เทคโนโลยี IoT ได้เข้ามาเป็นผู้เปลี่ยนเกมในระบบอัตโนมัติของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่การเริ่มติดตั้งโครงสร้างพื้นฐาน IoT ให้เป็น Platform ขององค์กรต่าง ๆ โดยได้มีการเริ่มต้นใช้งานและทดสอบระบบ IoT ให้สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ในอดีต

พาร์ทา นาราสิมฮัน ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยี บริษัท อรูบ้า หนึ่งในบริษัทลูกค้า HPE กล่าวถึง The Internet of Things (IoT) ว่ามีพัฒนาการอันยาวไกลนับตั้งแต่เริ่มมีการใช้ ATMs ที่ต้องใช้การต่อเชื่อมผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ Online ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) กว่า 3 ทศวรรษต่อมา IoT ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องและเด่นชัดมากขึ้น

เมื่อระบบเศรษฐกิจทั้งโลกกำลังเคลื่อนเข้าสู่โลกของระบบความจริงดิจิทัลที่ถูกเชื่อมต่อถึงกันอย่างยิ่งยวด (Hyper-Connected Reality) อุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลายกำลังติดล้อและขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในสิงคโปร์ที่มีรถแท็กซี่ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวมันเองโดยไม่ต้องพึ่งคนขับ (Self-Driving Taxis)

ในการปรับตัวขององค์กรที่มีความมุ่งมั่นที่จะเข้าสู่ยุคดิจิทัล คุณค่าที่แท้จริงของ IoT คือความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานทางธุรกิจ ผลกำไรที่เพิ่มขึ้น และนวัตกรรมที่ไม่มีใครเหมือน ซึ่ง IDC ได้ประมาณการให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกลายเป็นแนวหน้าของ IoT ปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) จะมีจำนวนองค์กรธุรกิจที่มองหาช่องทางการลงทุนในโอกาศทางธุรกิจด้าน IoT มากขึ้น ตามรายงานการศึกษาของอรูบ้า เรื่อง “The Internet of Things : Today and Tomorrow” พบว่า 50% ขององค์กรธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกที่นำ IoT มาใช้ จะมีประสิทธิภาพการดำเนินงานและการสร้างสรรค์นวัตกรรมมากขึ้น

ขณะเดียวกัน มีองค์กรถึง 74% ยืนยันว่ามีผลกำไรมากขึ้นด้วย อย่างเช่น JCB IndiaJCB India Enjoyed High Operational Availability โรงงานผู้ผลิตอุปกรณ์ก่อสร้างพบว่าอุปกรณ์และเครื่องจักรเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ยาวนานขึ้นหลังจากที่ต่อเชื่อมอุปกรณ์และเครื่องจักรกว่า 10,000 ตัวของตนเข้าสู่ระบบเครือข่าย

ด้วยเหตุนี้เราจะเห็นจำนวนองค์กรในภาคอุตสาหกรรมโรงพยาบาลและสถานพยาบาล อุตสาหกรรมการค้าปลีก ภาคการศึกษา และภาคการผลิตในเอเชียแปซิฟิกต่างทำการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ IoT มาปรับใช้สำหรับแอพพลิเคชันต่าง ๆ มากมาย เช่นในการตรวจสอบติดตามอาการของคนไข้ การรวบรวมข้อมูลของลูกค้า หรือระบบรักษาความปลอดภัยผ่านกล้องวงจรปิดแบบไอพี ซึ่งจำนวนอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นได้สะท้อนถึงการเติบโตในการใช้ IoT

อย่างไรก็ตาม ระดับการพร้อมขององค์กรต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังแตกต่างกันเมื่อพูดถึงความเข้าใจและวิสัยทัศน์เชิงลึกในเรื่อง IoT มีเพียง 1 ใน 4 ของผู้บริหารองค์กรธุรกิจชั้นนำที่แสดงให้เห็นความเชื่อมั่นในศักยภาพขององค์กรในการนำ IoT มาใช้ นั้นหมายความว่าองค์กรธุรกิจหลายองค์กรในภูมิภาคนี้ยังใช้ IoT ไม่เต็มศักยภาพของมัน

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการเติบโตในการนำดิจิทัลมาปรับใช้อย่างรวดเร็ว และองค์กรล้วนต้องการจะขยายกลยุทธ์ทางธุรกิจของตนให้ครอบคลุมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความต้องการใช้ดิจิทัล ต่อไปนี้เป็นข้อควรพิจารณา 3 ข้อที่ต้องตระหนักเมื่อทำการวางแผนในการนำ IoT มาใช้ในองค์กรของคุณ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนสูงสุดและเพิ่มขีดความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า

เทคโนโลยี IoT

ข้อที่ 1 มีระบบเก็บข้อมูลที่สามารถรองรับจำนวนและความเร็วของข้อมูลที่เกิดจาก IoT ได้ทันและเพียงพอ

ตามความเห็นของ เควิน แอซตัน (Kevin Ashton) จาก British technology pioneer เห็นว่า IoT คือความสามารถที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลและนำมาใช้อย่างมีประสิทธิผล ถึงแม้ว่าเกือบจะทุกองค์กรในภูมิภาคนี้อ้างว่าตนมีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล แต่ส่วนมากกลับพบกับความท้าทายในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากข้อมูล มากกว่าครึ่งมัวแต่ยุ่งอยู่กับการจัดการข้อมูลที่ได้รับมาจำนวนมหาศาลในแต่ละวัน

ขณะที่ 44% พบว่ามันยากมากที่จะทำการย่อยและทำความเข้าใจข้อมูลมากมายที่มาจากอุปกรณ์ที่หลากหลาย มันเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักถึงระบบการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเดิม เป็นสิ่งที่ล้าสมัยและไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วย IoT

และเพื่อให้ทันต่อการขยายตัวของการใช้งาน IoT ทำให้เป็นปัญหาขนาดใหญ่ของผู้จัดการระบบไอที ดังนั้นทุกองค์กรจำเป็นต้องทำการประเมินว่าระบบโครงสร้างพื้นฐานในการจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่ขณะนี้มีความสามารถที่จะรองรับข้อมูลจำนวนมหาศาล รวมทั้งมีความสามารถที่จะรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่มาจากแหล่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อที่ 2 สถาปัตยกรรม Intelligent Edge มารองรับการขยายตัวของ IoT

มากกว่าครึ่งขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยืนยันว่าต้นทุนในการเริ่มนำ IoT มาใช้และการบำรุงรักษาเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางพวกเขาไม่ให้สามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจจากเทคโนโลยีดังกล่างได้ หลาย ๆ บริษัทที่ใช้โมเดลทางธุรกิจเป็นระบบคลาวด์แบบรวมศูนย์สำหรับ IoT ได้ตระหนักถึงค่าใช้จ่ายต่อปีที่เกิดขึ้นและไม่ส่งผลดีกับยอดขาย

จึงเป็นที่มาของการประมวลผลที่ปลายทาง (Edge Computing) มาแทนที่ การใช้ความสามารถในการประมวลผลไปสู่ที่ต่าง ๆ บนระบบเครือข่ายจะช่วยลดต้นทุนที่เกี่ยวกับการจัดการข้อมูลและการดำเนินงาน และระบบดังกล่างต้องสามารถใช้ได้กับระบบที่มี Latency ต่ำ ระบบที่ต้องการเข้าถึงแบบระยะใกล้ (Proximity) และระบบที่มี Bandwidth สูง ทำให้องค์กรสามารถขยายระบบได้ตามความจำเป็นและเร่งรัดการนำ IoT มาใช้ได้ในต้นทุนที่เหมาะสมไม่แพงเหมือนระบบรวมศูนย์เดิม

ข้อที่ 3 วางกลยุทธ์ระบบรักษาความปลอดภัยแบบองค์รวมทั่วทั้งระบบของ IoT

มี 88% ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการถูกโจมตีทางช่องโหว่ด้านความปลอดภัยบนระบบที่เกี่ยวข้องกับ IoT อย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับทั้งโลก ความมั่นคงปลอดภัยของระบบเป็นสิ่งที่ท้าทายที่สุดสำหรับการใช้ IoT ลองคิดถึงระบบนิเวศทางไอทีที่มีอุปกรณ์และเซนเซอร์กว่า 10,000 ตัว นั่นหมายความว่ามีจุดที่คุณจะต้องกังวลใจเพิ่มขึ้นถึง 10,000 จุด

ทั้งนี้ การนำพลังการประมวลผลทั้งหมดไปไว้ที่ในจุดที่ไม่ได้รับการสนใจมากนักของระบบเครือข่ายอาจจะสามารถทำการป้องกันบางประการให้แก่ระบบนิเวศ IoT ได้บ้าง แต่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะเมื่อมีผู้ร้ายที่จ้องรอคอยที่จะกระโดดเข้าโจมตีระบบเมื่อมีช่องโหว่ของระบบความมั่นคงปลอดภัยให้เห็น

ดังนั้นองค์กรควรจะมีมุมมองในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยและระบบรักษาความปลอดภัยแบบองค์รวม ครอบคลุมตลอดทั้งระบบเครือข่ายไอทีในการควบคุมการเข้าสู่ระบบและมีนโยบายการจัดการความมั่นคงปลอดภัยที่ป้องกันได้ทั้งเครือข่ายและอุปกรณ์ทั้งหมด พร้อมทั้งมีระบบการดูแลความมั่นคงปลอดภัยที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถมองเห็นการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบเครือข่ายของคุณได้ทั้งหมด ซึ่งจะทำให้คุณสามารถมองเห็นจุดที่อ่อนไหวและคาดการณ์ช่องโหว่ด้านความปลอดภัยได้ล่วงหน้า