Blockchain

เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) กำลังเปลี่ยนหลายสิ่ง ๆ มากกว่าแค่เรื่องการเงิน แต่อะไรไบ้างคือสิ่งที่บล็อกเชนกำลังจะเข้าไปเปลี่ยน…


highlight

  • บล็อกเชน คือ เรื่องของการรองรับการทำข้อมูลที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และใช้ได้เป็นรายบุคคล ไม่ใช่ใช้เพื่องอค์กรธุรกิจ หรือภาคการเงินเท่านั้น
  • เราสามารถใช้ บล็อกเชน ในการจัดการ ทั้งในเรื่อง ของการยืนยันสิทธิ์ถือครองที่ดิน, จัดการ Sharing economy ให้เป็น Sharing economy จริง ๆ, ลดคนกลาง และค่าบริการด้านการเงิน, ใช้ยืนยันปกป้องข้อมูลที่มีค่า และใช้ยืนยันในสิทธิ์ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา 

Blockchain เทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบมากกว่าแค่เรื่องเงิน

ดอน แทพส์กอตท์ (Don Tapscott) CEO, Tapscott Group Chairman and co-Founder, Blockchain Research Institute กล่าวในเวที TEDSummit ว่า เทคโนโลยีที่จะส่งผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในอีก 2 ถึง 3 ทศวรรษข้างหน้าได้มาถึงแล้ว

หลายคนอาจนึกถึง สื่อสังคมออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย (Social Media) หรือ บิ๊กดาต้า (Big Data) หุ่นยนต์ (Robot) หรือปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่กล่าวมาทั้งหมดส่งผลกระทบต่อชีวิตของมนุษย์แทบทั้งสิ้น แต่ไม่ใช่ส่ิงที่จะเปลี่ยนแปลงบางสิ่งที่ไปจากเดิมอย่างเด็ดขาด

แล้วอะไรคือเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งเดิม ๆ ได้อย่างสิ้นเชิง คำตอบของคำถามนี้คือ “บล็อกเชน” หลายคนอาจเห็นต่าง เพราะบล็อกเชน ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่คนส่วนใหญ่กล่าวถึงมากที่สุด แต่เชื่อเถอว่ามันจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่จะทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเปลี่ยนหลายสิ่งจากเดิมไปเลย เมื่อเอ่ยถึง บล็อกเชน

ส่วนมากจะนึกถึงการนำไปใช้ในเรื่องของด้านการเงิน หรือเงินดิจิทัล อย่างเช่น บิทคอยน์  (Bitcoin) แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันทำอะไรได้มากกว่านั้นมากมายหลายเท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่เร็ว  และเร็วมากขึ้นเรื่อย ๆ

ประโยชน์โดยแท้จริงของ บล็อกเชน คือ เรื่องของการรองรับการทำข้อมูลที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และใช้ได้เป็นรายบุคคล ไม่ใช่ใช้เพื่องอค์กรธุรกิจ หรือภาคการเงินเท่านั้น ในอดีต หรือช่วงเริ่มต้นของยุคอินเทอร์เน็ต การส่งข้อมูลไปให้บุคคลอื่น

Blockchain

คือการส่งสำเนา ไปให้ ไม่ใช่การส่งต้นฉบับ ซึ่่งอาจจะดูว่ายอดเยี่ยมมากแล้ว ณ ช่วงเวลานั้น แต่หากเราใช้วิธีเดียวกันนี้กับข้อมูลด้านอื่น ๆ อาทิ เงินดิจิทัล, ทรัพย์สินทางการเงินเช่น, หุ้น,  การเก็บสะสมแต้ม, ทรัพย์สินทางปัญญา อาทิ ดนตรี ศิลปะ  หรือแม้แต่คะแนนเสียง

แล้วล่ะก็มันถือเป็นความคิดที่ไม่ดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะหมายถึงเรากำลังไฟส์ที่เป็นดิจิทัล ไปให้ปลายทาง ซึ่งมันสามารถดัดแปลงทำซ้ำได้ ดังนั้นจึงเกิด “คนกลาง” หรือ “ตัวกลาง” ที่มีความน่าเชื่อถือ อย่างเช่น ธนาคาร รัฐบาล บริษัทสื่อสังคมออนไลน์ใหญ่ ๆ

บริษัทเครดิตการ์ดใหญ่ ๆ และอื่น ๆ ให้มาทำบทบาทหน้าที่ในการสร้างความเชื่อมั่น และดำเนินการแทนตัวบุคคลขึ้น ตั้งแต่เรื่องการพิสูจน์ตัวตนการแสดงตัวของบุคคล ผ่านทางการเรียกเก็บเงิน การชำระเงิน และการบันทึกข้อมูลแทนบุคคล 

แม้ว่าในเบื้องต้นจะดูเหมือนเป็นวิธีการที่ดี และตัวแทนเหล่านี้ก็ทำงานได้ดี แต่ปัญหาก็เริ่มชัดเจนมากขึ้น ๆ จนมาถึงจุดที่ว่าในวันนี้ เรากำลังอยู่บนโลกที่เสี่ยงที่จะสุญเสียทุกอย่างไปได้เพียงแต่ชั่วพริบตา

เพราะระบบ ตัวแทน นี้ได้สร้างจุดบอดที่เรียกว่า “ศูนย์กลางของข้อมูล” ซึ่งการที่รวมข้อมูลเอาไว้ที่เดียวนับเป็นความเสี่ยงที่จะาสามารถถูกแฮ็กได้ และแนวโน้มดังกล่าวก็ทวีความรุ่นแรงเพิ่มมากขึ้น ๆ จนไม่สามารถป้องกันได้ จนทำให้ต้องปรับวิธีการ ด้วยดำเนินการให้ช้าลง

และคิดค่าบริการในการดำเนินการ อาทิ ส่งเงินไปอีกประเทศหนึ่ง แต่ใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ เพียงเพราะข้อมูลนั้นอยู่ในระหว่างดึงเก็บเอาไว้  มันจึงเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุผล ว่าเพราะเหตุใดเราจึงไม่สามารถเอาตัวเงินออกมา หรือใช้เงินนั้นไปเพื่อจัดการอย่างดีกว่า

กับชีวิตของเรา ระบบแบบเก่าได้ชิงเอาความเป็นส่วนตัวไป สิ่งที่ตามมาคือปัญหาที่ใหญ่ที่สุดเพราะแนวทางดังกล่าวทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมเพิ่มมากขึ้น ที่กล่าวมาคือปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบแบบเดิม

ดังนั้น จะเป็นอย่างไรหาก เรามีข้อมูลที่ไม่ได้เก็บไว้ที่ศูนย์กลาง (Distributed ledger) แต่เป็นข้อมูลที่สามารถวิ่งอยู่ในคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่อง และคนทุกคนสามารถเข้าไปใช้ได้ โดยไม่ต้องมีคนกลาง และสามารถจัดการทรัพย์สินได้ทุกรูปแบบ 

Blockchain

ใช่แล้วครับผมกำลังจะบอกว่า “บล็อกเชน” คือสิ่งที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาดังกล่าวเหล่านี้ เพราะตั้งแต่ปี ค.ศ 2008 ที่ ซาโตชิ นากาโมโต (Satoshi Nakamoto) ได้ทำการสร้าง Bitcoin และทำการ Design ส่วนของ Reference ให้คนอื่นมา implement ต่อ

ซึ่งทำให้เกิดการสร้าง Database ตัวแรกของ บล็อกเชน ที่สามารถแก้ปัญหาสำคัญของ Digital currency คือ การแก้ปัญหาในเรื่อง Double-spending ได้ ก็ทำให่เกิด เกณฑ์วิธีของเงินสดดิจิตอล (Digital cash) ซึ่งใช้สกุลเงินดิจิตอลเป็นตัวรองรับ

และสกุลเงินดิจิตอลตัวนี้เองทำให้ผู้คนสามารถก่อตั้งเครดิดขึ้นมา และทำธุรกิจได้ โดยไม่ต้องมีบุคคลที่สาม และกลายเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ที่คนทุกหนทุกแห่งไว้วางใจกัน และกันได้ เนื่องจากข้อมูลใช้การเข้ารหัสระดับสูง

และเมื่อมีการทำธุรกิจค้าขายเกิดขึ้น มันก็ถูกโพสท์เข้าไปทั้งโลก ทั่วทั้งคอมพิวเตอร์หลาย ๆ ล้านเครื่องทั่วโลก และเป็นกุญแจสำคัญ ในการสร้างสิ่งที่เรียกว่า บล็อกของข้อมูล ซึ่งแต่ล่ะบล็อกนั้นก็จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับบล็อกก่อนหน้านี้ และก็บล็อกก่อนหน้านั้น

เป็นทอด ๆ และสร้างให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า สายโซ่ที่เชื่อมต่อกันของบล็อก โดยในทุก ๆ บล็อกก็ถูกประทับเวลาไว้ คล้ายกับประทับตราไว้ด้วยขี้ผึ้งแบบดิจิตอล ดังนั้น หากคุณอยากจะไปแฮ็กบล็อก ๆ หนึ่ง และบอกว่า จ่ายเงินมาให้คุณด้วยเงินแบบเดียวกันนั้น

ก็ต้องแฮ็กบล็อกที่ว่านั้น บวกกับบล็อกก่อนหน้านั้นทั้งหมด หรือประวัติของการค้าขายในบล็อกเชนทั้งหมดนั้น ไม่เพียงในคอมพิวเตอร์แค่เครื่องหนึ่งแต่ทั่วทั้งคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่อง “ในเวลาเดียวกัน” ทั้งหมดนั้นใช้การเข้ารหัสระดับสูง

เพื่อให้เข้าใจว่า การเปลี่ยนแปลงที่บล็อกเชนจะทำให้เกิดขึ้นนั้น ให้ลองคิดภาพของอุตสาหกรรมทางด้านการเงิน ลองคิดว่าหากเรา แตะบัตรในร้านสะดวกซื้อ ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมในครั้งนั้นก็จะถูกส่ง และรับ แบบข้อมูลบิตสตรีม (Bitstream)

ไปยังบริษัทฯ ทั้งหลาย แต่ละบริษัทก็มีระบบคอมพิวเตอร์ของตนเอง จากนั้น 2 ถึง 3 วัน ต่อมา ข้อมูลในการทำธุรกรรมนั้นจึงเกิดขึ้นจริง แต่หากอุตสาหกรรมการเงินใช้บล็อกเชน ก็จะไม่มีต้องรอข้อมูลในการทำธุรกรรม

เพราะว่าการจ่ายเงิน หรือการชำระ จะถูกส่งไปในทันทีทันใด และเป็นข้อมูลชุดเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบเท่านั้น แล้วทำไมเราต้องสนใจ ก็คงต้องย้อนไปดูความเจริญรุ่งเรือง ยุคแรก ๆ ของอินเตอร์เน็ต ในช่วงเริ่มต้นข้อมูลที่อยู่ในอินเตอร์เน็ต นำเราไปสู่ความมั่งคั่ง

แต่ไม่ได้แบ่งปันความเจริญรุ่งเรือง แต่กลับสร้างความเหลื่อมลํ้าทางสังคมมีเพิ่มมากขึ้น และทำให้เกิดแนวคิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ลัทธิหัวรุนแรง, ลัทธิปกป้องทางการค้า, ความเกลียดกลัวชาวต่างชาติ เป็นต้น

ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนมาที่สุดคือกรณ๊ของการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือ เบร็กซิต (Brexit) ที่อาจจะนำมาถึงปัญหาที่กล่าวไป ดังนั้นหากเราสามารถใช้ บล็อกเชน แก้ปัญหาความเหลื่อมลํ้ำ

โดยทำให้การสร้างความมั่งคั่งให้เป็นประชาธิปไตย นำคนเข้ามามีส่วนร่วมในด้านเศรษฐกิจให้มากขึ้น แล้วก็ทำให้มั่นใจได้ว่าพวกเขาได้ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมมากขึ้นก็จะสร้างความเข้มแข็งได้ทั่วโลก

Blockchain

5 ตัวอย่างวิธีการใช้บล็อกเชน

ใช้ในการยืนยันสิทธิ์ถือครองที่ดิน คุณทราบ หรือไม่ว่า 70% ของคนในโลก ที่มีที่ดินนั้น สิทธิการครอบครองนั้นแทบจะไม่มีความหมาย หากไม่สามารถยืนยันในความเป้นเจ้าของสิทธิ์ได้ ยกตัวอย่าง กรณีที่เกิดขึ้นในสาธารณรัฐฮอนดูรัส (Honduras) บ่อย ๆ

หากคุณมีฟาร์มเล็ก ๆ  แต่มีคนที่มีอำนาจมาบอกว่า “เค้ารู้นะว่าคุณมีแผ่นกระดาษที่บอกว่าคุณเป็นเจ้าของฟาร์มของคุณ แต่คอมพิวเตอร์ของรัฐบาลบอกว่าเพื่อนของผมเป็นเจ้าของฟาร์มของคุณนี้” นั่นหมายความว่าจะต้องไปสู้ยืนยันแสดงความเป็นเจ้าของ 

ดังนั้น ปัจจุบัน บริษัทฯ ทั้งหลายจึงกำลังทำงานกับรัฐบาล เพื่อนำเอากรรมสิทธิที่ดินไปไว้ในบล็อกเชน และทันทีที่มันอยู่ที่นั่นก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ คุณแฮ็กมันไม่ได้ สิ่งนี้ทำให้เกิดสภาวะเพื่อความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา สำหรับคนหลายพันล้านคนที่จะมีในอนาคต

ใช้จัดการ Sharing economy ให้เป็น Sharing economy จริง ๆ ปัจจุบันเราพูดถึง อูเบอร์ (Uber) แอร์บีเอ็นบี (Airbnb) ทาส์คแร็บบิท (Taskrabbit) ลิฟท์ (Lyft) และอื่น ๆ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน

แต่ในความเห็นของผมคือ บริษัทฯ เหล่านี้ไม่ได้แบ่งปันกันอย่างแท้จริง แต่เป็นการรวบรวมบริการไว้ แล้วก็ขายบริการออกไป สมมุติว่าเราสามารถแทนที่จะใช้บริการของ แอร์บีเอ็นบี ด้วยโปรแกรมในรูปแบบของบล็อกเชน เจ้าของห้องก็จะเป้นเจ้าของธุรกิจเอง

และเมื่อมีใครต้องการจะเช่าห้อง ก็แค่เข้าไปในฐานข้อมูลของบล็อกเชน เพื่อดูเบอร์ติดต่อ เพราะมันระบุได้ว่าใครเป็นใคร  และยังสามารถใช้มันจัดการเรื่องการชำระเงิน ผ่านการชำระเงินดิจิตอล ซึ่งถูกสร้างไว้ในระบบ หรือแม้ใช้จัดการได้แม้กระทั่งด้านชื่อเสียง

เพราะว่าถ้าเธอจัดอันดับห้องเป็นระดับห้าดาว ห้องนั้นก็ยังอยู่ที่นั่น และมันก็ถูกจัดระดับไว้แล้ว และก็เปลี่ยนไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้ก็จะดีต่อความสร้างความเจริญรุ่งเรือง

ใช้เพื่อลดคนกลาง และค่าบริการด้านการเงิน ความเจริญที่ไม่เท่าเทียมกันของเศรษฐกิจ ทำให้คนหลายพันล้านคน เลือกที่จะทิ้งบ้านเกิด เพื่อไปทำงานที่ต่างประเทศ เพื่อส่งเงินกลับมาให้ที่บ้าน แต่เงินนั่นจะไม่ถูกส่งไปเต็มจำนวน

เพราะผู้ให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศจะคิดค่าบริการ  ยกตัวอย่าง “อนาเลีย โดมินโก” ทำงานเป็นแม่บ้าน เธออยู่ในกรุงโตรอนโต ทุก ๆ เดือน เธอไปที่สำนักงานเวสเทอร์นยูเนียน พร้อมกับเงินสด เพื่อส่งเงินไปให้แม่ของเธอ ในกรุงมนิลา

เธอต้องเสียค่าใช้จ่าย 10% และเงินนั้นใช้เวลา 4 ถึง 7 วัน จึงไปถึงแม่ของเธอ ซึ่งคาดเดาไม่ได้เลยว่ามันจะมาถึงเมื่อไหร่ จนเมื่อ 6 เดือนที่แล้ว “อนาเลีย” ใช้บล็อกเชนที่เรียกว่า “แอบรา” (Abra) จากเครื่องมือในมือถือของเธอเธอส่งเงินไป 300 ดอลลาร์

และมันส่งตรงไปที่มือถือของแม่เธอ โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง แล้วแม่เของเธอก็ดูไปที่มือถือของเธอ และแม่ของเธอก็แค่คลิกไปที่ผู้รับแลกเงิน ซึ่งอยู่ไกลออกไป 7 นาที คน ๆ นั้นก็มาถึงหน้าประตูนำเงินเปโซพิลิปปินส์มาให้เธอ และจ่ายเพียง 2% เท่านั้น

Blockchain

ใช้ยืนยันปกป้องข้อมูลที่มีค่า ปฏิเสธไม่ได้ว่าวันนี้ทรัพย์สินที่ทรงอำนาจที่สุดของยุคดิจิตอล คือ “ข้อมูล” (Data) ซึ่งบางทีอาจใหญ่กว่าทรัพย์สินประเภทก่อน ๆ ก็ได้ อย่างเช่น ที่ดินในเศรษฐกิจแบบการเกษตร หรือโรงงานอุตสาหกรรม หรือแม้กระทั่งเงินตรา

เราทุกคนคือผู้สร้างข้อมูลนี้ขึ้นมา มันเป้นทรัพย์สิน รวมไปถึงเป็นร่องรอยของเศษชิ้นดิจิตอลของเราที่ได้ดำเนินมาตลอดชีวิต ข้อมูลดิจิทัลที่เป็นเหมือนภาพเสมือนของของเรา และอาจเป็นภาพเสมือนที่รู้ดียิ่งกว่าตัวเราเอง

เพราะไม่ว่าคุณจะได้ หรือจำไม่ได้ว่าซื้ออะไรไปบ้างเมื่อปีที่แล้ว พูดอะไรไปบ้างเมื่อปีที่แล้วอยู่ตรงไหนบ้างปีที่แล้ว แต่ภาพสมือนเหล่านี้คือข้อมูลที่เก็บทุกช่วงชีวิตของเราเอาไว้ ซึ่งปัจจุบันมีหลายบริษัทฯ ที่เก็บเอาข้อมูลดิจิทัลของเราไปใช้งาน แต่เจ้าของข้อมูลได้อะไร

ดังนั้นในวันนี้ เราจำเป็นต้องสร้างเอกลักษณ์ขึ้นมา และเก็บเอาไว้ในกล่องสีดำ ที่เราเป็นเจ้าของ และเป็นกล่องดำ ที่ไปกับเราทุกที่ ไม่ว่าเราจะอยู่ส่วนไหนของโลก โดยเราสามารถสร้างให้มันเป็นกล่องที่ตระหนี่ขี้เหนียว และจะให้แค่เพียงเศษชิ้นของข้อมูลดิจิทัล

เท่าที่จำเป็นต้องเอาไปทำบางสิ่ง เพราะในการทำธุรกรรมมากมาย ผู้ขายไม่จำเป็นต้องรู้ว่าคุณเป็นใคร พวกเขาต้องรู้แค่เพียงว่าพวกเขาจะได้รับเงิน เท่านั้น สิ่งนี้คือการปกป้องความเป็นส่วนตัวของเรา ที่อยู่ในความควบคุมของเรา 

Blockchain

ใช้ยืนยันในสิทธิ์ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา ที่ผ่านมาผู้สร้างสรรค์ในแวดลงต่าง ๆ ไม่ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม เพราะว่าระบบเพื่อทรัพย์สินทางปัญญาใช้การไม่ได้ ตัวอย่างเช่น ดนตรี นักดนตรีได้รับส่วนแบ่งที่เหลือนิดเดียวที่ปลายสุดของห่วงโซ่อาหาร 

ถ้าคุณเป็นคนแต่งเพลงเมื่อ 25 ปีก่อน คนเขียนเพลงที่เป็นที่นิยม ได้เงินจากเพลงเป็นล้าน คุณอาจได้ค่าลิขสิทธิ์ประมาณ 45,000 ดอลลาร์ แต่ในปัจจุบันหากคุณเป็นนักแต่งเพลงแต่งเพลงที่คนนิยมกัน และเพลงนั้นถูกดาวโหลดเป็นล้าน คุณไม่ได้เงิน 45,000 ดอลลาร์

แต่จะได้รับ 35 ดอลลาร์ พอที่จะซื้อพิซซ่าดี ๆ กิน เท่านั้น เพราะถูกหักส่วนแบ่งไปเยอะมากมาย แต่เราสามารถใช้ บล็อกเชนในการสร้างรายได้ขึ้นมาจากความสามารถในการสร้างสรรค์ ยกตัวอย่างเช่น “อิโมเจน ฮิป” นักร้อง-นักแต่งเพลง ที่ได้รับรางวัลแกรมมี

ที่ขณะนี้กำลังเอาเพลงเข้าไปไว้ในระบบนิเวศบล็อกเชน “มายซีเลีย” (Mycelia) และสร้างสัญญาอัจฉริยะ (Smart contract) ล้อมรอบมัน และเพลงนั้นปกป้องสิทธิทางปัญญาของเธอไว้ หากคุณต้องการจะฟังเพลงนั้น หรือ ฟังได้ฟรี หรืออาจต้องจ่ายไม่กี่ไมโครเซ็นต์

ซึ่งจะไหลเข้าไปบัญชีดิจิตอลของเธอ แต่หากอยากจะเอาเพลงไปใส่ในภาพยนต์ เรื่องนั้นต่างออกไป ทรัพย์สินทางปัญญาระบุไว้ในทุก ๆ เรื่อง หากอยากทำเป็นสัญญาณเรียกนั่นก็ต่างออกไป อิโมเจน ฮิป ได้ทำให้เพลงของเธอกลายเป็นธุรกิจ

ทีี่รันบนแพลตฟอร์ม และทำการตลาดในตัวมันเอง โดยเงินทั้งหมดจึงไหลกลับไปสู่ศิลปินคนแต่งเพลงนั้น จะเห็นได้ว่าเราสามารถนำเอา บล็อกเชนไปใช้ในงานสร้างสรรค์ อื่น ๆ ได้ อาทิ  ศิลปะ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ งานบทความของนักข่าว 

ซึ่งงานเหล่านี้นอดีตมักจะไม่ได้รับค่าตอบแทนที่ยุติธรรม ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนน้อยที่ยกตัวอย่างให้เห็น จากเป็นสิบ ๆ ปัญหามากมาย ซึ่งบล็อกเชนจะถูกนำไปใช้ได้ เทคโนโลยีไม่ได้สร้างความเจริญรุ่งเรือง แต่มันกำลังจะให้โอกาสกับเราอีกครั้ง

โอกาสที่จะสร้างโครงข่ายการเชื่อมต่อที่ทรงพลังทางเศรษฐกิจ กับระบบระเบียบแบบที่มีอยู่เดิม และแก้ปัญหาบางปัญหาที่ยากที่สุดของโลกให้หมดลงได้

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน : ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบ และข้อมูลบางส่วนจาก : www.pexels.com, www.ted.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่ eleaderfanpage