เทคโนโลยีต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วปีแล้วปีเล่าส่งผลให้โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทียิ่งซับซ้อนขึ้น และเทคโนโลยีช่วยให้ธุรกิจกระจายตัวไปหลายพื้นที่ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุกจุดที่ลูกค้าอยู่โดยใช้พื้นฐานของ Data Center เป็นส่วนสำคัญ

แม้จะเกิดความซับซ้อนแต่องค์กรก็ยังคงต้องผลักดันธุรกิจเดินหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในทุกวันนี้จึงต้องเผชิญกับอุปสรรคใหญ่หลวงและสำคัญมากคือจะบริหารความซับซ้อนของระบบไอทีได้อย่างไร ระบบนิเวศไอทีกำลังพึ่งพา “คลาวด์” เพื่อให้ทำงานได้ง่ายขึ้น เกิดผลสำเร็จได้เร็ว ด้วยความคาดหวังกับต้นทุนที่จะต้องต่ำลง

ช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่นวัตกรรมมากมายก่อให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งเป็นทางเลือกให้ซีไอโอเลือกใช้กับระบบไอทีของตน ที่มาพร้อมกับคำถามที่ว่า แล้วเทคโนโลยีไหนจะสร้างแนวทางที่จะช่วยให้องค์กรใช้งานได้ในระยะยาว และรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านไอทีในอนาคตตามแผนการที่องค์กรกำลังวางแผนอยู่?

Data Center
ความต้องการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานไฮเปอร์คอนเวิร์จ (HCI) ที่เพิ่มขึ้น

การใช้พับลิคคลาวด์จะก่อให้เกิดความต้องการใช้ไฮบริดคลาวด์มากขึ้นในปี 2561 เมื่อมีการเพิ่มการใช้จ่ายด้านไอที ก็จำเป็นต้องศึกษาทางเลือกในการใช้ระบบคลาวด์มากขึ้น และยังมีกลุ่มคนที่มองหาโซลูชั่นที่จะช่วยให้นำไฮบริดคลาวด์มาใช้มากขึ้น เพราะองค์กรจำเป็นต้องประเมินว่าควรใช้แอปพลิเคชั่นใดกับคลาวด์ระบบใด ความคิดที่จะใช้แอปพลิเคชั่นทุกแอปฯ บนระบบคลาวด์จะถูกแทนที่ด้วยทางเลือกทีหลากหลายขึ้น และการใช้ไฮบริดคลาวด์จะช่วยให้องค์กรใช้ทางเลือกที่หลากหลายเหล่านั้นได้

แนวโน้มเหล่านี้ได้สร้างแรงกระเพื่อมในตลาดโลกแล้วและเหล่านักวิเคราะห์ต่างตะหนักถึงเรื่องนี้เป็นอย่างดี องค์กรจะหันมาพิจารณาใช้โครงสร้างพื้นฐานไอทีแบบไฮเปอร์คอนเวิร์จ (HCI) เป็นอันดับแรกๆ มากขึ้นในปี 2561 ซึ่ง HCI เป็นเทคโนโลยีที่เป็นรากฐานในการใช้ไฮบริดคลาวด์

ความคล่องตัวของแอปพลิเคชั่นเป็นปัจจัยสำคัญในการประเมินประสิทธิภาพ

ลักษณะประการที่สองของไฮบริดคลาวด์คือแอปพลิเคชั่นต่างๆ ที่ทำงานบนไฮบริดคลาวด์จะต้องมีความคล่องตัว ใช้งานเคลื่อนย้ายไปมาบนระบบคลาวด์ได้ นั่นแสดงให้เห็นว่าหนึ่งในลักษณะสำคัญที่ผู้คนประเมินประสิทธิภาพของเทคโนโลยีคือการที่แอปพลิเคชั่นสามารถเคลื่อนย้ายการทำงานได้อย่างคล่องตัวได้ด้วยตัวแอปฯ เอง

ที่ผ่านมาแอปพลิเคชั่นต่างๆ ใช้เวอร์ชวลแมชชีนเพื่อเคลื่อนย้ายและทำงานบนระบบที่แตกต่างกันได้ จากนี้ไป เราจะได้เห็นการเร่งความเร็วของเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอีก เช่น การใช้งาน คอนเทนเนอร์เพื่อช่วยในการเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชั่นทำได้ง่ายขึ้น

คอนเทนเนอร์จะช่วยทำให้แอปพลิเคชั่นขยายการทำงานได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น คอนเทนเนอร์จะได้รับความสนใจมากขึ้นอย่างมากในปี 2561 นี้ และเทคโนโลยีต่างๆ เช่น Kubernetes จะดึงความสนใจจากผู้ที่ต้องการทำความเข้าใจกับวิธีการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมบนระบบคลาวด์โดยการใช้ Kubernetes และเทคโนโลยีในลักษณะเดียวกัน


Infrastructure as a code

แนวโน้มน่าจับตามองอันดับสาม คือการจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ข้อมูลเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อน (Data-centric infrastructure) จะใช้โค้ดเป็นตัวกำหนดการทำงานมากขึ้น นั่นหมายความว่า ‘Infrastructure as code paradigm: IAC’ หรือโครงสร้างพื้นฐานที่ควบคุมการทำงานด้วยโค้ด เริ่มเข้ามามีบทบาทแล้ว

ซึ่งส่งผลให้ระบบและการบริหารจัดการด้านไอทีรวมถึงแผนงานต่างๆ ขององค์กรจะเป็นอัตโนมัติและมีความคล่องตัว นักพัฒนาซอฟต์แวร์จะสามารถเขียนซอฟต์แวร์ด้วยโค้ด (Infrastructure as a code) ซึ่งช่วยให้ฮาร์ดแวร์ที่เป็นไซโลทำงานได้เร็วขึ้น เรายังจะได้เห็นระบบอัตโนมัติ (Automation) ระบบบริการตนเอง (Self-service) มากขึ้น และมีระบบไพรเวทคลาวด์แอสอะเซอร์วิสที่ให้ผู้บริโภคได้ใช้ด้วยตนเองเพิ่มมากขึ้น การให้ความสำคัญกับระบบอัตโนมัติภายในดาต้าเซ็นเตอร์จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้ทีมไอทีใช้ ICA เป็นธีมในการพัฒนากลยุทธ์บริหารจัดการระบบคลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์ของตน

Data Center

ปัญญาประดิษฐ์ (AI)

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา เราจะได้เห็นการใช้แมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานของ AI มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด วิวัฒนาการของ ML จะทำให้เครื่องจักรต่างๆ สามารถแยกแยะและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของดาต้าเซ็นเตอร์ในภาพรวม

จากเดิมที่ใช้วิธีวิเคราะห์สาเหตุจากรูธทั้งหมดไปเป็นระบบ Ticketing systems ซึ่งช่วยให้ทีมบริหารจัดการได้เป็นจุดๆ ตามที่ตรวจพบตั้งแต่แรก เราเริ่มได้เห็นการควบรวมทีมงานต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับดาต้าเซ็นเตอร์เกิดขึ้นแล้ว

ทุกวันนี้เราไม่ต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านไฟเบอร์เหมือนกับที่เราต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านไฮเปอร์ไวเซอร์ เมื่อทีมรวมตัวกันจะเกิดการถ่ายโอนความรู้จักคิดและความชาญฉลาดของคนไปยังเครื่องจักร ซึ่งเครื่องจักรสามารถบริหารจัดการกันเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายความว่ากระบวนทัศน์ของ ML และการวิเคราะห์พฤติกรรมที่ใช้ในการทำงานของดาต้าเซ็นเตอร์จะแข็งแกร่งขึ้น และในที่สุดจะนำไปสู่การใช้งาน AI ที่มีประสิทธิภาพในอีกสองสามปีข้างหน้า ก้าวแรกของการใช้งาน AI ก็คือ ML ที่จะทรงประสิทธิภาพมากขึ้นในปีนี้

ที่กล่าวมาทั้งหมดคือแนวโน้มสำคัญ 4 เรื่อง ขององค์กรที่กำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงการทำงานของดาต้าเซ็นเตอร์ในปี 2561 ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของทุกภาคธุรกิจ ตั้งแต่เทคโนโลยีสำหรับผู้บริโภคเฉพาะราย ไปจนถึงเทคโนโลยีสำหรับองค์กรทั่วโลก