IoT (Internet of Thing) ได้เข้ามาเป็นผู้เปลี่ยนเกมในระบบอัตโนมัติของอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยได้มีการเริ่มต้นใช้งานและทดสอบระบบไอโอทีให้สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ในอดีต เพื่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าใหม่ ๆ แก่อุตสาหกรรม

ในการปรับตัวขององค์กรที่มีความมุ่งมั่นที่จะเข้าสู่ยุคดิจิทัล คุณค่าที่แท้จริงของไอโอทีคือความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานทางธุรกิจ ผลกำไรที่เพิ่มขึ้น และนวัตกรรมที่ไม่มีใครเหมือน ซึ่ง IDC ได้ประมาณการให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกลายเป็นแนวหน้าของไอโอทีปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) จะมีจำนวนองค์กรธุรกิจที่มองหาช่องทางการลงทุนในโอกาศทางธุรกิจด้านไอโอทีมากขึ้น

ทั้งนี้ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการเติบโตในการนำดิจิทัลมาปรับใช้อย่างรวดเร็ว และองค์กรล้วนต้องการจะขยายกลยุทธ์ทางธุรกิจของตนให้ครอบคลุมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความต้องการใช้ดิจิทัล ต่อไปนี้เป็นข้อควรพิจารณา 3 ข้อที่ต้องตระหนักเมื่อทำการวางแผนในการนำไอโอทีมาใช้ในองค์กรของคุณ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนสูงสุดและเพิ่มขีดความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า

ข้อที่ 1 มีระบบเก็บข้อมูลที่สามารถรองรับจำนวนและความเร็วของข้อมูลที่เกิดจาก IoT ได้ทันและเพียงพอ

ตามความเห็นของ เควิน แอซตันจาก British technology pioneer เห็นว่าไอโอทีคือความสามารถที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลและนำมาใช้อย่างมีประสิทธิผล ถึงแม้ว่าเกือบจะทุกองค์กรในภูมิภาคนี้อ้างว่าตนมีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล แต่ส่วนมากกลับพบกับความท้าทายในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากข้อมูล มากกว่าครึ่งมัวแต่ยุ่งอยู่กับการจัดการข้อมูลที่ได้รับมาจำนวนมหาศาลในแต่ละวัน

ข้อที่ 2 ต้องมีสถาปัตยกรรม Intelligent Edge มารองรับการขยายตัวของ IoT

มากกว่าครึ่งขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยืนยันว่าต้นทุนในการเริ่มนำไอโอทีมาใช้และการบำรุงรักษาเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางพวกเขาไม่ให้สามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจจากเทคโนโลยีดังกล่าวได้

หลาย ๆ บริษัทที่ใช้โมเดลทางธุรกิจเป็นระบบคลาวด์แบบรวมศูนย์ไอโอทีได้ตระหนักถึงค่าใช้จ่ายต่อปีที่เกิดขึ้นและไม่ส่งผลดีกับยอดขายมากกว่าครึ่งขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยืนยันว่าต้นทุนในการเริ่มนำไอโอทีมาใช้และการบำรุงรักษาเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางพวกเขาไม่ให้สามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจจากเทคโนโลยีดังกล่างได้

จึงเป็นที่มาของการประมวลผลที่ปลายทาง (Edge Computing) มาแทนที่ การใช้ความสามารถในการประมวลผลไปสู่ที่ต่าง ๆ บนระบบเครือข่ายจะช่วยลดต้นทุนที่เกี่ยวกับการจัดการข้อมูลและการดำเนินงาน และระบบดังกล่าวต้องสามารถใช้ได้กับระบบที่มี Latency ต่ำ ระบบที่ต้องการเข้าถึงแบบระยะใกล้ (Proximity) และระบบที่มี Bandwidth สูง ทำให้องค์กรสามารถขยายระบบได้ตามความจำเป็น

 IoT

ข้อที่ 3 วางกลยุทธ์ระบบรักษาความปลอดภัยแบบองค์รวมทั่วทั้งระบบของ IoT

มี 88% ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการถูกโจมตีทางช่องโหว่ด้านความปลอดภัยบนระบบที่เกี่ยวข้องกับไอโอทีอย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับทั้งโลก ความมั่นคงปลอดภัยของระบบเป็นสิ่งที่ท้าทายที่สุดสำหรับการใช้ไอโอทีลองคิดถึงระบบนิเวศทางไอทีที่มีอุปกรณ์และเซนเซอร์กว่า 10,000 ตัว นั่นหมายความว่ามีจุดที่คุณจะต้องกังวลใจเพิ่มขึ้นถึง 10,000 จุด

ทั้งนี้ การนำพลังการประมวลผลทั้งหมดไปไว้ที่ในจุดที่ไม่ได้รับการสนใจมากนักของระบบเครือข่ายอาจจะสามารถทำการป้องกันบางประการให้แก่ระบบนิเวศไอโอทีได้บ้าง แต่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะเมื่อมีผู้ร้ายที่จ้องรอคอยที่จะกระโดดเข้าโจมตีระบบเมื่อมีช่องโหว่ของระบบความมั่นคงปลอดภัยให้เห็น

ดังนั้นองค์กรควรจะมีมุมมองในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยและระบบรักษาความปลอดภัยแบบองค์รวม ครอบคลุมตลอดทั้งระบบเครือข่ายไอที