บล็อกเชน

บล็อกเชน (ฺBlockChain) เทคโนโลยี กำลังคืบคลานเข้าสู่การชำระเงินข้ามประเทศ ล่าสุด ไอบีเอ็ม ได้เปิดตัวโซลูชันที่ช่วยเสริมความเร็วการชำระเงินทั่วโลก โดยมี ‘กสิกรไทย’ และธนาคารชั้นนำ ร่วมพัฒนาขยายการใช้งานข้ามสกุลเงิน 12 สกุล ทั่วโลก ตั้งแต่หมู่เกาะแปซิฟิก ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหราชอาณาจักร

ปัจจุบันการชำระเงินข้ามประเทศมีราคาสูง ใช้เวลานาน และมักมีความผิดพลาดเกิดขึ้นเสมอ การทำธุรกรรมข้ามสกุลเงินจะต้องผ่านตัวกลางหลายฝ่าย และใช้เวลาหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์กว่าจะเสร็จสมบูรณ์ โดยรายงานของธนาคารโลกชี้ให้เห็นว่าการพัฒนารูปแบบการชำระเงิน และการเข้าถึงแหล่งเงินจะนำสู่การไหลเวียนของสกุลเงิน และการค้าต่างๆ

บล็อกเชน ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุน

ซึ่งจะช่วยให้สามารถขยายบริการทางการเงินให้เข้าถึงคน 1 พันล้านคนทั่วโลกได้ภายในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งทาง ไอบีเอ็ม ได้ออกมาเปิดเผยว่า ได้พัฒนาโซลูชันการชำระเงินข้ามประเทศระบบสากลผ่านบล็อกเชน ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการชำระเงินทั่วโลกสำหรับกลุ่มธุรกิจ และผู้บริโภค

โดยร่วมกับพันธมิตรด้านเทคโนโลยีอย่างสเตลลาร์ (Stellar.org) และคลิกเอ็กซ์ กรุ๊ป (KlickEx Group) นำไอบีเอ็ม บล็อกเชน เข้าใช้กับบริการหักบัญชีและชำระดุล (clearing and settlement) ทางการค้าผ่านเครือข่ายเดียว ให้กระบวนการทั้งหมดเป็นไปได้ในความเร็วเกือบเรียลไทม์

ซึ่งที่ผ่านมาได้เริ่มมีการนำโซลูชั่นดังกล่าวมาใช้ในการทำธุรกรรมในเส้นทางสกุลเงิน 12 สกุลทั่วหมู่เกาะแปซิฟิกและออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รวมถึงสหราชอาณาจักรแล้ว โดยการใช้เลดเจอร์แบบกระจายศูนย์ (distributed ledger) จะช่วยให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงและทราบสถานะของการทำธุรกรรมหักบัญชีและชำระดุล

โดยโซลูชันนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเงินทั่วโลก สำหรับการชำระเงินทุกประเภท ไม่ว่าจะมีมูลค่าเท่าใดก็ตาม อีกทั้งยังช่วยให้สถาบันการเงินสามารถเลือกเครือข่ายการชำระดุลที่ต้องการสำหรับการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง

บล็อกเชน

ตัวอย่างเช่น ในอนาคต เครือข่ายนี้จะช่วยให้ชาวนาในซามัวสามารถจัดทำสัญญาการค้ากับผู้ซื้อในอินโดนีเซียได้ โดยบล็อกเชนช่วยให้สามารถบันทึกเงื่อนไขของสัญญา จัดการเอกสารการค้า ช่วยให้ชาวนาสามารถเสนอหลักประกันที่ไม่ใช่เงินสด รับเล็ตเตอร์อ็อฟเครดิต และบรรลุข้อตกลงรายการค้าโดยการชำระเงินในทันที

ซึ่งเป็นการทำการค้าระดับโลกด้วยความโปร่งใส และสะดวกครบวงจร ทั้งนี้ ไอบีเอ็มได้ร่วมกับกลุ่มธนาคารชั้นนำในการร่วมพัฒนาและนำโซลูชันนี้มาใช้ ประกอบด้วยธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารบิลเบาวิซคายาอาร์เคนตาเรีย, ธนาคารดานามอน อินโดนีเซีย, ธนาคารแมนดิริ, ธนาคารเนการา อินโดนีเซีย

ร่วมไปถึง ธนาคารเพอร์มาตา, ธนาคารรัคยาต อินโดนีเซีย, มิซูโฮ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป, ธนาคารแห่งชาติออสเตรเลีย, ธนาคารพาณิชย์ริซัล (RCBC) ฟิลิปปินส์, ซูมิโตโม มิตซุย ไฟแนนเชียลกรุ๊ป, ทีดีแบงค์ วิซดรอว์ (HK) แห่งเวิร์ลด์คอมไฟแนนซ์ และสถาบันการเงินอื่นๆ อีกด้วย

บริดเจ็ต แวน คราลินเก็น รองประธานอาวุโส ไอบีเอ็ม อินดัสทรี แพลตฟอร์ม กล่าวว่า ไอบีเอ็มกำลังสำรวจแนวทางใหม่ๆ ภายใต้คำแนะนำของสถาบันการเงินชั้นนำระดับโลกหลายแห่ง เพื่อพัฒนาให้เครือข่ายการชำระเงินมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และโปร่งใสมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การทำธุรกรรมต่างๆ เป็นไปได้แบบเรียลไทม์ แม้ในพื้นที่ห่างไกลที่สุดของโลก

โซลูชันการชำระเงินข้ามประเทศผ่านบล็อกเชนจะนำสู่โมเดลใหม่การชำระเงินในสกุลเงินต่างประเทศ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหักบัญชีและชำระดุลให้เกิดขึ้นได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที ภายใต้เครือข่ายเดียวกัน นอกจากนี้ยังผนวกรวมแพลตฟอร์มบล็อกเชนของไอบีเอ็มที่เรียกใช้งานบนไฮเปอร์เลดเจอร์ แฟบริก (Hyperledger Fabric) ที่สร้างขึ้นภายใต้ความร่วมมือกับStellar.org

ซึ่งเป็นหน่วยงานไม่แสวงหากำไรและสมาชิกของไฮเปอร์เลดเจอร์ รวมถึงคลิกเอ็กซ์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการทางการเงินระดับภูมิภาคในเขตแปซิฟิค สเตลลาร์ เป็นเครือข่ายบล็อกเชนโอเพ่นซอร์สสำหรับบริการทางการเงินที่ตั้งขึ้นภายใต้จุดประสงค์ในการออก และแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล

บล็อกเชน

โดยสินทรัพย์ดิจิทัลจะถูกออกโดยเครือข่ายของสเตลลาร์ในลักษณะสะพานแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศซึ่งจะนำสู่การชำระดุลในระยะเวลาเกือบเรียลไทม์ขณะที่คลิกเอ็กซ์ กรุ๊ป จะทำหน้าที่เป็นสถาบันการเงินที่ร่วมก่อตั้งในภูมิภาคนี้ ให้บริการแก่ธนาคาร ลูกค้าธุรกิจค้าปลีก และผู้บริโภค

ด้าน เจด แมคคาเล็บ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอที (CTO) ของ Stellar.org กล่าวว่า นวัตกรรม และการร่วมมือกับคู่ค้าครั้งนี้ถือเป็นไมล์สโตนสำคัญสำหรับสเตลลาร์และอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทางการเงินโดยรวม ซึ่งเรากำลังนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การชำระเงินข้ามประเทศในระเบียงสกุลเงินแบบรวมที่ประกอบด้วยหลายสกุล

ก่อนหน้านี้การชำระเงินข้ามประเทศจะต้องใช้เวลาหักบัญชีนานหลายวัน โซลูชันใหม่นี้จะสร้างผลกระทบเชิงบวกที่สำคัญต่อบรรดาประเทศในภูมิภาคแปซิฟิกใต้ และทันทีที่ได้รับการขยายใช้อย่างเต็มที่โดยไอบีเอ็มและคู่ค้าในธุรกิจธนาคาร โซลูชันนี้ก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเคลื่อนย้ายเงินทั่วโลก

และช่วยพัฒนาการทำธุรกรรมระหว่างประเทศในปัจจุบัน และส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินที่ก้าวล้ำในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

ส่วนขยาย

Advanced Pacific Financial Infrastructure for Inclusion(APFII) เป็นโครงการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ
และภาคเอกชนที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนเบื้องต้นจากองค์การสหประชาชาติ และ SWIFT ได้เริ่มใช้เครือข่ายนี้ ซึ่งจะสามารถ
ประมวลผล 60 เปอร์เซ็นต์
ของการชำระเงินข้ามประเทศในระเบียงอัตราแลกเปลี่ยนของธุรกิจค้าปลีกในภูมิภาคแปซิฟิกใต้ประกอบด้วย ออสเตรเลีย 
นิวซีแลนด์ ฟิจิ ซามัว และตองกา ภายในช่วงต้นปีหน้า ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย, 
ธนาคารบิลเบาวิซคายาอาร์เคนตาเรีย, ธนาคารดานามอน อินโดนีเซีย, ธนาคารแมนดิริ, ธนาคารเนการา อินโดนีเซีย, 

ธนาคารเพอร์มาตา, ธนาคารรัคยาต อินโดนีเซีย, มิซูโฮ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป, ธนาคารแห่งชาติออสเตรเลีย, 
ธนาคารพาณิชย์ริซัล (RCBC) ฟิลิปปินส์, ซูมิโตโม มิตซุย ไฟแนนเชียลกรุ๊ป, ทีดีแบงค์ และวิซดรอว์ (HK) 
แห่งเวิร์ลด์คอมไฟแนนซ์ จะได้รับเชิญให้เข้าร่วมในเครือข่ายนี้ และช่วยขยายต่อไปยังภูมิภาคต่างๆ ของโลกในปี พ.ศ. 2561

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่