ข้อได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจถือเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องมี และยิ่งถ้าใข้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเสริมจะยิ่งทำให้เกิดจุดแตกต่างที่ของธุรกิจมากขึ้น 

ยาแซด ดัลลาล  Head of HCM Cloud Application ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ออราเคิล ได้นำเสนอมุมมอง เกี่ยวกับกลยุทธ์ แนวโน้ม และสิ่งที่ HR จำเป็นต้องมีอย่างเร่งด่วนเพื่อก้าวสู่การเป็นแผนกทรัพยากรบุคคลในยุคดิจิทัล (Digital HR) คือ

1)    ข้อได้เปรียบในการแข่งขันของบริษัทต่างๆ ที่ใชั Digital HR มีอะไรบ้าง
ข้อได้เปรียบที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ Digital HR จะมีแพลตฟอร์มที่จำเป็นต้องใช้เพื่อให้พนักงานได้ประสบการณ์การทำงานที่ดีขึ้น โดยผลสำรวจของออราเคิลชีี้ว่า เมื่อพนักงานมีประสบการณ์เชิงบวกในการทำงานดั่งเทคโนโลยีที่เขาใช้ในชีวิตประจำวัน ที่สะท้อนความเป็นส่วนตัว ความเร็วและใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาแล้ว พวกเขาจะทำงานอย่างมีความสุขและสร้างประสิทธิผลได้มากขึ้น 
 
หลักการทำงานของ Digital HR จะต้องอยู่บนพื้นฐานของการใช้แอปพลิเคชันคลาวด์ ระบบคลาวด์เท่านั้นที่จะทำให้องค์กรต่างๆ มั่นใจได้ว่าองค์กรจะสามารถให้การพัฒนาอย่างต่อเนื่องและทันต่อการเปลี่ยนแปลงให้กับพนักงานของตน อีกไม่นานปัญญาประดิษฐ์ (AI) ก็จะเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้วย นอกจากนี้แล้วยังจะมีภาษาที่พัฒนาขึ้นโดยอัตโนมัติ เช่น ภาษาคอมพิวเตอร์ การจดจำเสียง อินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (IoT)

 
2)    เทรนด์ใหม่ๆ 3 ประการของ Digital HR 

(i)การหลีกหนีการสร้างกระบวนการพัฒนาบุคลากรแบบเดิมๆ มาสู่การฝึกอบรมที่เน้นการสร้างประสบการณ์ที่เข้มข้น ที่เอื้อให้พนักงานมีส่วนร่วมและสร้างแรงบันดาลใจได้มากขึ้น

(ii)   การใช้ IoT และอุปกรณ์สวมใส่ (Wearable) เพื่อวัดประสิทธิภาพจะกลายเป็นวิธีการที่ใช้กันทั่วไปเป็นมาตรฐาน และเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนผลิตผลและประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานผ่านทางโปรแกรม Work-Life และโครงการด้านสุขภาพต่างๆ

(iii)  การวิเคราะห์และคาดการณ์แบบเรียลไทม์จะเข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจขององค์กรมากขึ้น การที่องค์กรต้องการวัดประสิทธิภาพและเพิ่มประสบการณ์ให้กับพนักงาน ทำให้องค์กรต้องการเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อนำไปปรับใช้ได้ทันท่วงที

 

3) หน้าที่ของ HR ได้เปลี่ยนจากการเป็นฝ่ายสนับสนุนการทำงาน มาเป็นผู้ให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์แก่องค์กร จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่า HR จะเปลี่ยนแปลงตนเองในด้านใดได้อีกบ้าง และอย่างไรในยุคดิจิทัลนี้

สรุปโดยภาพรวมคือ การที่เราเน้นการวัดประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานและทีมงานอย่างละเอียดมากขึ้น เก็บข้อมูลมากขึ้นโดยใช้เทคโนโลยี IoT จะยิ่งทำให้เราเรามีข้อมูลมากเพียงใดเราก็จะสามารถวิเคราะห์และจัดทำแบบแผนในการทำงานต่างๆ ได้มากเพียงนั้น การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นจะช่วยให้เราคาดการณ์อนาคตได้

เมื่อเห็นอนาคตเราก็ตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด และยิ่งไปกว่านั้น หากคุณเป็นคน Gen X หรือเด็กกว่าคุณจะรู้สึกสนุกเหมือนกับกำลังเล่นเกมใหม่ๆ ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน การวิเคราะห์ว่า “จะเกิดอะไรขึ้น ถ้า” จะทำให้คุณโลดแล่นไปกับโมเดลแห่งอนาคตที่หลากหลาย ช่วยให้ HR มีมุมมองเกี่ยวกับผลลัพธ์ทางธุรกิจในแง่มุมต่างๆ ที่จะมีผลต่อการปรับกระบวนการทำงานที่เกี่ยวเนื่องกับค่าตอบแทน การปฏิบัติงาน และความไม่แน่นอนจากปัจจัยภายนอกต่างๆ

 
4) การปรับใช้วิธีการสร้างประสบการณ์ให้กับบุคลากร และการนำกลยุทธ์ที่เป็นประสบการณ์การใช้งาน User Experience (UX/UI) มาประยุกต์ใช้

ประสบการณ์การใช้งานของผู้บริโภคที่ขับเคลื่อนโดยอุปกรณ์โมบาย เซ็นเซอร์ การบ่งบอกตำแหน่ง และอุปกรณ์สวมใส่ที่กำลังเข้ามามีบทบาท ล้วนมีอิทธิพลต่อเทคโนโลยี เราใช้เวลาหลายชั่วโมงในแต่ละวันโต้ตอบกับดิจิทัลแอปฯ ต่างๆ (เราเช็คโทรศัพท์ 8 พันล้านครั้งต่อวัน)

ซึ่งตอนนี้เราไม่ได้เฝ้าติดตามอุปกรณ์ดิจิทัลเหล่านั้นอีกต่อไป แต่พวกมันติดตามเราต่างหาก อุปกรณ์เหล่านั้นวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ และพฤติกรรมการใช้จ่าย แล้วจึงชักจูงเราด้วยข้อเสนอ การกระตุ้นให้สนใจ และการชี้แนะต่างๆ กุญแจสู่ความสำเร็จในการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงานคือการเลียนแบบสภาพแวดล้อมของผู้บริโภคมาไว้ในสถานที่ทำงาน ซึ่งทำได้ง่ายเพราะเราคุ้นเคยและรู้วิธีที่จะใช้มันอยู่แล้ว สิ่งเหล่านี้จะทำให้พนักงานพอใจและมีความสุขในการทำงาน 

5)ขั้นตอนในการสร้างและใช้กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลแบบเน้นประสบการณ์ของพนักงาน
อย่างแรกเลยคือคุณต้องเข้าใจพนักงาน ซึ่งจะต้องใช้แนวคิดการออกแบบที่ใช้คนเป็นศูนย์กลาง ปัจจุบันพนักงานของบริษัทหลายแห่งมาถึงที่ทำงานตอนเช้าก็นั่งโต๊ะ วางโทรศัพท์ แล้วก็จมอยู่กับงาน 8-10 ชั่วโมง ทำงานกับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อช้าและซอฟต์แวร์ที่ไม่อัพเดท เทคโนโลยีจะไม่ได้เพียงแค่เข้ามาเปลี่ยนวิธีการทำงาน แต่ยังรวมไปถึงการสื่อสารระหว่างพนักงานด้วยกันด้วย
 
6)วิธีการพัฒนาบุคลากรที่ทำงานให้บริษัท และยังคงรับทำงานนอกไปด้วย (Gig Economy)
เราคุ้นกับการปรับตัวต่อสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว พ่อแม่ของเราอาจทำงานที่บริษัทเดียวมามากกว่า 30 ปี ในขณะที่พนักงานบริษัทปัจจุบันเปลี่ยนงานกว่า5-10 งานทั้งชีวิตการทำงาน

ปัจจุบันเราได้เห็นว่ามีคนทำงานที่พยายามสร้างสมดุลระหว่างงานประจำที่ทำเต็มเวลากับงานที่รับจ้างทำเป็นคราวๆ มากขึ้น การที่นายจ้างที่เป็นผู้จ้างงานประจำเปิดโอกาสให้พนักงานบอกเล่าเกี่ยวกับความสนใจหรือความเชี่ยวชาญอื่นๆ นอกเหนืองานประจำก็อาจส่งผลดีให้กับตัวบริษัทเองด้วย

การเปิดกว้างในลักษณะนี้ จะทำให้บริษัทใช้ความสามารถของพนักงานในด้านต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย เช่น หากบริษัทจะจัดงานเลี้ยงภายในก็สามารถมอบหมายหน้าที่ให้พนักงานที่ทำงานพิเศษให้กับธุรกิจด้านการจัดเลี้ยง หรือเมื่อจะทำโครงการเพื่อชุมชนด้อยโอกาส ก็สามารถมอบหมายให้พนักงานที่เป็นผู้นำองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรรับผิดชอบงานนี้ ทำให้เกิดผลดีอย่างมากมายทั้งกับตัวพนักงานเองและทางบริษัทด้วย
 
7) การเพิ่มศักยภาพและพัฒนาความสามารถของพนักงานใน Gig Economy ด้วยเทคโนโลยีคลาวด์
ระบบ Cloud HR กับการเรียนรู้เป็นแรงจูงใจทั้งกับพนักงานประจำและพนักงานชั่วคราว การที่สามารถเรียนรู้คราวละสั้นๆ และเข้าใจง่าย ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ ทุกที่ทุกเวลา จะช่วยให้พนักงานเกิดแรงบรรดาลที่จะเรียนรู้มากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น ออราเคิลผลักดันให้คนทำงานผ่านดิจิทัลเป็นหลัก ด้วยเทคโนโลยีด้าน HR ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นโครงการความร่วมมือกับผู้ร่วมวิชาชีพเดียวกัน ไปจนถึงการพัฒนาทักษะต่างๆ ในระยะยาว พนักงานย่อมต้องการกระบวนการการทำงานที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเวลา ค่าใช้จ่าย และงานต่างๆ ของ HR เพื่อให้พวกเขาสร้างผลงานที่สำคัญที่สุดได้ก่อน