การรับประกันคุณภาพหรือ Quality of Service (QoS)

การรับประกันคุณภาพหรือ Quality of Service (QoS) ของเครือข่าย IP นับวันยิ่งมีความสำคัญกับองค์กรมากขึ้น ซึ่งไม่เฉพาะแต่ Video Stream ที่ใช้ในองค์กร แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) อีกด้วย

การรับประกันคุณภาพหรือ Quality of Service (QoS)

คิวโอเอส (QoS) คือ การจัดการบริหารแบนด์วิดธ์หรือช่องทางของระบบเครือข่าย หากเราลองนึกสภาพการจราจรบนถนนที่มีทางแยก ซึ่งแน่นอนว่าผู้ใช้รถแต่ละคนต้องการที่จะไปก่อนต่างก็แย่งกันใช้เส้นทาง ทำให้กลายเป็นปัญหาการจราจรที่ไม่มีระเบียบ แต่หากมีการกำหนดสัญญาณไฟจราจร เพื่อเป็นการบริหารเส้นทางที่มีอยู่อย่างจำกัด ก็จะทำให้มีการจัดระเบียบการจราจรที่ดีขึ้น

หน้าที่ของระบบบริหารแบนด์วิดธ์แนี้ก็จะมีลักษณะที่คล้าย ๆ กันดังที่ได้เปรียบเทียบกับการจราจร โดยมีวัตถุประสงค์สำหรับการจัดสรรเส้นทางแบนด์วิดธ์ในระบบเครือข่ายที่มีอยู่อย่างจำกัด

หลักการทำงานของ QoS

คิวโอเอสจะเข้ามาทำหน้าบริหารจัดการแพ็กเก็ตข้อมูลที่สูญหายไป หรือเกิดการหน่วงช้า และถูกสัญญาณรบกวนจนบิตข้อมูลผิดพลาด อันมีสาเหตุมาจากเครือข่าย IP ที่ใช้รับส่งข้อมูล โจทย์ใหญ่ของนักเทคนิคอยู่ที่แบนด์วิดธ์ขององค์กรที่มีอยู่จำกัดที่ค่าหนึ่งและยากที่จะขยายความกว้างได้อีก

ดังนั้นจึงต้องหาว่ามีแอพพลิเคชันใดที่จะได้รับประโยชน์จากการจัดการคิวโอเอสเมื่อผู้ดูแลระบบเครือข่ายสามารถเลือกแอพพลิเคชันที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษได้แล้ว ขั้นต่อไปก็คือการวิเคราะห์ทราฟฟิคข้อมูลที่ใช้โดยแอพพลิเคชันเหล่านั้น ซึ่งมีวิธีการหลายแบบ ตัวอย่างเช่น CoS (Class of Service) อันเป็นการระบุค่าข้อมูล Streaming ในระดับ Layer 2 และ DSCP (Differential Code Point) อันเป็นการระบุใน Layer 3 เมื่อกำหนดค่าได้แล้ว ขั้นต่อไปก็เป็นการจัดกลุ่มให้กับข้อมูล Streaming ออกตามกลุ่ม ๆ ตามที่ต้องการ

การนำไปใช้งาน

คิวโอเอสนั้นนอกจากจะใช้ในเรื่องของการจัดการคุณภาพของเสียงและวิดีโอแล้ว มันยังเอาใช้ในงานที่หลากหลาย โดยเฉพาะยุค IoT ที่กำลังจะเข้ามาอย่างที่ได้เรียนไปข้างต้น ตัวอย่างเช่น ในกลุ่มโรงงานผลิต ซึ่งเครื่องจักรหลาย ๆ อย่างจะเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับระบบเครือข่ายมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อจะสามารถส่งผ่านข้อมูลสถานะการทำงานหรือปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเรียลไทม์ ซึ่งหากมีการล่าช้าในการส่งข้อมูลอาจจะทำให้เกิดความเสียหายเป็นเงินมหาศาลก็เป็นได้ แต่ถ้าหากเรานำเอาคิวโอเอสมาใช้ในการบริหารเครือข่ายในส่วนของโรงงานผลิต เพื่อเอาไว้ดูข้อมูลที่ถูกสตรีมและส่งมาเรื่อย ๆ ก็จะช่วยให้เรามองเห็นและตรวจสอบข้อมูลได้ดีกว่าเดิม

อีกกรณีหนึ่งก็คือเอาไปใช้ในการสตรีมข้อมูลของพวกเซนเซอร์อัจฉริยะทั้งหลายในโปรเจ็กต์ใหญ่ ๆ ของ IoT เช่น Smart Building หรือแม้กระทั่ง Smart City ก็ตามแต่ ข้อมูลที่ส่งมาวิเคราะห์นั้นอาจจะประกอบด้วย อุณหภูมิ ความชื้น ตำแหน่งที่ตั้ง ช่วงวินาทีที่สำคัญ (ช่วงวินาทีที่สำคัญอาจจะชี้วัดสิ่งสำคัญได้หลายอย่าง) ซึ่งจำเป็นต้องมีการส่งผ่านข้อมูลที่รวดเร็วและเป็นอันดับต้น ๆ ในการทำงาน

แต่หากเป็นองค์กรใหญ่ ๆ ควรใช้ระบบจัดการเครือข่าย หรือ Network Infrastructure Management System ที่มีความสามารถมากกว่า ซึ่งการใช้ ระบบคิวโอเอสจะมีการใช้งานร่วมกับฟัง์ชันการทำงานอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น Web Filter สำหรับกรองการใช้งานเว็บไซต์ Port Filter สำหรับการกรองช่องทางการใช้งานของแอพพลิเคชันต่าง ๆ

ซึ่งหากเป็นการตั้งค่าระบบคิวโอเอสทั่วไปของอุปกรณ์แต่ละยี่ห้อจะมีให้กำหนด ช่วงไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะมีการจำกัด คิวโอเอสและจะมีให้ตั้งค่าความเร็วสำหรับ Download และ Upload ข้อมูล นอกจากคุณสมบัติอื่น ๆ ก็จะขึ้นอยู่กับยี่ห้อของแต่ละอุปกรณ์ก็จะมีระบบตั้งค่าแตกต่างกันออกไป

ปัจจุบันระบบคิวโอเอสนอกจากจะเป็น Software แล้ว ก็จะมี Hardware ที่จะทำหน้าที่ในการบริหารเครือข่ายโดยตรง ซึ่งจะมีราคาค่อนข้างสูงและจำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่ไอทีที่มีความชำนาญสูงในการตั้งค่า ดังนั้นส่วนใหญ่แล้วจะนิยมใช้งานในองค์กรที่มีขนาดใหญ่

แต่ถึงอย่างไร ระบบคิวโอเอสจะใช้งานได้เฉพาะระบบเครือข่ายภายในองค์กรเท่านั้น ไม่สามารถครอบคลุมถึงการใช้งานบนมือถือส่วนตัวของพนักงานได้ แต่ในปีนี้กำลังจะมีกฎหมายสำหรับผู้ประกอบการที่จะสามารถไล่พนักงานออกโดยไม่ได้รับสิทธิตอบแทนใด ๆ เลยในโทษฐานที่ใช้เวลาทำงานทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสม