นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขา สดช
นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขา สดช

สดช.เดินหน้ายุทธศาสตร์ขับเคลื่อนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมบูรณาการความร่วมมือภาครัฐและเอกชน ต่อยอดโครงการอินเทอร์เน็ตประชารัฐ 24,700 หมู่บ้านเข้าถึงอย่างเท่าเทียม ผลักดันโครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชนทั่วประเทศ ขับเคลื่อนดิจิทัลเพื่อสุขภาพ ดิจิทัลเพื่อการเกษตร และยกระดับความรู้ด้านดิจิทัล รับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 นำประเทศสู่เป้าหมาย “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) เดินหน้า

นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขา สดช
นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขา สดช

บูรณาการความร่วมมือภาครัฐและเอกชน ต่อยอดโครงการอินเทอร์เน็ตประชารัฐ 24,700 หมู่บ้านเข้าถึงอย่างเท่าเทียม ผลักดันโครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชนทั่วประเทศ ขับเคลื่อนดิจิทัลเพื่อสุขภาพ ดิจิทัลเพื่อการเกษตร และยกระดับความรู้ด้านดิจิทัล รับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 นำประเทศสู่เป้าหมาย “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”

 

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) เดินหน้ายุทธศาสตร์ขับเคลื่อนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม บูรณาการความร่วมมือภาครัฐและเอกชน ต่อยอดโครงการอินเทอร์เน็ตประชารัฐ 24,700 หมู่บ้านเข้าถึงอย่างเท่าเทียม ผลักดันโครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชนทั่วประเทศ ขับเคลื่อนดิจิทัลเพื่อสุขภาพ ดิจิทัลเพื่อการเกษตร และยกระดับความรู้ด้านดิจิทัล รับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 นำประเทศสู่เป้าหมาย “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”

นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สดช.) เปิดเผยว่า สดช. เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) ให้ดำเนินการขับเคลื่อนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมี 4 พันธกิจหลักคือ

1. กำหนดทิศทางและวางยุทธศาสตร์การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

2. ส่งเสริมการบูรณาการทุกภาคส่วน

3. วางรากฐานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล

4. ส่งเสริมให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

 

สดช. ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัลของประเทศในหลายๆ มิติ ตามภารกิจหลัก ซึ่งมีทั้งในรูปแบบการวางแผน กำหนดนโยบาย และดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยมี โครงการดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดังนี้

ต่อยอดโครงการอินเทอร์เน็ตประชารัฐ ซึ่งเป็นการวางรากฐานทางด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สำคัญของประเทศ ซึ่งจะมีการติดตั้งอินเตอร์เน็ตจำนวน 24,700 หมู่บ้านครอบคลุมทั่วประเทศในปีนี้ เป็นการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียม และกระจายความเจริญให้กับประชาชนไทย

นอกจากนี้ ประชาชนจะได้ใช้ประโยชน์จากเน็ตประชารัฐด้วยราคาที่เป็นธรรม นอกจากนี้ สดช.ยังได้ดำเนินงาน “ศูนย์ดิจิทัลชุมชน” ซึ่งเป็นโครงการหลักที่ใช้ประโยชน์ต่อยอดจาก อินเทอร์เน็ตประชารัฐ โดยปัจจุบัน “ศูนย์ดิจิทัลชุมชน” ได้ดำเนินการติดตั้งแล้ว จำนวน 2,280 ศูนย์ ทั่วประเทศ ซึ่ง สดช. มุ่งหวังให้ “ศูนย์ดิจิทัลชุมชน” เป็นพื้นที่ศูนย์กลางชุมชน แหล่งรวมความรู้และการให้บริการภาครัฐ ภายในศูนย์ประกอบไปด้วย การฝึกอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนผ่านช่องทางเว็บไซต์ https://www.thaimooc.org ซึ่งเป็นการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน เปิดพื้นที่สำหรับให้ประชาชนใช้ทำงาน เรียนรู้ และจัดกิจกรรมต่างๆ

ขณะเดียวกัน ได้เริ่มต้นโครงการหมู่บ้านชุมชนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Village e-commerce) ภายใต้ศูนย์ดิจิทัลชุมชน โดยมีเป้าหมาย 300 แห่งภายในปีนี้

 

ดิจิทัลเพื่อสุขภาพนำร่องเชื่อมข้อมูล 116 รพ.

อีกโครงการที่สดช.มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน คือ โครงการดิจิทัลเพื่อสุขภาพ  (Digital for Health) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงดิจิทัลฯ และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกล (Tele-Medicine) ดำเนินการในโรงพยาบาล 10 คู่ กระจาย 4 ภาค ภายในปี 2561 ซึ่งมีโครงการนำร่องครอบคลุมโรงพยาบาล 116 แห่ง วางโครงสร้างพื้นฐานระบบโครงข่าย GIN ในโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป 116 แห่ง โดยสดช.จะเข้าไปขับเคลื่อนเชื่อมโยงการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน ให้สามารถต่อเชื่อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้บริการด้านสุขภาพ ซึ่งได้แก่โรงพยาบาลในชุมชนที่ห่างไกล และโรงพยาบาลระดับศูนย์ที่จะมาเป็นพี่เลี้ยงในการให้บริการระบบแพทย์ทางไกล

โครงการ Smart ID บัตรประชาชนใบเดียว รับบริการได้ทุกโรงพยาบาล ไม่ต้องกรอกประวัติใหม่ เป็นอีกหนึ่งบริการที่จะอำนวยความสะดวกให้ทั้งผู้ป่วยและโรงพยาบาลในการรักษา โดยใช้ฐานข้อมูลสุขภาพในบัตรประชาชนเพียงใบเดียว ซึ่งปัจจุบันมีโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการแล้ว 4 แห่ง คือ รพ.ขอนแก่น รพ.ชลบุรี รพ.พัทลุง และรพ.ลำปาง และมีเป้าหมายจะดึงรพ.ระดับศูนย์การแพทย์เข้าร่วมโครงการอีก 33 แห่ง และรพ.ทั่วไปอีก 83 แห่ง รวมเป็น 116 แห่ง

โครงการดิจิทัลเพื่อสุขภาพนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงดิจิทัลฯ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ซึ่งได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เมื่อวันที่ 5  มกราคม 2560 เรื่องการดำเนินการเพิ่มคุณภาพการบริการด้านสุขภาพผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งสนับสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้กับการให้บริการทางการแพทย์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในถิ่นทุรกันดาร หรือพื้นที่ห่างไกล และยากลำบากในการเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข

ดิจิทัลเพื่อการเกษตรช่วยเพิ่มผลผลิต

อีกโครงการที่มีความสำคัญ คือโครงการดิจิทัลเพื่อการเกษตร ซึ่งสดช.กำลังพิจารณา เพื่อเตรียมดำเนินการในการนำเอาประโยชน์ทางด้านดิจิทัล มาช่วยพัฒนาทางด้านการเกษตร โดยในอนาคต สดช.            มีแนวทางยกระดับภาคการเกษตรของประเทศ ผ่านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการคาดการณ์สภาพอากาศ และความเหมาะสมในการเพาะปลูกในสภาพอากาศนั้นๆ รายงานผลผลิตที่ไม่ได้คุณภาพผ่านการเซ็นเซอร์แปลงเพาะปลูก การใช้ QR Code ในการนำผลผลิตออกสู่ตลาด หรือเข้าสู่วิสาหกิจชุมชน เป็นต้น

สดช.มุ่งหวังว่าการยกระดับภาคการเกษตรของประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล จะก่อเกิดประโยชน์ต่อการวางแผนและการคาดการณ์ของเกษตรกร ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้น และลดรายจ่าย รวมถึง เป็นการสร้างช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับเกษตรกรด้วย

สุดท้ายคือ โครงการยกระดับความรู้ด้านดิจิทัล (Digital Literacy) สดช.ได้ร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาหลักสูตร 4 ระดับ ประกอบด้วย 1.Basic Literacy ปลุกความสนใจและการตระหนักใช้ 2.Intermediate Literacy สร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนศึกษาต่อด้านคอมพิวเตอร์ 3. Competent มีพื้นฐานสมรรถนะที่จำเป็น และ 4. Professional Literacy ได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับสากล “สดช.เป็นหน่วยงานผู้มีหน้าที่นำแนวนโยบาย ของกระทรวงดิจิทัลฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาดำเนินการในทางปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม ซึ่งทุกโครงการที่กล่าวมาล้วนเป็นประโยชน์ จะช่วยพัฒนาประเทศ อำนวยความสะดวก พัฒนาคุณภาพชีวิต ยกระดับทั้งสังคมและเศรษฐกิจประเทศสู่เป้าหมาย ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ได้ในที่สุด” นางวรรณพร กล่าวทิ้งท้าย

 

เรียนรู้ Digital Economy 

ยุทธศาสตร์ Digital Economy ของภาครัฐ