ม.สงขลา
ม.สงขลา ตระหนักถึงภัยไซเบอร์ยุคใหม่ เดินหน้าลงอัพเกรดระบบ เพื่อป้องกันภัยคุกคาม หวังช่วยยกระดับโครงข่ายให้มีมาตรฐานสูงขึ้น ทั้ง 5 วิทยาเขต และสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้เต็มศักยภาพ

ม.สงขลา

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยด้านการวิจัยชั้นนำในประเทศไทย โดยมี คณะแพทยศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์อันมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับโดยกว้างขวาง มหาวิทยาลัยฯจึงมีจำนวนผู้ใช้งานมากถึง 52,000 ราย ไม่ว่าจะเป็นคณาจารย์ พนักงานรวมถึงนักศึกษาชาวไทย และต่างชาติ

ซึ่งผู้ใช้งานทั้งหมดนี้จำเป็นต้องใช้งานอินเทอร์เน็ตทุกวันในการศึกษา และการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยต่างๆ และปัจจุบันมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ประกอบด้วย 5 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตปัตตานี วิทยาเขตหาดใหญ่ วิทยาเขตภูเก็ต วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และวิทยาเขตตรัง

โดยศูนย์คอมพิวเตอร์หลักของมหาวิทยาลัยฯจะตั้งอยู่ที่วิทยาเขตหาดใหญ่มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านไอที และพัฒนาซอฟท์แวร์ขึ้นมารองรับการบริหารงานต่างๆ อันได้แก่ ระบบไฟเบอร์ออปติค ระบบซีซีทีวี ระบบประชุมทางไกลระหว่างวิทยาเขต ระบบบริหารบุคคล และการเงิน รวมถึงระบบบริหารการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้งานแต่ละราย

ม.สงขลา
รศ.ดร.มนตรี กาญจนะเดชะ ผู้อำนวยการ ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ม.สงขลา เดินหน้าลงอัพเกรดระบบปกป้องภัยคุกคาม

รศ.ดร.มนตรี กาญจนะเดชะ ผู้อำนวยการ ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ในอดีตเราได้ใช้อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยเครือข่ายของรายอื่นอยู่แล้ว ซึ่งไม่มีโปรโตคอลการสื่อสารที่เป็นมาตรฐาน อันเป็นอุปสรรคใหญ่ในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่สร้างขึ้นมาเอง ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยฯ ได้ให้ความสำคัญกับแอปพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นมาเองมาก

เนื่องจากเป็นกลยุทธ์หลักที่จะช่วยลดเวลาในการจัดการของฝ่ายไอที ลดภาระของผู้ใช้งานอีกทั้งยังช่วยให้ผู้ใช้งานมีความรับผิดชอบสูงขึ้น อาทิ รับผิดชอบตรวจสอบโควต้าการใช้อินเทอร์เน็ต และการวางแผนการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสม แต่จากภัยคุกคามที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ทำให้เราคิดว่าถึงเวลาที่จะเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ระบบของเรา

ดั้งนั้นในปี 2016 ที่ผ่านมาทางมหาวิทยาลัยฯ จึงตัดสินใจก้าวเข้าสู่มาตรฐานสากลในด้านระบบโครงข่าย และได้พิจารณาอุปกรณ์จากผู้ขายหลายราย ได้แก่ ฟอร์ติเน็ต เช็คพ้อยท์และปาโล อัลโต เน็ทเวิร์ค ซึ่งในช่วงการทดสอบอุปกรณ์ที่นับเป็นระยะเวลาหลายเดือนนั้น

ทางมหาวิทยาลัยฯ พบว่าประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ไฟร์วอลล์ฟอร์ติเกตที่โดดเด่นเหนือกว่ารายอื่น ด้วยคุณสมบัติด้านความปลอดภัยที่ครบครัน ความง่ายในการจัดการทางมหาวิทยาลัยฯ จึงได้ตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ฟอร์ติเกตรุ่น FortiGate 3200D และ FortiGate 2000E เป็นจำนวนหลาย

โดยได้ บริษัท เฟิร์สวัน ซิสเต็มส์ จำกัด ผู้เป็นพาร์ทเนอร์ของฟอร์ติเน็ตทำหน้าที่ดูแล และติดตั้งระบบให้อย่างใกล้ชิดเป็นอย่างดี ทั้งนี้ อุปกรณ์ฟอร์ติเกตของฟอร์ติเน็ตเป็นไฟร์วอลล์ระดับเอ็นเตอร์ไพร้ส์ในการป้องกันภัยคุกคาม และเป็นส่วนหนึ่งของแพลทฟอร์มซีเคียวริตี้แฟบลิคของฟอร์ติเน็ต

ซึ่งผ่านการทดสอบและได้รับรางวัลด้านประสิทธิภาพการทำงานที่รวดเร็วพร้อมทั้งประสิทธิผลในการป้องกันภัยในระดับสูงจากแล็ปส์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกมากมาย ซึ่งได้แก่ NSS Labs, ICSA, Virus Bulletin และ AV Comparatives ทำให้เรามั่นใจมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถทำงานกับอุปกรณ์เดิมที่เราใช้งานอยู่แล้วได้อย่างราบรื่น และช่วยสร้างโครงข่ายที่เป็นมาตรฐานให้เรา

ซึ่งเป็นการช่วยเปิดให้ทางมหาวิทยาลัยฯ มีอิสระในการออกแบบและเลือกใช้โซลูชั่นด้านไอทีและความปลอดภัยที่ต้องการในอนาคตได้ ด้วยคุณสมบัติที่ดี ไม่ว่าจะเป็น การใช้โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานจึงสามารถรองรับการใช้แอปพลิเคชั่นที่มหาวิทยาลัยพัฒนาขึ้นเองได้ทันที

ทำให้สามารถบังคับใช้นโยบายการใช้งานได้ทั่วถึง และผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ด้วยวิธีแบบ Single sign-on บนเทคโนโลยี IPv4 และ IPv6 ได้ง่ายมากขึ้น ราบรื่นไม่ติดขัด ด้วยโปรโตคอลสื่อสาร BGP ของฟอร์ติเกต ซึ่งสามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตเร้าเตอร์ของทางมหาวิทยาลัยฯ ได้ง่าย และเอื้อให้ผู้ดูแลด้านไอทีมีศักยภาพในการเห็นในแนวลึกมากขึ้น

ม.สงขลา

ซึ่งรวมถึงสามารถเห็นกิจกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้แต่ละราย เห็นเว็บไซต์ที่เข้าเห็นโควต้าแบนวิดธ์ของแต่ละรายและจำนวนที่ได้ใช้ไป ซึ่งด้วยข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ ทางมหาวิทยาลัยฯ จึงสามารถบริหารแบนวิดธ์ตามนโยบายของทางมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นส่งผลให้ผู้ใช้งานใช้อินเทอร์เน็ตได้ราบรื่น

และจากความสามารถในการรายงานการใช้อินเทอร์เน็ตที่ละเอียด จึงตอบสนองความต้องการของทีมผู้ดูแลด้านไอที และผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี โดยทำให้ผู้ใช้งานสามารถเห็นจำนวนอินเทอร์เน็ตที่ได้ใช้ไป เห็นเว็บไซต์ที่ตนได้เข้าชมประเภทของทราฟิค และภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในการใช้งานของตนเองได้จากแอปพลิเคชั่นบนหน้าจออย่างง่ายๆ

และเมื่อผู้ใช้งานสามารถบริหารการใช้อินเทอร์เน็ตของตนเองได้จึงทำให้ทีมผู้ดูแลด้านไอทีสามารถวางแผนจัดการปัญหาด้านแบนวิดธ์ได้ล่วงหน้าและใช้เวลาในงานด้านแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าน้อยลง

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทร อัยรักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวเสริมว่า มหาวิทยาลัยมีวิสัยทัศน์ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสูง มีความรู้สูง และยังต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมสูงอีกด้วย ทั้งนี้ โครงสร้างสถาปัตยกรรมไอทีที่มีประสิทธิภาพและให้ปลอดภัยสูงจะช่วยให้เราบรรลุวัตถุประสงค์นี้ได้

การใช้อุปกรณ์ฟอร์ติเกตนับว่าเป็นประโยชน์มากเนื่องจากช่วยให้เราเร่งสร้างแอปพลิเคชั่นที่มหาวิทยาลัยต้องการใช้ได้เร็วขึ้น ปลอดภัยขึ้นเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในทุกๆ วันให้มากขึ้น

 

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่