CA

CA แนะองค์กรควรรูปแบบการผลิตซอฟต์แวร์สมัยใหม่ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือทุกการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นความสำคัญไปที่ตัวลูกค้าเป็นหลัก และพัฒนาเส้นทางปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดนับตั้งแต่การออกแบบโปรดักส์ไปจนถึงประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าในทุกระดับขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง

CA

นิค ลิม รองประธานบริษัท ซีเอ เทคโนโลยี ประจำกลุ่มประเทศชาติสมาชิกอาเซียน และกลุ่มประเทศจีน กล่าวว่า บริษัท และองค์กรต่างๆ ในทุกวันนี้ ต้องรับมือกับความพลิกผันเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิตอลตลอดเวลา ส่งผลกระทบต่อ ผู้ที่มีบทบาทในการตัดสินใจทางธุรกิจทุกระดับนับตั้งแต่ผู้บริหารสูงสุดไปจนถึงพนักงานที่กำลังพัฒนาซอฟต์แวร์ในบริษัท

และหน่วยงานตามแผนกต่างๆ ทุกคนมีเวลาน้อยลงทุกทีที่จะบ่มเพาะไอเดียใหม่ๆ พัฒนานวัตกรรม หรือนำเสนอโซลูชั่น ระดับสุดยอดต่อลูกค้า เพราะเรื่องที่ท้าทายที่สุดก็คือการสร้าง และนำเสนอรวมทั้งปรับปรุง นวัตกรรมที่เน้นหนักไปที่ตัวลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและทำต่อเนื่องตลอดเวลาได้กลายมาเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการแข่งขันในยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่น

ธุรกิจในทุกภาคส่วนอุตสาหกรรมจำเป็นที่จะต้องตระหนักว่าซอฟต์แวร์คือหัวใจหลักในการสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขันเพราะธุรกิจวันนี้ขับเคลื่อนด้วยแอพพลิเคชั่น และการเชื่อมต่อของผู้บริโภคเข้าสู่อินเทอร์เน็ตผ่านโปรแกรมต่างๆ และในธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์จะสร้างประสบการณ์ให้แก่ผู้บริโภค และนำไปสู่การเจริญเติบโตของธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว

บริษัทต่างๆจำเป็นที่จะต้องใช้แนวคิดสร้างเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงด้วยแนวคิดนี้ โดยนำไปใช้จะต้องลดปัญหาที่เป็นอุปสรรคในทุกระดับ และเน้นหนักไปที่ผลลัพธ์ที่ได้มากกว่ากระบวนการ นอกจากนี้ยังจะต้องนำแนวคิดการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างยืดหยุ่น และหลักการลงทุนแบบเน้นประหยัดมาใช้งานอีกด้วย

และสำคัญที่สุดก็คือ องค์กรที่สามารถปรับตัวอย่างยืดหยุ่น และขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์อย่างแท้จริงจะต้องเป็นบริษัทที่เน้นความสำคัญไปที่ตัวลูกค้าเป็นหลักโดย พัฒนาเส้นทางปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดนับตั้งแต่การออกแบบโปรดักส์ไปจนถึงประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าในทุกระดับขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง

การจะนำเสนอประสบการณ์ของลูกค้าที่เหนือกว่าด้วยความไวในการบริการ พร้อมปรับขนาดสเกลของงาน และความเสถียรในการใช้งาน ที่ต้องเน้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ดังนั้นบริษัทที่พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือและทักษะ รวมทั้งกระบวนการทำงาน ที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง

รูปแบบการผลิตซอฟต์แวร์สมัยใหม่ (Modern Software Factory)จะช่วยให้ทุกองค์กรมีขีดความสามารถในการสร้างธุรกิจที่ยืดหยุ่น สร้างแอพพลิเคชั่นที่ดีกว่าเก่า เร็วกว่าเก่าและทำให้การรักษาความปลอดภัยกลายมาเป็นความได้เปรียบในการแข่งขัน ไปจนถึงการสร้างประสิทธิภาพสูงสุดจากแอพพลิเคชั่นที่ใช้งาน

แม้ว่าเราจะเห็นว่าเริ่มมีแอพฯที่ออกมาให้ผู้บริโภคได้ใช้กันมากมายแล้ว แต่สิ่งที่ตามมาคือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้แอพฯ คือความเร็วในการเรียกใช้งาน ของแอพฯต่าง เพราะผู้บริโภคปัจจุบันต้องการความรวดเร็ว ธุรกิจที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการนี้จะสารถเติบโตได้ดีกว่า

ซึ่งแบบพิมพ์เขียวของบริษัทธุรกิจ ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในยุคแอพพลิเคชั่น ด้วยการใช้รูปแบบการผลิตซอฟต์แวร์สมัยใหม่ (Modern Software Factory) จะช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถสร้างเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวอย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตลาด

โดยโซลูชั่นของบริษัทซีเอ เทคโนโลยีทั้งในด้าน Agile, DevOps และการรักษาความปลอดภัย จะรองรับสนับสนุนแผนงานในการสร้างองค์กรบริษัท ที่พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงและสามารถพัฒนานำเสนอโซลูชั่นซอฟต์แวร์ของตนเองต่อลูกค้าได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

CA

ผลวิจัย CA เผยองค์กรไทยก้าวสู๋ยุค API แต่ยังช้าในแง่ผลิตเพื่อใช้งานจริง

แม้ว่าวันนี้ทุกองค์กรธุรกิจตื่นตัวเป็นอย่างมากในการใช้เทคโนโลยีช่วยทำให้ธุรกิจเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว โดยตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา เราเห็นแนวโน้มในการสร้าง Application Economy ในทุกองค์กรธุรกิจ โดยมีการก่อตั้งแผนก หรือฝ่ายไอที ขึ้นมาโดยเฉพาะ และมีแอพพลิเคชั่น ที่เป็นแอพฯของบริษํทโดยเฉพาะเกิดขึ้นมากมาย ทั้งนี้เพื่อรองรับ และรักษาผู้บริโภคไว้ให้อยู่กับธุรกิจให้ได้

แต่จากการสำรวจวิจัยระดับโลกโดยบริษัทซีเอ เทคโนโลยีชี้ให่้เห็นว่าประเทศไทยก้าวเป็นผู้นำในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในด้านการใช้งานAPI หรือ Application Programming Interface แล้วโดยกว่า 95% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ปัจจุบันได้ใช้งาน APIแล้วในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิตอล

การสำรวจนี้ใช้ชื่อว่า API สู่การสร้างความเชื่อมโยงทางธุรกิจในยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่น (APIs: Building a Connected Business in the App Economy ) ได้นำข้อมูลวิเคราะห์จากการตอบแบบสอบถามจากบรรดาผู้บริหารระดับสูงทางธุรกิจและผู้บริหารไอทีจำนวน 1770 รายทั่วโลก

โดยมี 799 ราย มาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และญี่ปุ่น (APJ) โดยรวมประเทศไทยด้วย ผลการสำรวจนี้มุ่งเป้าไปที่หาข้อมูลเชิงลึกว่า องค์กรบริษัทต่างๆสามารถนำ API เข้ามา ขยายธุรกิจของตนในยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่นอย่างไรบ้าง

นอกจากที่ประเทศไทยจะได้รับการจัดอันดับสูงสุดในด้านอัตราการใช้งาน API ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้แล้ว บริษัท หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยยังได้รับผลตอบแทนมหาศาลตามการวัดค่า KPIs เชิงปริมาณ จากการลงทุนลงแรงในด้าน API โดยตัวผลการสำรวจได้ระบุดังนี้

สามารถลดจำนวนความล้มเหลวของ การตรวจสอบที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบภาครัฐ ลงได้ 55% ลดค่าใช้จ่ายด้านไอทีที่เกี่ยวข้อง 55% เพิ่มความพอใจของลูกค้าได้ 53% เพิ่มปริมาณยอดการทำธุรกรรม 53% และเพิ่มความพอใจในการทำงานกับ ของพาร์ตเนอร์และคู่ค้า 52%

อัตราการปรับปรุงพัฒนานี้ยังจัดว่าสูงที่สุดในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ สูงที่สุดเป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น โดยอยู่อันดับรองจากประเทศอินเดียและยังจัดว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ซึ่งที่อยู่ที่ 43-44%ในแต่ละการวัด KPIs

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะได้รับการจัดอันดับคะแนนที่ดีในด้านการใช้งาน API แต่บริษัทและองค์กรต่างๆ ยังคงตามหลังในเรื่องของ การนำโปรดักต์ออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็วโดย ในแง่นี้มีการปรับปรุงพัฒนาเพิ่มขึ้นเพียง 16% ในด้านของเวลาที่ใช้ในการพัฒนาโปรดักต์ ทดสอบและออกแอพพ์ใหม่ๆ มาสู่ตลาด

และอัตรานี้ เป็นการวัดหลังการใช้งาน API ด้วยซึ่งจัดว่าอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นซึ่งอยู่ที่ 21% จะเห็นว่า เป้าหมายการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จาก APIs นั้น เส้นทางการพัฒนาก็มีอุปสรรคด้วยเช่นกัน ซึ่งแตกต่างออกไปตามแต่ละประเทศ

โดยในประเทศไทยผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ยังขาดทรัพยากรแรงงานที่มีทักษะฝีมือในการนำประโยชน์จากการใช้งาน API มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ในขณะที่มีอีก 41% ระบุว่า คือปัญหานี้ รวมกับปัญหาขีดความสามารถในการรักษาความปลอดภัยให้กับระบบ API ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในขณะที่อีกส่วนระบุว่ามีปัญหาในด้านขีดความสามารถในการปรับขยายขนาดตามการใช้งานหรือการบริหารจัดการประสิทธิภาพการทำงานโดย 2 อันหลังนี้จะ มีผู้ตอบแบบสอบถามระบุไว้ในอัตรา 37% เท่านั้น

ซึ่งความสำเร็จในยุคเศรษฐกิจแอพพลิเคชั่นปัจจุบัน หมายความว่าการเชื่อมโยงโปรดักต์ที่มีให้ตรงกับความต้องการจำเป็นของลูกค้า เชื่อมโยงลูกค้ากับการใช้งาน แอพฯ ในอุปกรณ์ต่างๆ และเชื่อมโยงบริษัทองค์กรหน่วยงานต่างๆให้เข้ากับ ระบบทำงานกับพาร์ตเนอร์เป็นเรื่องสำคัญ  

โดย  API จะเป็นตัวตั้งสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบจิตอลและเป็นศูนย์กลางประสานงานสำคัญที่ช่วยให้การเชื่อมต่อต่างๆสามารถเป็นไปได้อย่างรวดเร็วถูกต้องแม่นยำและมีความรักษาความปลอดภัย ในขณะที่นำเสนอบริการที่มีคุณภาพได้ 

แต่ถึงเป็นเช่นนี้ แต่องค์กรไทยก็ยังกำลังประสบปัญหา คือ จะเริ่มต้นอย่างไร? เพราะแม้ว่าแนวทางในการปรับใช้ซอฟต์แวร์ จะมีประโยชน์ในการสร้างธุรกิจให้เติบโต เนื่องจากไม่รูว่าจะนำส่วนใดในการเข้าไปเริ่มทำการเปลี่ยนแปลง หรือในหลายกรณีที่มีการลงทุนด้านซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นไปแล้ว แต่อาจไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค แต่ไม่ทราบว่าเริ่มแก้ตรงไหน

ซึ่งตรงจุดนี้ เราในฐานะผู้นำทางด้านเทคโนโลยีสำหรับการเชื่อมต่อ API นั้นเรามีกลยุทธ์หลักคือการเข้าไปศึกษาถึงปัญหา และความต้องการของธุรกิจต่างๆ โดยโฟกัสในจุดที่มีความจำเป็นกับธุรกิจจริงๆ เพื่อแนะนำให้ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี API ได้อย่างเหมาะสม โดยทางเราจะอาศัยจุดแข็งในการทำงานร่วมกับพาทเนอร์ของเราในการช่วยแก้ปัญหาให้ธุรกิจของลูกค้า

CA

ข้อดีของการบริหารจัดการ API ระดับสูง

นอกจากนี้จากผลการศึกษาด้านความพร้อมของรูปแบบการจัดการ API เรายังพบว่า บริษัท และองค์กรต่างๆได้มีการใช้งานโปรแกรมทูลและเทคโนโลยี ระบบต่างๆ รวมทั้งขั้นตอนการทำงานและศักยภาพที่จำเป็นที่จะต้องมีในการบริหารจัดการ API อย่างครบถ้วนครบวงจรอย่างไรบ้าง

โดยจุดนี้จะเป็นพื้นฐานของการบริหารจัดการ API ครบวงจรที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีเพื่อที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการพัฒนาระบบ API นับตั้งแต่ ขั้นตอนจากแนวคิดเริ่มต้น ไปสู่การใช้ประโยชน์ในขั้นปลาย ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพ API ขั้นสูงมากที่สุดหรือ 63%

ตามติดประเทศอินเดียและอินโดนีเซียและสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นที่อยู่ที่ 55% โดยผู้ตอบแบบสอบถามที่มีการใช้งานระบบบริหารจัดการ API แบบครบวงจรแล้วนั้น ได้มีการใช้งานตามศักยภาพด้านต่างๆ อย่างน้อย 80% เช่นการเชื่อมต่อระบบเดิมเข้ากับระบบใหม่ที่ใช้งาน  

การสร้างAPI อย่างรวดเร็วเพื่อที่ จะส่งต่อข้อมูลในระบบได้อย่างปลอดภัย  การเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับระบบแบคเอนด์และ แอพพลิเคชั่นเดิมที่ใช้งานอยู่ การปกป้องการเชื่อมต่อที่มีด้วยระดับรักษาการความความปลอดภัยที่ถูกต้องเหมาะสม  การเร่งการพัฒนา ด้านโมไบล์ การใช้ประโยชน์จากระบบดิจิตอลที่เกี่ยวข้องด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลระดับสูงและการสร้างรายได้อื่นๆ 

ซึ่งแม้ว่าองค์กรในประเทศไทยจะยังไม่สามารถก้าวไปขั้นตอนในการผลิตออกมาใช้งานได้สำหรับการเชื่อมโยงกับผู้บริโภคได้เร็วเท่าที่ควร แต่ก็ถือว่าบริษัทต่างๆมีความตระหนักชัดเจนในความจำเป็นที่จะต้องลงทุนในด้านศักยภาพระดับสูงเพื่อรองรับการใช้งานAPIอย่างครบวงจร ซึ่งส่งผลให้มีความสำเร็จ และได้รับผลตอบแทนกลับคืนมา

 

เกี่ยวกับ ซีเอ เทคโนโลยี
ซีเอ เทคโนโลยี (NASDAQ: CA) เป็นผู้จัดหาโซลูชั่นเพื่อการบริหารจัดการไอที ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถจัดการและรักษาความปลอดภัยในสภาพแวดล้อมของระบบไอทีที่ซับซ้อนเพื่อรองรับการให้บริการธุรกิจได้อย่างคล่องตัว ทั้งนี้ องค์กรต่างๆ ใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์และโซลูชั่นในกลุ่ม SaaS ของซีเอ เทคโนโลยี เพื่อสร้างนวัตกรรม ปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐาน และรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและอัตลักษณ์ต่างๆ นับตั้งแต่ระดับดาต้าเซ็นเตอร์ไปจนถึงระบบคลาวด์ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับซีเอ เทคโนโลยี ได้ที่ www.ca.com