หัวเว่ย ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โชว์ความพร้อมการทดสอบเทคโนโลยี 5G เตรียมเปิดการทดสอบการใช้งาน (Testbed) ของหัวเว่ย ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ศกนี้ ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นแห่งแรกในภูมิภาค พร้อมผนึกกำลังร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) จัดสัมมนาฝึกอบรม “Embracing 5G: Business Leadership Training” เตรียมความพร้อมภาคธุรกิจ ดึงหน่วยงานผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบาย ผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการจากภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ร่วมเปิดตัวการทดสอบการใช้งาน 5G อย่างเป็นทางการ

 หัวเว่ย ยังคงเดินหน้าลงทุนในประเทศไทยด้วยการพัฒนาสนามทดสอบ 5G ให้สอดคล้องตามลักษณะการใช้งานจริง ด้วยงบประมาณราว 160 ล้านบาท (5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สนามทดสอบแห่งนี้ได้รับการออกแบบเพื่อใช้เป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยมีผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยคอยให้คำปรึกษาแนะนำ พร้อมนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงโครงข่ายมากขึ้น

อีกทั้งยังเป็นการเปิดประตูสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตด้วยโมเดลธุรกิจที่ผ่านการพิสูจน์แล้วด้วย พันธมิตรในอุตสาหกรรมและบรรดาสตาร์ทอัพยังสามารถทดสอบและเร่งผลักดันการสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การเติบโตทางธุรกิจที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

 “หัวเว่ยเข้ามาร่วมมืออย่างแข็งขันในโครงการ “สนามทดสอบ 5G” หรือ 5G Testbed ของกระทรวงดิจิทัลฯ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตศรีราชา ให้ใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยเป็นสถานที่ทดสอบ

โดย กสทช. จะจัดสรรคลื่น 5G พร้อมด้วยผู้ให้บริการระบบสื่อสารและอินเทอร์เน็ตทุกรายเข้ามาร่วม”ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าว พร้อมเสริมว่า การส่งเสริมการใช้งาน 5G ให้เติบโตต้องอาศัยอีโคซิสเต็มที่แข็งแกร่ง หัวเว่ยและกระทรวงดิจิทัลฯ จึงร่วมกันจัดงานสัมมนาฝึกอบรม วันนี้ขึ้นมา เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกและประโยชน์อันมากมายของ 5G ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยให้เติบโตก้าวหน้ายิ่งขึ้น”

 มร. เจมส์ อู๋ ประธานบริหาร หัวเว่ย ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า หัวเว่ยจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มกำลังและร่วมมือกับพันธมิตรของเรา เพื่อสร้างความสำเร็จให้กับนวัตกรรม 5ก่อนแนะนำออกสู่ตลาดอย่างเป็นทางการ คาดว่าเทคโนโลยีนี้จะเป็นแกนหลักสำคัญในการเชื่อมต่ออุปกรณ์นับพันล้านชิ้นเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการใช้ IoT, AI, เครือข่ายคลาวด์ และนวัตกรรมอื่น ๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อันจะช่วยขับเคลื่อนความมุ่งหวังของรัฐบาลไทยให้ก้าวสู่ยุคดิจิทัลได้เร็วขึ้น และกลายเป็นดิจิทัลฮับของภูมิภาคในอนาคตได้อย่างแน่นอน 

 เทคโนโลยี 5จะปูทางไปสู่บริการและแอพพลิเคชั่นใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น แอพพลิเคชั่นสุขภาพที่มี AI เป็นผู้ช่วย (AI-assisted Health), ระบบการผลิตอัจฉริยะเมืองอัจฉริยะการศึกษา ฯลฯ ปัจจุบัน หัวเว่ยได้ลงนามในสัญญา 5เชิงพาณิชย์แล้วกว่า 30 ฉบับ ทำให้บริษัทเป็นผู้นำอันดับหนึ่งของวงการที่มีสัญญา 5เชิงพาณิชย์มากที่สุด และได้ส่งมอบสถานีฐานไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกกว่า 25,00ชุด

หัวเว่ยจะยังคงศึกษาความต้องการของไทยอย่างไม่หยุดยั้ง พร้อมทั้งแสวงหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปสู่ยุคแห่งการทรานสฟอร์มด้านดิจิทัล พร้อมให้คำมั่นที่จะสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีแก่ภาคธุรกิจของไทย ซึ่งกำลังจะได้ใช้เครือข่าย 5ตลอดจนทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมไปถึงสถาบันการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาผู้มีความสามารถที่จะเป็นกำลังสำคัญต่อไปในอนาคต