Nuclear technology

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์ (Nuclear technology) ในภาคการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตและมอบคุณภาพชีวิตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น…

Nuclear technology ช่วยเพิ่มผลผลิตให้การเกษตร 

เทคโนโลยีนิวเคลียร์ได้มีส่วนช่วยในการปรับปรุงความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดีขึ้นมาหลายทศวรรษเครื่องมือ และอุปกรณ์ของวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ที่ใช้งานได้จริงนั้นมีมากกว่าการผลิตไฟฟ้า ปัจจุบันนี้มีหลายประเทศที่นำอุปกรณ์และการใช้งานเกี่ยวกับนิวเคลียร์มาใช้ตอบสนองความต้องการของชุมชน เช่น การแพทย์ การเกษตร และอุตสาหกรรมอื่นๆ

วิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานทางการเกษตรอย่างกว้างขวาง เทคนิคต่างๆ มีส่วนช่วยเอาชนะความอดอยากทั่วโลกได้จากผลสำเร็จของการเก็บเกี่ยวและการช่วยป้องกันอาหารเน่าเสียได้ดีขึ้น

การฉายรังสีถูกนำมาใช้กับเมล็ดพันธุ์ถึงชั้นโคโมโซมของเมล็ด ซึ่งช่วยให้พืชที่เพาะปลูกนั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่โดดเด่นยิ่งขึ้น  โดยปกติแล้วการฉายรังสีโคบอลต์-60 จะถูกใช้เพื่อให้พืชสามารถเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้นหรือเพื่อให้ทนกระแสลมหรือศัตรูพืชได้ดีขึ้น 

โดยไม่มีธาตุกัมมันตรังสีหลงเหลืออยู่ในพืช ดังนั้นเทคนิคนี้จึงมีความปลอดภัยอย่างที่สุด ไอโซโทปกัมมันตภาพรังสียังถูกนำมาใช้เพื่อศึกษากระบวนการเผาผลาญของพืช และกระบวนการทางกายภาพอื่นๆ ในพืช เพื่อให้ได้มาซึ่งการผลิตทางการเกษตรที่ดีขึ้น

การป้องกันการเน่าเสียของผลผลิตเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญที่ทั่วโลกต้องการเอาชนะความอดอยากที่เกิดขึ้น  ปัญหานี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากในสภาพแวดล้อมที่ร้อนชื้น เช่น ประเทศไทย ฯลฯ เทคโนโลยีการฉายรังสีอาหารจะใช้รังสีแกมมาเพื่อทำลายเชื้อแบคทีเรียและช่วยยืดอายุผลผลิตที่วางจำหน่าย 

Nuclear technology

ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถใช้แทนวิธีการรมยาและการถนอมอาหารโดยใช้สารเคมี ซึ่งการฉายรังสีเป็นวิธีการที่ปลอดภัยและได้ผลมากกว่า อีกทั้งยังไม่มีสารพิษตกค้างอยู่ในอาหารอีกด้วย การฉายรังสีถูกนำมาใช้ในภาคการเกษตรเพื่อควบคุมศัตรูพืชที่ทำลายผลผลิตผ่านการใช้เทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน

นอกจากนี้ยังใช้การฉายรังสีเพื่อป้องกันโรคติดต่อที่ยุงเป็นพาหะ เช่น โรคไข้ซิก้า ไข้เลือดออก และชิคุนกุนยา   โดยที่เทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน (SIT) ถูกพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในเทคนิคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในการควบคุมสัตว์รบกวนจำพวกแมลง

ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจคือปริมาณผลไม้ที่ผลิตได้เพิ่มขึ้น การสูญเสียจากอาหารเน่าเสียและการใช้ยาปราบศัตรูพืชที่ลดลง ผลไม้ที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้น และโอกาสในการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นถึงหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับภาคการเกษตร อย่าง เวียดนาม จีน โมรอคโค โรมาเนีย ชิลี และอีก 40 ประเทศได้นำวิธีการนี้ไปใช้อย่างประสบความสำเร็จโดยใช้ตัวติดตามปรมาณูเพื่อประเมินระดับการเสื่อมสภาพของพื้นดิน และการกัดเซาะของดิน

เทคโนโลยีนิวเคลียร์ไม่ได้เพียงถูกนำมาใช้งานในภาคการเกษตรเพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัยของอาหารเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและปศุสัตว์ รวมทั้งช่วยปกป้องพื้นดินและทรัพยากรธรรมชาติได้อีกด้วย เทคโนโลยีนี้ทำงานอย่างไร?  ไอโซโทปจะทำการวัดค่าดิน น้ำ

และการกักเก็บธาตุอาหารในดิน การกัดเซาะของดิน และของเสียที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช  ทำให้เกษตรกรและผู้เพาะปลูกสามารถติดตามการทำงานของพวกเขาได้อย่างใกล้ชิด และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างประหยัดและได้ประสิทธิผลมากขึ้น

ในประเทศกาน่า ได้มีเมล็ดพันธุ์โกโก้ (ใช้ผลิตช็อกโกเล็ต) ใหม่มากมายหลายชนิด  ซึ่งทำให้พืชชนิดนี้สามารถทนต่อโรครากบวมได้ดีขึ้น ในอุซเบกิสถาน มีการเฝ้าตรวจสอบการกักเก็บน้ำในดินซึ่งนำไปสู่การใช้น้ำในระบบชลประทานได้ดีขึ้น ช่วยลดการสูญเสียน้ำได้ประมาณ 25%

ในปากีสถาน ได้มีการจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยการทดสอบความสะอาดและสุขอนามัยของผลไม้ และผักสด ทำให้สามารถรับประกันมาตรฐานความสะอาดของอาหารได้ และยังเป็นการเปิดโอกาสทางการค้าให้เพิ่มขึ้น มาดูประเทศเพื่อนบ้านของเราบ้าง

ขณะที่ในประเทศอินโดนีเซียได้ใช้ไอโซโทปโคบอลท์-60 ที่ผลิตขึ้นโดยองค์การนิวเคลียร์แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย (รอสอะตอม) ในโรงงานฉายรังสี

แล้วประเทศไทยล่ะ?

Nuclear technology

บ่อยครั้งที่ประเทศไทยถูกเรียกว่าเป็น “ครัวโลก” นอกจากนี้ประเทศไทยยังเป็นหนึ่งในผู้ผลิตและผู้ส่งออกผลผลิตทางการเกษตรรายใหญ่ระดับโลก ปัจจุบันนี้ผู้ผลิตสินค้าเกษตรและเกษตรกรส่วนใหญ่ในประเทศไทยยังคงใช้ยาปราบศัตรูพืช

ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร การบริโภคผลผลิตเหล่านี้เข้าไปจะมีผลเสียต่อประชาชนคนไทย รวมถึงสิ่งแวดล้อม และประเทศต่างๆ ที่นำเข้าผลผลิตเหล่านี้จากประเทศไทย ตามข้อมูลที่ได้รับจากองค์การนิวเคลียร์แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย (รอสอะตอม)

การสูญเสียผลผลิตธัญพืชเนื่องจากศัตรูพืชนั้นจะอยู่ประมาณ 10-15% ในช่วงเดือนแรกของการเก็บรักษา และอาจจะเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 40% ของผลผลิตในเดือนถัดจากนั้น  ผลเสียของเทคนิคที่ไม่ใช่การฉายรังสีที่ใช้สำหรับการปราบศัตรูพืชทางการเกษตรยังรวมถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้นของการนำธัญพืช/ผลผลิตมาผ่านกระบวนการเพิ่มเติม

และการสัมผัสสารเคมีโดยมนุษย์  จากประสบการณ์มากกว่า 70 ปีในการทำงานด้านนิวเคลียร์ เทคโนโลยีการฉายรังสีขององค์การนิวเคลียร์แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย (รอสอะตอม) ไม่ได้ทำให้คุณค่าสารอาหารของผลผลิตทางการเกษตรลดลงหรือคุณภาพด้านรสสัมผัสหรือลักษณะภายนอกของผลผลิตเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

ภาคการเกษตรของประเทศไทยจะยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าได้ จำไว้เสมอว่า เทคโนโลยีใหม่ เช่น การฉายรังสีอาหาร อาจจะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่เกษตรกร และผู้ผลิตผลผลิตทางการเกษตรตลอดทั่วทั้งระบบนิเวศน์ได้

Nuclear technology

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่