IoT 

depa และThai IoT จับมือ 8 วิสาหกิจ แสดงผลงานต่อยอดนวัตกรรมจากเทคโนโลยี GNSS RTK พร้อมตั้งเป้าพัฒนาต่อเนื่อง เพื่อสร้างให้เกิดการใช้นัวตกรรมใหม่…

highlight

  • สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และ สมาคมไทยไอโอที (ThaiIoT) เผยผลความคืบหน้าโครงการวิจัย และพัฒนา “นวัตกรรมต่อยอด GNSS RTK” พร้อมจัดงานเสวนาบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการต่อยอด และทิศทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยี GNSS IoT และอากาศยานไร้คนขับ

depa ปลื้มโครงการสนับสนุนวิสาหกิจใช้ IoT 

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และ สมาคมไทยไอโอที (ThaiIoT) เผยผลความคืบหน้าจากโครงการวิจัย และพัฒนา “นวัตกรรมต่อยอด GNSS RTK” (Real-time kinematic for improving accuracy on positioning of Global Navigation Satellite System)

หรือระบบการระบุพิกัดสถานที่ต่างๆ และตำแหน่ง ที่มีความแม่นยำสูงมาก ลดข้อผิดพลาดด้วยสัญญาณเชื่อมต่อจากโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และการระบุตำแหน่งผ่านดาวเทียม ที่ให้ให้แม่นยำในระดับเซนติเมตร ผ่านวิสาหกิจ 8 ราย 

IoT 

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริม เศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้เป็นการต่อยอดจากโครงการวิจัย และพัฒนาต่อยอด ด้วยเทคโนโลยี “GNSS RTK” ที่ทาง ดีป้า ได้เข้าร่่วมผลักดันสนันสนุนให้เกิดการใช้งาน “ไอโอที” ในเชิงพาณิชย์อย่างเหมาะสม

และทำให้เรื่องของการค้นหาตำแหน่งสถานที่เชื่อมโยงพิกัดจากแอปพลิเคชัน และเว็บไซค์ มีค่าผิดพลาดในการระบุตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์เเม่นยำมากขึ้น และสามารถนำไปพัฒนาสู่พื้นฐานความแม่นยำต่อระบบภูมิสารสนเทศ

หรือค่าความถูกต้องของพิกัดต่าง ๆ ทั้งในอาคาร, สถานที่, พาหนะ หรือสินค้าที่กำลังถูกขนส่งไปจุดหมาย โดยผิดพลาดลงเหลือเพียงไม่กี่เซ็นติเมตรเท่านั้น ซึ่ง ดีป้า และ สมาคมไอโอที ได้พัฒนาร่วมกับ มหาวิทยาลัยนเรศศวร จนวันนี้มีการพัฒนาออกมาเป็นนวัตกรรม จากวิสาหกิจทั้ง 8 ราย ได้แก่ 

บจก.ไอ ทู เอ็นเตอร์ไพรซ์, บจก.เซ็นโทรวิชั่น, บจก. เรดเคเบิ้ล, บจก.ฟาร์มดีเอเชีย, บจก.ฟลิง, บจก.แนคคร่า ไมโครเทค, บจก.สเกด้า ออโตเมชั่น และ บจก.เทค โลจิสติก เอ็นเตอร์ไพรส์ ซึ่งเป็นการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่สำคัญของประเทศไทย

และสอดคล้องกับแนวคิดเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 อีกด้วย ซึ่งหากได้รับการพัฒนาต่อเนื่องก็จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้แก่อุตสาหกรรม และภาคบริการต่าง ๆ ของประเทศ อาทิ การประยุกต์ใช้ในโครงการสมาร์ท ซิติี้ (Smart City) หรือ รถยนต์อัตโนมัติ (Automated Driving)

และยังเป็นการรองรับการเข้ามาของเทคโนโลยี 5G ในอนาคตอีกด้วย ซึ่งจะจะทำให้สามารถพัฒนาสู่นวัตกรรมหรือบริการใหม่ เช่น การใช้โดรนขนส่งสินค้าทางอากาศไปให้จุดหมายหรือผู้รับที่แม่นยำ หรือการใช้งานของเกษตรกรรมแนวใหม่

เช่น สามารถใช้โดรนในการฉีดยาควบคุมแมลงได้ถึงระดับเฉพาะต้นในแปลงเพราะปลูก หรือ การใช้ในด้านการสำรวจได้ 

IoT 

กำพล โชคสุนทสุทธิ์ นายกสมาคมไทยไอโอที กล่าวว่า ในวันนี้ทางสมาคมไทยไทยไอโอที ได้นำผลความคืบหน้าจาก วิสาหกิจทั้ง 8 ราย ที่ได้เข้าร่วมในโครงการวิจัย และพัฒนาต่อยอด ด้วยเทคโนโลยี “GNSS RTK” ที่ทาง ดีป้า ได้ สนับสนุนงานวิจัยเป็นเงินกว่า 30 ล้านบาท 

เพื่อพัฒนาผลักดันให้เกิดการใช้ Internet of Things ด้วยระบบ GNSS RTK ในเชิงพาณิชย์ ได้ นอกจากการเป็นการแสดงผลพัฒนาต่อยอด แล้ว เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อน ทางสมาคมฯ จึงได้จัดงานบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการต่อยอด และทิศทางธุรกิจด้วยเทคโนโลยี GNSS IoT และอากาศยานไร้คนขับ

โดยมีวิทยากรผู้ทรางคุณวุฒิ อาทิ ดร.มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเมืองอัจริยะ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า), ดร.นรุตม์ สุนทรานนท์ บริษัท เดฟโดรนแมพเพอร์ จำกัด., คุณประสงค์ ประทีปเพิ่มพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไฮบิทซ์ จำกัด.

และคุณวันพืช สร้อยระย้า ประธานกลุ่ม GNSS Working group สมาคมไทยไอโอที ร่วมเสวนา และระดมความคิดเห็น ซึ่งมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมรับรับฟังเป็นจำนวนมาก

IoT 

อนึ่ง RTK Project Ecosystem เป็นโครงการอาศัยการใช้ประโยชน์จาก GPS/GNSS แบบ RTK ซึ่งเป็นระบบการระบุพิกัดความละเอียดสูงด้วยดาวเทียมและความแม่นยำสูงสุดอยู่ที่ 1-5 เซนติเมตร เพื่อการสำรวจทำแผนที่สมัยใหม่ด้วยโดรน

การทำแผนที่ชุมชน และที่ดินทำกิน การทำเกษตรแปลงใหญ่ด้วยจักรกลขับเคลื่อนอัตโนมัติ การติดตามยานพาหนะในเมืองอัจฉริยะอย่างแม่นยำ ระบบการจัดการคลังสินค้าอัตโนมัติ ระบบจัดการขนส่งด้วยโดรน (Drone Delivery) ตลอดจนบริการอื่นๆ ที่ต้องการข้อมูลพิกัด GPS/GNSS

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่