แพทย์พลวรรธน์ วิทูรกลชิต ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
แพทย์พลวรรธน์ วิทูรกลชิต ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ภายใต้ทิศทางการพัฒนาประเทศไทยสู่ Digital Economy นั้นภาครัฐได้เตรียมการบูรณาการในหลายด้านผ่านการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งหนึ่งในการขับเคลื่อนที่น่าสนใจนั้นก็คือ eHealth 

e-Health กำลังเป็นคำฮิตติดปากสำหรับบุคลากรที่อยู่ในสาขาการบริการด้านสุขภาพ ทั้งหมอ พยาบาล และผู้บริหารงานด้านสาธารณสุข และ e-Health กำลังจะมีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสาธารณสุขของไทยภายใต้แนวคิดการจัดการระบบสุขภาพที่มุ่งเน้นในด้านความปลอดภัย ความทันต่อเวลา ประสิทธิภาพและประสิทธิผล การยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และความเป็นธรรม ซึ่งเป็นหัวใจหลักที่นำไปสู่ Health Care 4.0, eHealth หรือ Smart Health นั่นเอง

สาธารณสุข หัวใจของ eHealth

นายแพทย์พลวรรธน์ วิทูรกลชิต
นายแพทย์พลวรรธน์ วิทูรกลชิต ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

นายแพทย์พลวรรธน์ วิทูรกลชิต ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หนึ่งในหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการกำหนดแนวทาง e-Health ของไทย ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร ELEADER ว่า ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการพัฒนา e-Health ภายใต้บทบาทหน้าที่ในการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีของกระทรวงสาธารณสุขในทุกอย่าง ทุกแง่มุม เพื่อเชื่อมต่อระบบงานด้านสาธารณสุขของทั้งประเทศเข้าด้วยกันภายใต้ข้อกำหนดและมาตรฐานเดียวกัน รวมถึงการสร้างกลไกเพื่อขับเคลื่อน e-Health อย่างเป็นรูปธรรมทั้งทีมงานและเครื่องมือ

Digital Economy อาจจะเป็นนโยบายใหม่ภายใต้การผลักดันของรัฐบาล แต่ e-Health นั้นเป็นสิ่งที่ศูนย์ไอซีทีสำนักปลัดฯ ผลักดันมาตั้งแต่ 2 ปีก่อน ภายใต้กรอบของ e-Health ที่พัฒนาขึ้นภายใต้ความร่วมมือขององค์การอนามันโลก (WHO) และสหภาพโทรคมนาคมนานาชาติ (ITU) เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานระบบสาธารณสุขของชาติ

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีจุดแข็งในระบบสาธารณสุขที่แตกต่างจากประเทศอื่น นั่นคือ หน่วยบริการสาธารณสุขส่วนใหญ่ 70% เป็นของภาครัฐ และ 30% เป็นเอกชน ซึ่งกลับข้างกับประเทศอื่น ๆ ที่เป็นระบบสาธารสุขของรัฐเพียง 30% เท่านั้น และภายใต้ 70% ของเรานั้นมีหน่วยงานสาธารณสุขถึง 10,000 แห่ง มีบุคลากรที่เกี่ยวข้องประมาณ 330,000 คน นั่นทำให้ระบบสาธารณสุขของไทยเข้าถึงชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีโครงสร้างแบบนี้

แต่ด้วยความที่มีหน่วยงานเป็นจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วประเทศ จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างรวดเร็ว เพื่อกระจายข่าวสารออกไปให้ทั่วถึงและดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน

6 ยุทธศาสตร์สู่ eHealth

ฉะนั้นศูนย์ไอซีทีจึงมีการพูดถึงการกำหนดกรอบและมาตรฐานต่าง ๆ ตามแนวทางของ e-Health มาตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดยกำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญเป็น 6 ยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาเชื่อมโยงระบบไอทีของไทยเข้ากับระบบสาธารณสุขของประเทศ

“ภายใต้กรอบการทำงานของ e-Health นั้นเป็นครั้งแรกที่มีโอกาสมองเห็นการบูรณาการระบบไอทีในภาพรวม โดยการเชื่อมโยงระบบสาธารณสุขของไทยเข้าด้วยกันเหมือนการจัดฟันเฟืองในเครื่องจักรให้เข้าที่ จากที่แต่ละหน่วยงานทำงานคนละบทบาทให้สามารถพูดคุยกันภายใต้ระบบมาตรฐานข้อมูลเดียวกัน

WHO Strategy eHealth

โดยภายใต้การพัฒนา e-Health ให้ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ที่สำคัญ 6 ประการ โดยประการที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ การตั้งหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานว่าจะไปทิศทางไหน ใช้มาตรฐานอะไรดี โดยมาตรฐานหลายอย่างนั้น เป็นมาตรฐานที่หน่วยงานกลางจะกำหนดขึ้นเองภายใต้บริบทของไทยที่อ้างอิงตามมาตรฐาน e-Health ของ WHO

“กระทรวงสาธารณสุขมีอายุยืนยาวมาเกือบ 200 ปี และมีหน่วยงานสาธารสุขในพื้นที่มากกว่า 10,000 แห่งที่ผ่านมาเรามีมาตรฐานในการกำหนดชื่อเรียกทั้งยาหรือเวชภัณฑ์อยู่แล้ว แต่เราต้องพัฒนาสิ่งนั้นให้เป็นมาตรฐานสากลเพื่อให้หน่วยงานในภาคเอกชนมาใช้มาตรฐานเดียวกัน เพื่อบูรณาการระบบข้อมูลสาธารณสุขของประเทศให้มีความเป็นเอกภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการสาธารณสุขในองค์กรรวม เช่น ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น”

ตัวอย่างที่น่าสนใจเช่น การเจาะเลือด บางครั้งเราเจาะเลือดที่โรงพยาบาล A แล้ว แต่เปลี่ยนไปรักษาที่โรงพยาบาล B เขาก็จับเราเจาะเลือดอีก ถามว่าทำไม โรงพยาบาล B บอกไม่เชื่อ A อันนี้ไม่ใช่ความผิดของคนไข้ แต่โรงพยาบาลจะต้องคุยกันเพื่อกำหนดค่ามาตรฐานที่ใช้ในการพิสูจน์ผลเลือด

นอกเหนือจากการจัดตั้งองค์กรกลางและการสร้างมาตรฐานของระบบข้อมูลสุขภาพแล้ว การผลักดันการใช้กฎหมาย ระเบียบ วิธีปฏิบัติ และมาตรฐานที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการใช้ไอซีทีในระบบสุขภาพ เป็นอีกยุทธศาสตร์หนึ่งที่มีความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลนั้นได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงบริการหลายอย่างทางการแพทย์ เช่น เรื่อง Tele Medicine หรือการตรวจรักษาโรคทางไกลที่แม้จะเป็นแนวทางที่ดี แต่ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายใด ๆ รองรับ รวมถึงแนวทางปฏิบัติ

การแก้ไขกฎระเบียบให้เอื้ออำนวยต่อการก้าวสู่ e-Health ก็เป็นอีกยุทธศาสต์หนึ่งที่มีความสำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีใหม่ในการรักษา เช่น Tele Medicine นั้น ปัจจุบันแม้จะดำเนินการได้ในทางปฏิบัติกับการตรวจรักษาโรคบางชนิด แต่ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่รองรับด้านนี้ ฉะนั้นจึงต้องมีการดำเนินปรับปรุงกฎหมายให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เช่น ตัวอย่างของ Tele Medicine นั้น การแพทย์ไทยควรให้การรับรองกับการรักษาโรคชนิดใดบ้าง และในกระบวนการภายหลังการรักษา เช่น การพิมพ์ใบสั่งยาเพื่อไปซื้อยาจากร้านขายยานั้นสามารถทำได้หรือไม่ ถ้าทำได้ ใบสั่งยานั้นจะมีวิธีการตรวจสอบอย่างไรว่าเป็นใบสั่งยาที่ออกจากหมอจริง ๆ ทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นและต้องมีกฎหมายรองรับ

ติดตามข้อมูล การบริการสุขภาพด้วย Data Analytics ได้ ที่นี่