ธุรกิจในยุคดิจิทัล ข้อมูล คือสิ่งที่จะสร้างความแตกต่าง เพราะสามารถปรับกลยุทธ์ได้อย่างทันท่วงที แต่หากใช้ไม่มากพอก็จะสร้างความเสียหายในหายนะระดับที่องค์กรอาจล้มหายตายจากไป อย่างที่หลายๆธุรกิจประสบพบเจอกันมาแล้ว

Teradata

ธุรกิจยุคข้อมูลเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

จีรภา คงสว่างวงศา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทราดาต้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เรื่องของนโยบาย Thailand 4.0 ที่รัฐต้องการขับเคลื่อนด้วยเทคโนยี การใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ องค์กรธุรกิจในไทยต้องมองว่าทำไมเรื่องของการวิเคราะห์ข้อมูลถึงสำคัญเพราะข้อมูลนั้นมีอยู่ทุกที่

ในอดีตการนำข้อมูลมาเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเพราะในหนึ่งธุรกิจมีโซลูชันข้อมูลหลายส่วน ในบางครั้งก็ถูกนำมาใช้งาน บางครั้งก็ไม่ได้ใช้เพราะไม่รู้หรืออาจจะไม่ทราบ แต่หากเราสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดมาใช้งานได้จะเกิดประโยชน์มากขนาดไหน โดยเฉพาะเรากำลังก้าวสู่โลกที่อินเทอร์เน็ตอยู่ในทุกสิ่งแล้ว ทำให้จำนวนข้อมูลทั้งหลายมีมากขึ้น ทำให้การวิเคราะห์ยุ่งยากมากขึ้น

แต่เดิมธุรกิจในกลุ่มการเงิน การธนาคาร และกลุ่มโทรคมนาคมเท่านั้นที่ตื่นตัวเรื่องนี้ แต่ปัจจุบันเริ่มเห็นกลุ่มค้าปลีกและกลุ่มพลังงานหันมาให้ความสนใจมากขึ้น โดยการศึกษาจากการ์ทเนอร์ชี้ให้เห็นว่า ภายในปี 2561 บริษัทต่าง ๆ ที่ลงทุนเต็มที่ในการให้บริการออนไลน์เฉพาะบุคคล จะสามารถทำยอดขายได้มากกว่าบริษัทที่ไม่ลงทุนประมาณกว่า 30%

อย่างไรก็ตาม หลายบริษัทมักพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากพฤติกรรมลูกค้าบนเส้นทางธุรกรรมหลายพันล้านครั้งของลูกค้าหลายล้านคน นอกจากนี้ลูกค้าต่าง ๆ ก็ใช้งานหลากหลายอุปกรณ์ และช่องทางในการสร้างปฏิสัมพันธ์แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคาดหวังว่าจะได้รับประสบการณ์เฉพาะบุคคลในทุกช่องทาง

ขณะที่เรามุ่งสู่เศรษฐกิจดิจิทัลด้วยวิสัยทัศน์การพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาลไทยในปัจจุบัน ตรงนี้เองที่เทราดาต้าจะเข้าไปช่วยโดยการนำเอาโซลูชันที่มีชื่อว่า Teradata Customer Journey ไปช่วยเพิ่มความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลให้นักการตลาด เพื่อสร้างความเข้าใจพฤติกรรมหรือประสบการณ์ของลูกค้าได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น

รวมทั้งปรับใช้งานแบบเชิงรุกได้อย่างรวดเร็ว โดยหวังให้ธุรกิจไทยเติบโตขึ้นด้วยการมอบคุณค่าแก่ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นโดยโซลูชันนี้ไม่เพียงช่วยให้บริษัทเข้าใจและเพิ่มประสิทธิภาพประสบการณ์ของลูกค้าแต่ละรายได้ตลอดเวลา แต่ยังรองรับทุกช่องทางและทุกอุปกรณ์ได้แบบ Real-time รวมทั้งยังช่วยนักการตลาดเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเพื่อการวิเคราะห์ที่เหมาะสม

สามารถใช้ระบบอัตโนมัติที่ฝังในโซลูชันเป็นตัวช่วยให้นักการตลาดดำเนินแคมเปญผ่านหลายช่องทางแบบเจาะจงลูกค้าได้พร้อมกันหลายพันรายการโดยไม่ต้องเพิ่มกำลังคนหรือทีมงาน ซึ่งเราได้รวบรวมเทคโนโลยีที่จำเป็นทั้งหมดผนวกกับความเชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านทำการตลาดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

เทราดาต้าช่วยให้องค์กรมีศูนย์ข้อมูลเส้นทางของลูกค้าที่สมบูรณ์โดยไม่ต้องคำนึงถึงความท้าทายจากการใช้งานโซลูชันร่วมกับผู้ขายหลากหลายราย ซึ่งความสามารถใหม่ ๆ ในโซลูชัน Teradata Customer Journey นั้นรวมไปถึงความสามารถด้านระบบวิเคราะห์เส้นทางลูกค้าแบบองค์รวม (Integrated Customer Path Analytics) ช่วยให้บริษัทเข้าใจถึงเส้นทางและพฤติกรรมของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

รวมทั้งรับทราบจุดการเข้าถึงและมีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมายนักการตลาดประยุกต์ใช้ความสามารถนี้เพื่อกำหนดกลุ่มลูกค้าในเส้นทางที่เฉพาะเจาะจง อีกทั้งยังมีระบบจำลองภาพเส้นทางการสื่อสาร (Communication Journey Visualizations) ที่จะแสดงให้เห็นว่าลูกค้ามีการไหลผ่านแคมเปญแบบหลายขั้นตอนอย่างไร

ข้อมูล

ช่วยให้นักการตลาดสามารถประเมินปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจตอบรับหรือปฏิเสธข้อเสนอได้และกำหนดค่าตัวแปรต่าง ๆ ในระบบเพี่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาด และด้วยระบบจำลองภาพโมเดลการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Visualizations for Self-Learning Models) แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของลูกค้าไม่ว่าจะเป็น อายุ  รายได้  ช่วงวัย เหตุการณ์ในชีวิต 

ซึ่งช่วยให้นักการตลาดเข้าใจโพรไฟล์ของลูกค้าที่มีแนวโน้มตอบสนองต่อข้อเสนอและสามารถวางแผนการสื่อสารได้แม่นยำ รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในการใช้งานให้กับนักการตลาดได้มากขึ้น โดยองค์กรธุรกิจยังสามารถใช้ ระบบจำลองข้อเสนอพิเศษแบบ Real-time (Real-time offer simulation) 

ช่วยให้นักการตลาดเพิ่มความสามารถในการคาดการณ์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากข้อความ ข้อเสนอ หรือกลยุทธ์ใหม่ของบริษัทในแคมเปญที่มีอยู่ในปัจจุบัน เมื่อเข้าใจถึงผลกระทบต่อจำนวนลูกค้าเป้าหมายและศักยภาพในการตอบสนอง นักการตลาดก็จะสามารถเริ่มต้นแคมเปญที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และใช้ประโยชน์สูงสุดจากกลยุทธ์ข้อเสนอพิเศษ

โดยผู้ใช้งานยังสามารถร่วมกับข้อมูลจากโซลูชันอื่นได้ (Bring Your Own Model Score) คุณสมบัตินี้ช่วยให้นักการตลาดสามารถนำข้อมูลจากโซลูชันอื่นมาปรับให้ระบบทำงานในโมเดลการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Learning Model) เพื่อเอี้อประโยชน์สูงสุดในการส่งสารถึงลูกค้ารายใดรายหนึ่ง เพิ่มความมั่นใจของงานก่อนหน้าจะไม่เป็นการทำงานที่สูญเปล่า

สำหรับอุตสาหกรรมในไทยที่น่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยี Internet of Things :IoT ซึ่งจะได้ประโยชน์จากโซลูชันในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตรที่ก้าวสู่การเป็นเกษตรอัจริยะ หรือ Smart Farmer ด้วยการนำเอาข้อมูลสภาพดิน ฟ้า อากาศ ความชื้น นำมาวิเคราะห์เพื่อสร้างให้เกิดผลผลิตที่ดีมากขึ้น

ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมการขนส่งก็จะสามารถบริหารจัดการได้ดีมากขึ้น ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีการติดตามการขนส่ง เป็นต้น และในภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่เริ่มมีการนำเอาหุ่นยนต์เข้ามาใช้มาขึ้นก็จะสามารถเพิ่มศักยภาพในโรงงานด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งกำลังการผลิต สต็อกสินค้า และการบำรุงรักษาอุปกรณ์

เพื่อรองรับการเติบโตเรายังได้เตรียมเพิ่มทีมวิเคราะห์ข้อมูลอีก 10-20% และรองรับการเติบโตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยจากการที่เราเปิดกิจการอยู่ในไทยมาแล้ว 9 ปี ผู้ใช้บริการจึงสามารถมั่นใจในด้านโซลูชันและบริการของเราได้

ซึ่งการเติบโตอย่างต่อเนื่องของประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นับเป็นหลักฐานแห่งความสำเร็จและความเชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ของลูกค้าหลัก อาทิ ปตท. ที่ใช้โซลูชันของเรา

PTT

ด้าน ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจหล่อลื่น กลุ่มธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ระบบวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกที่มีจำนวนมหาศาล (Big Data Analytics) คือเทคโนโลยีที่เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อน ปตท. ให้สามารถดูแลคนไทยอย่างทั่วถึงด้วยสินค้าและบริการที่ถูกใจ

สามารถสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ในเวลาอันรวดเร็ว เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ปตท. จึงได้ร่วมมือกับเทราดาต้าซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญชั้นนำระดับโลกด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในการพัฒนาแผนระยะยาว และเสริมสร้างความพร้อมทั้งในด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และศักยภาพของบุคลากรตั้งแต่ปี 2558 ถึง 2560

โดยแย่งเป็นการลงทุน 4 ระยะ ด้วยกัน ซึ่งในขั้นต้น ปทต. สามารถวิเคราะห์ปริมาณการเติมน้ำมันของลูกค้าในแต่ละวันได้ เราพบว่าปริมามาณการเติมน้ำมันของผู้ใช้บริการอยู่ที่ 1 ล้านครั้งต่อวัน ขณะที่การใช้บริการในร้านกาแฟอเมซอนนั้นมีจำนวนผู้ซื้อเฉลี่ยตกวันล่ะ 3-4 แสนแก้วต่อวัน

และยังทำให้เราทราบว่าลูกค้ามีการใช้บัตรสะสมคะแนนเพื่อใช้แทนเงินสด (PTT Blue Card) เพื่อสะสมคะแนน หรือใช้เป็นส่วนลดเฉลี่ยวันละ 1 แสน ซึ่งทำให้เราสามารถนำไปพัฒนาปรับปรุงบริการได้ดีมากขึ้น