี้ อย่างไรก็ตาม ทางด้านของแบรนด์ยอดนิยมที่ได้รับความสนใจจากผู้ชมงานสูงสุดบนโซเชียล ยังคงตกเป็นของอินเทล ตามมาด้วย แอนดรอยด์ และโซนี่ โดยมีการสนทนาผ่านสังคมออนไลน์ 70,000 ครั้ง, 50,000 ครั้ง และเกือบ 30,000 ครั้ง ตามลำดับ

ไฮไลท์ของวิสัยทัศน์ซัมซุงต่อการขับเคลื่อนความแพร่หลายของกระแส Internet of Things ก็คือ การตัดสินใจที่จะใช้เทคโนโลยีเปิดสำหรับการพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อรองรับแนวโน้มนี้ นั่นหมายความว่า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของซัมซุงภายใต้วิสัยทัศน์ข้างต้น จะสนับสนุนการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตกับผลิตภัณฑ์จากค่ายอื่นๆ โดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาอยู่เป็นส่วนหนึ่งในวงจรการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทั้งนี้ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคในการก้าวเข้าสู่ยุคที่อุปกรณ์ต่างๆ รอบตัวจะสามารถสื่อสารกันเองได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั่นเอง

ผู้เข้าชมงานแบ่งระหว่างชายและหญิง

Info_7