Digital ID

ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลักดันการใช้งานการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) ออกโรงแนะภาครัฐ และเอกชน เร่งปรับตัวรับมือการพิสูจน์ตัวตน เพื่อสร้างโอกาสการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี โดยเริ่มต้นจากการสร้างความมีส่วนร่วมให้แก่ประชาชน…

highlight

  • 99% ของบริการต่าง ๆ และธุรกรรมทั้งหมดที่มีใน เอสโตเนีย อยู่บนระบบออนไลน์แล้ว
  • โครงการ Unique Identification Authority of India (UIDAI) ในปี 2009 มีหน่วยงานกลางอย่าง “อัดฮาร์” (Aadhaar) ให้คนอินเดียมาขอสมัครในระบบ ดิจิทัล ไอดี และสร้างไอดี (ID) ของตนเอง
  • เพื่อให้ประชาชนของสิงค์โปรสามารถทำธุรกรรมทุก ๆ อย่าง ได้อย่างปลอดภัย และสะดวก จากทุกที่ จากทุกช่องทางที่มี จึงได้กำหนดโครงการในการพัฒนาขึ้นมาภายใต้หลักการสำคัญอย่าง Smart Nation ล้อไปตามกรอบแนวคิดของ NDI (National Digital Identity)
  • มาเลเซียเป็นประเทศแรกบนโลก ที่มีการพัฒนา และจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน แบบสมาร์ทการ์ด

Guru แนะไทยปลดล็อคเศรษฐกิจด้วย Digital ID และการสร้างความมีส่วนร่วม

4 วิทยากรชั้นนำในด้านการผลักดันการใช้ ดิจิทัล ไอดี ของโลก เข้าร่วมงาน “1st Thailand Digital ID Symposium 2019”  ที่ทาง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA  (เอ็ตด้า) และ บ.เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน) และภาคีเครือข่าย ได้ร่วมกันจัด พร้อมให้คำแนะนำแนวทาง ร่วมถึงกรณีศึกษาที่ได้ดำเนินการแล้วจริงในการใช้ระบบการพิสูจน์ และยืนยันตัวตน หรือ ดิจิทัล ไอดี เปลี่ยนแปลงประเทศเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

จะการสร้างการยอมรับ ต้องสร้างอย่างโปร่งใส

Digital ID

Mr. Andrus Kaarelson Director of State Information System, Republic of Estonia กล่าวว่า สำหรับเอสโตเนียเรื่องของการสร้างสังคมดิจิทัล (Digital Economy) หรือ ยุคเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) นั้นเราได้เริ่มมาเป็นหลายปีแล้ว และสิ่งที่เราทำกลายมาเป็นต้นแบบให้หลาย ๆ ประเทศทั่วโลก ได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการวางกรอบการพัฒนาประเทศสู่ระบบดิจิทัล

ซึ่งเราดีใจที่ความพยายามของเราในการสร้างบริการที่เชื่อมโยงกับประชาชนที่มีความปลอดภัย กลายเป็นสิ่งช่วยให้ประเทศต่าง ๆ เห็นถึงประโยชน์ในการใช้ระบบยืนยันตัวบุคคลผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น สำหรับประเทศไทยนั้นการที่จะสามารถพัฒนาบริการของภาครัฐให้สะดวกสบายมากขึ้น

จำเป็นต้องเริ่มจากการพิจารณาถึงเรื่องความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งก็คือประชาชนภายในประเทศนั่นเอง ว่าจะทำอย่างไรให้ประชาชนสามารถใช้บริการจากภาครัฐได้อย่างสะดวกสบายเต็มไปด้วยความปลอดภัย ได้จากทุกที่ทุกเวลา ไม่จำกัดช่วงเวลาหรือวันทำการ ที่ เอสโตเนีย เราได้เริ่มจากการพิจารณาความต้องการของประชาชน เพราะเราอยู่ในประเทศเขตหนาว

และมีพื้นที่เป็นที่ราบสูง ทำให้เรื่องของการเดินทางไปทำธุรกรรมต่าง ๆ หรือการติดต่อกับหน่วยงานราชการ ในเมืองนั้นลำบาก เราจึงคิดว่าจะทำอย่างไรที่ให้ประชาชนสามารถใช้บริการต่าง ๆ ของรัฐได้อย่างสะดวก อาทิเช่น การที่สาธารณรัฐเอสโตเนีย (Republic of Estonia) หรือ “เอสโตเนีย” (Estonia)

Digital ID

เริ่มเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งแบบเดิมไปสู่การเลือกตั้งผ่านระบบออนไลน์ผ่าน แพลทฟอร์ม i-voting” ที่ทำให้ระบบการเลือกตั้งทั่วประเทศของเอสโตเนียไม่ว่าจะเป็นในระดับท้องถิ่น หรือระดับประเทศ ประชาชนสามารถลงคะแนนเลือกผู้สมัครได้จากที่บ้าน รวมไปถึงที่อื่น ๆ

ที่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (High speed internet) ที่รัฐวางโครงสร้างไว้ที่ เอสโตเนีย การเริ่มสร้างระบบยืนยันตัวบุคคลผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล หรือ ดิจิทัล ไอดี อาจเริ่มต้นง่าย และเร็ว เพราะเรามีจำนวนประชากรภายในประเทศเพียง 1.3 ล้านคน

ทำให้การสร้าง “ไอดี” (ID) ประจำตัวของประชาชนที่สามารถยืนยันผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลนั่นเร็วกว่า แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้อาจจะต้องออกมาเป็นข้อบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตาม ซึ่งแม้ว่าจะแรก ๆ อาจยุ่งยาก ช่วงเริ่มต้นเราก็ไม่ได้เริ่มแล้วประสบความสำเร็จทันที และใช้เวลานาน

แต่เมื่อมีความเข้าใจแล้วก็จะพบว่าสะดวกรวดเร็วกว่าที่จะต้องเดินทางไปทำกิจกรรม หรือธุรกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว หรือเรื่องที่ต้องมีส่วนร่วมกับรัฐ อาทิ การเลือกตั้ง ที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วม ก็จะสามารถทำได้จากทุกที่ที่เชื่อมโยงอินเทอร์เน็ต

หรือแม้แต่การใช้บัตรประจำตัวประชาชนแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Smart Card) ที่ให้การเข้าถึงบริการอิเล็กทรอนิกส์ของเอสโตเนียทั้งหมด เนื่องจากมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ปลอดภัยที่เซ็นชื่อ และเข้ารหัสข้อมูลที่ส่งออกทั้งหมดแบบดิจิทัล และรับรองความถูกต้อง และบันทึกข้อมูลที่เข้ามา

Digital ID

อีกทั้งช่วยสร้างระบบนิเวศกับประเทศต่าง ๆ ในสหภาพยุโรป (European Union หรือ EU) โดยสามารถเชื่อมโยงข้อมูลข้ามพรมแดนได้อย่างปลอดภัย ทำให้วันนี้ในการเดินทางไปประเทศต่าง ๆ ใน EU ไม่ต้องใช้ พาสปอร์ต (Passport) อีกต่อไป อีกทั้งด้วยความสามารถในการเชื่อมโยงกับผู้ให้บริการทางด้านการเงินอย่างธนาคาร

ยังช่วยให้ประชาชนสามารถใช้เงินผ่านบัตรดังกล่าว ร่วมไปถึงใช้ชำระค่าธรรมเนียมจากการใช้บริการต่าง ๆ ของภาครัฐ และเอกชน ได้อีกด้วย ซึ่งปัจจุบัน 99% ของบริการต่าง ๆ และธุรกรรมทั้งหมดที่มีใน เอสโตเนีย อยู่บนระบบออนไลน์แล้ว

แต่ยังมีบางส่วนเล็กน้อยที่ยังไม่เชื่อมโยงข้อมูล อาทิ ข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่ยังอยู่ระว่างการพัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูล ซึ่งเมื่อสำเร็จก็จะสามารถทำธุรกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ วันนี้ที่ เอสโตเนีย การสร้างให้เกิด ดิจิทัล ไอดี จากภาครัฐ อาทิ เช่น บัตรประชาชน กลายเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่การยื่นยันตัวตนผ่านบนอุปกรณ์

อิเล็กทรอนิกส์ได้ วันนี้เราไม่อาจกล่าวได้ว่าประสบความสำเร็จได้เต็ม 100% เพราะในปัจจุบันเองก็ต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากเชื่อมโยงอุปกรณ์ใหม่ ๆ อาทิ การใช้งานบริการบนสมาร์ทโฟน ที่อาจจะไม่ได้ปลอดภัยทุกรุ่น สิ่งเหล่าแสดงให้เห็นว่าไม่ว่าคุณจะเริ่มเมื่อไร

แต่สิ่งที่ต้องทำต่อเนื่องคือการต้องพัฒนาอยู่เสมอเพื่อให้เหมาะสม อย่างไรก็ดีการสร้างให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูล และสามารถระบุตัวตนได้ ทำให้เอสโตเนียเป็นหนึ่ง 9 ประเทศ ที่พัฒนาเทคโนโลยี มากที่สุดในโลก สิ่งนี้เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงข้อมูลของภาครัฐเข้าสู่ระบบดิจิทัล

ทำให้เกิดบริการจาก สตาร์อัพใหม่ ๆ (New Startup)  ที่ใช้เทคโนโลยี และข้อมูล ที่เชื่อมโยง ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ โดยได้สร้างยูนิคอร์น ถึง 4 แห่ง ใน 10 ปี ที่ผ่านมา และช่วยทำให้ภาคเทคโนโลยีของ เอสโตเนีย ขึ้นไปอยู่ในลำดับต้น ๆ ของ 20 อันดับแรก

Digital ID

ในการจัดอันดับความง่ายในการทำธุรกิจจากธนาคารโลก (World Bank) และกลายเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างการเติบโตมากถึง 7% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศเอสโตเนีย และทำให้เกิดการจ้างงาน โดยคิดเป็น 4% ของจำนวนพนักงานทั้งหมดของประเทศ เนื่องจากระบบบริการดิจิทัลของเอสโตเนีย

นอกจากนี้ด้วยความสามารถในการช่วยระบุ และยืนยันตัวตน ยังช่วยส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการลงทุนธุรกิจ ใน เอสโตเนีย มากขึ้น เพราะมีระบบที่ตรวจสอบได้ ทำให้ขอยื่นเอกสารเข้ามาเป็นประชากรในเอสโตเนียเพื่อประกอบธุรกิจได้ ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 7,000 บริษัทฯ ที่ขอยื่นมาตั้งใน เอสโตเนีย ผ่านระบบออนไลน์แล้ว

ซึ่งในอีกมุมยังช่วยให้เกิดการขอใช้บริการอื่น ๆ ใน เอสโตเนีย เช่น การขอเบอร์โทรภายในประเทศเอสโตเนีย เพื่อสร้าง Mobile ID เพื่อยืนยันตัวตนได้อีกทางหนึ่ง อีกทั้งด้วยความสามารถในการที่มีระบบด้านการจัดการภาษีที่เชื่อมโยง ทำให้แจ้งระบุความต้องการในการชำระภาษีได้สะดวก

ไม่ต้องเดินทางไปสำนักงานสำนักงานสรรพากร (Revenue Office) เพราะมีการเชื่อมโยง การยืนยันข้อมูลตัวตนได้ ทำให้ระบบการจัดเก็บภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ที่รัฐบาล สะดวกมากขึ้น ขณะที่ประชาชนสามารถยื่นได้ภายใน 3 นาที และทำให้ประชาชนเชื่อมั่นว่าจะได้รับเงินคืนจากการชำระภาษีอีกด้วย

ซึ่งภายในปี 2020 ระบบภาษียังพัฒนาไปสู่การตรวจสอบได้ผ่านระบบอนไลน์ได้ทันที ทำให้ไม่เกิดความผิดพลาดในการยื่นชำระภาษีจนนำไปสู่การถูกเบี้ยปรับเงินเพิ่ม โดยสรุปความสำเร็จนี้เกิดขึ้นจากความพยายามของภาครัฐที่ได้วางระบบโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตไปยังทั่วประเทศทำให้ประชากรภายในประเทศ

ซึ่งแม้อยู่ในพื้นที่ห่างไกลเมืองสามารถใช้บริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากภาครัฐ และบริการจากเอกชน ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เรายกตัวอย่างให้เห็นว่าเมื่อใช้ระบบพิสูจน์ และการยืนยันตัวตนแล้วประเทศจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันได้ขนาดไหน

Digital ID

ซึ่งประเทศไทยเองก็จะต้องมองให้รอบด้านทั้งในส่วนของการความสะดวก และความปลอดภัย ก่อนจะสร้างบริการใหม่ ๆ ออกมา รวมไปถึงวางระบบในการตรวจสอบ และกำกับดูแลได้อย่างเหมาะสมต่อเนื่อง เพราะด้วยจำนวนประชากรที่มีมากถึง 60-70 ล้านคน ในไทย ก็ถือว่ามีจำนวนมาก

การให้การจัดการข้อมูลการพิสูจน์ และยืนยันตัวตนอาจวุ่นวายกว่า แต่เมื่อทำสำเร็จด้วยการสร้างระบบตรวจสอบหลายชั้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ ข้อมูลยืนยันจากฐานข้อมูลประชากรจากภาครัฐ การใช้ระบบ Mobile ID หรือแม้แต่ ไบโอแมทริกซ์ (Biometrics) ก็จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นได้มากขึ้น

“ข้อควรระวังของรัฐบาลไทยในการผลักดันให้ประชาชนยอมลงทะเบียนทางดิจิทัล คือต้องทำให้การสร้างการยอมรับ จะต้องสร้างอย่างโปร่งใส ว่าใช้งานได้จริงมีประโยชน์ และมีความปลอดภัยทั้งจากการถูกโจรกรรม และไม่ถูกรัฐนำไปใช้งานโดยไม่รับอนุญาต”

ดิจิทัล ไอดี ควรพัฒนาที่ละด้าน อย่าพัฒนาทุก ๆ ด้าน พร้อมกัน

Digital ID

ดร.ปราโมทย์ วาร์มา (Dr.Pramod Varma) Chief Architect of Aadhaar, Architect India Stack & CTO of Ekstep กล่าวว่า ในประเทศอินเดียเราสร้าง ดิจิทัล ไอดี โดยเริ่มจากการที่เรามองเห็นปัญหาที่ประชากรของประเทศอินเดียไม่สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของรัฐได้

เพราะเรามีจำนวนประชากรที่มีจำนวนมหาศาล 1.32 พันล้านคน ซึ่งมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก รวมถึงมีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม เช่นเดียวกันประเทศไทยเองก็ถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีประชากรมาก และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูง เช่นเดียวกัน

ซึ่งการที่มีมีจำนวนประชากรมาก และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งในด้านภาษาพูด ภาษาเขียน ทำให้การสร้างบริการ และการยกระดับวิถีชีวิตของประชากร ด้วยการจัดเก็บภาษี เป็นเรื่องยาก ใน อินเดีย เราเล็งเห็นถึงปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงบริการ และสวัสดิการจากภาครัฐของประชากรภายในประเทศ

เพราะในบางพื้นที่ของประเทศประชากรบางคนไม่มีแม้แต่เอกสารที่ใช้ระบุตัวตน ว่าตนเองชื่ออะไรนามสกุลอะไร มีแต่เพียงชื่อที่ใช้เรียกกันในพื้นที่ที่อยู่อาศัย เท่านั้น ในขณะที่ภาครัฐเองก็ไม่สามารถเก็บภาษีได้ เพราะไม่มีข้อมูลประชาชนมากเพียงพอ ทำให้รัฐบาลอินเดียเก็บภาษีจากประชาชนที่จ่ายเพียง 3% เท่านั้น

Digital ID

และยังรวมไปถึงปัญหาด้านการย้ายถิ่นฐานที่เมื่อมีการย้ายจากชนบทเข้ามาตัวเมืองใหญ่ก็ทำให้บริหารจัดการได้ยากเพราะข้อมูลไม่มีการอัพเดท หรือแม้แต่เอกสารที่ใช้ยืนยัน ดังนั้นเราจึงได้ริเริ่มโครงการ Unique Identification Authority of India (UIDAI) ในปี 2009

โดยมีหน่วยงานกลางอย่าง “อัดฮาร์” (Aadhaar) ให้คนอินเดียมาขอสมัครในระบบ ดิจิทัล ไอดี และสร้างไอดี (ID) ของตนเอง โดยมีแผนจะนำมาแก้ปัญหาแก่ประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ รับบริการสวัสดิการต่าง ๆ ของรัฐได้ ผ่านเลขประจำตัวทางดิจิทัลที่รัฐบาลออกให้

และใช้แทนบัตรประชาชนเดิมของผู้ที่มีบัตรอยู่ แล้ว ส่วนผู้ที่ไม่มีแม้แต่เอกสารก็จะใช้เป็นสิ่งที่ยืนยัน และพิสูจน์ตัวตน เพื่อใช้ในการทำธุรกรรม หรือเข้ารับบริการต่าง ๆ ที่มี ของรัฐ แน่นอนว่าการเริ่มต้นเก็บข้อมูลประชากรที่มีจำนวนมาก และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ไม่ใช่เรื่องง่าย

การสร้างให้เกิดความต้องการใช้จะต้องคำนึงถึงเรื่องของความง่าย ต้องเริ่มจากความง่ายในการที่ประชาชนใช้ง่ายที่สุด ด้วยการสร้างแบบแปลนดิจิทัล ที่สะดวกง่ายที่สุด ให้นำเอาเทคโนโลยีเข้าไปหาคนไม่ได้เป็นการนำคนเข้ามาใส่ในเทคโนโลยี

ทำให้ประชาชนเห็นถึงประโยชน์จากการมี ไอดีทางดิจิทัลของตนเอง ภาครัฐเริ่มจากจุดที่เรียบง่าย ครอบคลุม ทุกเพศ ทุกวัยแล้วค่อยเพิ่มบริการอื่น ๆ เข้าไป อย่างเช่นวันนี้ประชาชน ของ อินเดีย สามารถสมัครหมายเลข Aadhaar ได้โดยส่งหลักฐานยืนยันตัวตน

Digital ID

เช่น หลักฐานที่อยู่ และลงทะเบียนข้อมูลไบโอแมทริกซ์ ไม่ว่าจะเป็น ลายนิ้วมือ, สแกนม่านตา และระบบตรวบจับใบหน้า ซึ่งเมื่อได้รับหมายเลข Aadhaar ที่สามารถใช้เปิดบัญชีธนาคาร หรือทำธุรกรรมทางการเงินอื่น ๆ ได้ ซึ่งวันนี้ อินเดียสามารถทำให้ประชาชน

มีไอดีทางดิจิทัลได้ถึง 1,200 ล้านคน ภายใน 7 ปี (เฉลี่ย 1.6 ล้านแสนคนต่อวัน) และมีการใช้ระบบค้นหาข้อมูลแล้วกว่า 12 ล้านล้านครั้งต่อวัน ในปัจจุบัน และใช้เพื่อพิสูจน์ยืนยันตัวตนแล้วกว่า 24,000 ล้านครั้ง แล้ว ซึ่งนับเป็นการใช้งานในการตรวจสอบกว่า 1,000 ล้านครั้งต่อเดือน

ทำให้เกิดการลดปริมาณการลดใช้เอกสารในการทำธุรกรรมลงมาก เพราะใช้แต่เลขไอดีเท่านั้น แน่นอนว่าการที่มีจำนวนข้อมูลที่ต้องเก็บมหาศาล เราจึงใช้วิธีในรูปแบบของพาทเนอร์ ที่ให้คนที่เป็นคอมพิวเตอร์ในพื้นที่เป็นผู้ชักชวนให้คนมาลงทะเบียน ซึ่งมีค่าตอบแทนให้ 50 เซน ต่อการลงทะเบียนเสร็จหนึ่งราย

ขณะที่ตัวอุปกรณ์ก็ใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ทั่วไป อีกเรื่องที่เราจำเป็นต้องคำนึงถึงในการออกแบบคือทำอย่างไรให้ผู้ใช้ ซึ่งก็คือประชาชนสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย และเป็นส่วนการออกแบบระบบการพิสูจน์ และยืนยันตัวตน นั่นสำคัญที่สุดคือเรื่องความปลอดภัย

การออกแบบเราโครงสร้างจำเป็นต้องให้อำนาจอยู่ในมือของประชาชน หรือผู้ใช้ ว่าจะเปิด-ปิด หรืออนุญาตให้หน่วยงานใช้ หรือไม่ใช้ด้วยการสร้างรหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียว (One Time Password หรือ OTP) หรือ ไอดีชั่วคร่าว ได้ ขณะที่ก็เปิดให้เอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ผ่านการเชื่อมโยงฐานข้อมูล

ซึ่งอาจจะต้องใช้หลายการยืนยันตัวตน ในแต่การใช้งานของการทำธุรกรรม เช่น การสร้างระบบให้ ธนาคาร สามารถใช้ ไอดี ในการจ่ายเงินบํานาญไปให้คนที่ควรจะได้ ไม่ว่าเค้าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ผ่านข้อมูลไอดีที่มีการตรวจสอบแล้ว ซึ่งเป็นการช่วยสร้างวงจรในการบริหารจัดการสวัสดิการของรัฐที่จะส่งไปถึงประชาชนไม่ให้ถูกคอรัปชั่น

จากคนบางกลุ่มอีกด้วย เพราะไม่สามารถปลอมแปลงได้ การที่สามารถสร้างระบบที่ช่วยยินยันตัวตนได้ ไม่เพียงแต่สร้างความปลอดภัย แต่ยังช่วยให้รัฐประหยัดค่าใช้จ่ายในการนำส่งไปได้ เป็นต้น

Digital ID

“หากรัฐบาลไทยจะเริ่มใช้ ดิจิทัล ไอดี ควรพัฒนาที่ละด้าน อย่าพัฒนาทุก ๆ ด้าน พร้อมกันแล้วจับเข้าไปในแฟลตฟอร์มเดียว และสร้างความเชื่อมั่นด้วยการสร้างให้เป็นแฟลตฟอร์มแบบเปิดที่ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบ หรือแก้ไขข้อมูลของตัวเองได้ ซึ่งจะสร้างให้เกิดความเชื่อมั่น และสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมในข้อมูลที่เป็นของเค้าเอง”

รัฐบาลต้องคิดถึงว่าอะไรคือระบบที่ง่ายที่สุดที่จะรัฐบาลทำได้เพื่อที่จะทำให้ระบบช่วยให้ทุกคนนำเอาไปใช้ได้แล้วก็สร้างสิ่งต่อยอดได้ไม่ว่าจะเป็นระบบของสาธารณสุขระบบของการศึกษา ซึ่งมั่นใจว่าประเทศไทยก็ทำได้เช่นกันหากเริ่มต้นในการวางรากฐานที่ดีมากพอ

การสร้างระบบ Digital ID ด้วยการเชื่อมโยงบริการต่าง ๆ เข้ามาไว้จุดเดียว

Digital ID

เคนดริก ลี (Mr. Kendrick Lee) Director, Trusted Data & Services, Government Technology Agency (GovTech), Singapore ให้ความเห็นว่า วันนี้การทำระบบการพิสูจน์ และยืนยัน ของสิงคโปร์ คือการสร้างจากกรอบแนวคิดในสร้างประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าผ่านระบบไอดีในทุก ๆ ด้าน

ซึ่งเราได้ดำเนินจัดตั้งหน่วยงานที่ให้บริการดิจิทัลจากรัฐให้เป็นบริการแบบสาธารณะ (Government Technology Agency) ขึ้นในปี 2560 เพื่อส่งมอบบริการด้านดิจิทัลจากหน่วยงานภาครัฐสู่ประชาชนสิงคโปร์ทุกคน โดยเน้นการปรับกระบวนการทำงานเข้าสู่ระบบดิจิทัลเป็นหลัก (Digitization)

และแม้ว่าหน่วยงาน GovTech จะก่อตั้งมาได้เพียงปีกว่า ๆ แต่ก็ได้เปิดตัวโครงการไปแล้วจำนวนไม่น้อย และเป็นการสานต่อเรื่องของ Sing Pass และ Corp Pass ซึ่งเป็นบัญชี บริการล็อกอินกลางของรัฐบาลสิงคโปร์ที่จัดไว้ให้ประชาชน และภาคธุรกิจ โดยมีบริการออนไลน์ภาครัฐทั้งหมด 140 บริการ  

ซึ่งบริการต่าง ๆ ที่ทำขึ้นนั้นก็เพื่อให้ประชาชนของสิงค์โปรสามารถทำธุรกรรมทุก ๆ อย่าง ได้อย่างปลอดภัย และสะดวก จากทุกที่ จากทุกช่องทางที่มี เราจึงได้กำหนดโครงการในการพัฒนาขึ้นมาภายใต้หลักการสำคัญอย่าง Smart Nation ล้อไปตามกรอบแนวคิดของ NDI (National Digital Identity)

Digital ID

ของประเทศ และสื่อสารให้ประชาชนในสิงค์โปรเข้าใจ ซึ่งทั้ง 6 โครงการที่เราสร้างขึ้นจะเริ่มตั้งแต่แรกเกิด ไปจนถึงการสิ่งที่ประชาชนจะได้ใช้ในชีวิต ประจำวัน ซึ่งตอบโจทย์เรื่องของครอบครัว กล่าวคือเมื่อประชาชนของเรามีครอบครัว และมีบุตร ก็จะสามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ที่จะเกี่ยวข้องกับบุตรของตนเอง

ไม่ว่าจะเป็น การจดทะเบียนการเกิด การเข้ารับสิทธิในการฉีดวัคซีน หรือการขอเข้าใช้บริการจากสถานพยาบาล ก็สามารถจองผ่านทางช่องทางออนไลน์ หรือแอพพลิเคชั่น ซึ่งสามารถใช้มูลทางดิจิทัลในการยืนยัน และรับรองตัวตน ขณะที่ในแง่ของความสะดวกสบายในการชำระเงินเราก็สร้างสิ่งที่เรียกว่า Smart Nation Sensor Platform ขึ้นมา

เพื่อเชื่อมโยงทุกธุรกรรมทางด้านการเงิน ทำให้ประชาชนสามารถจ่าย หรือโอนเงิน ได้ผ่านช่องทางออนไลน์ผ่านแฟลตฟอร์มต่าง ๆ หรือใช้จ่ายผ่านระบบคิวอาร์ โค้ด (QR Code) และยืนยันตัวตนผ่าน Mobile ID ที่ผูกไว้กับเบอร์โทรศัพท์ ที่สามารถตรวจสอบย้อนกับได้จากผู้ให้บริการ และสร้างความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยของข้อมูล

โดยเราเริ่มต้นจากเชื่อมโยงบริการต่าง ๆ ของรัฐผ่านแฟลตฟอร์มกลาง และเปิดให้ประชาชนเข้าใช้โดยการใช้การยืนยันผ่านเลขบัตรประจำตัวประชาชน โดยในปัจจุบันการเข้าใช้สิทธิดังกล่าวได้อยู่ระหว่างการเดินหน้าขยายการเชื่อมโยงข้อมูลให้สามารถใช้ได้กับภาคเอกชน เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ

ก่อนที่จะต่อยอดไปสู่การใช้บัตรแบบดิจิทัล (Digital Id) กับทุกบริการของรัฐ ผ่านทางระบบที่จะสามารถอ่านการ์ดต่าง ๆ ทั้งหมด ภายใต้ในแฟลตฟอร์มเดียวกัน แต่ออกแบบภายใต้ พรบ.ป้องกันคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยให้ประชาชนที่เป็นเจ้าของ ไอดี เป็นผู้กำหนดสิทธิ์ ในการอนุญาติในการเข้าถึงข้อมูล

เพื่อป้องกันผู้ให้บริการในฝั่งของเอกชนนำเอาข้อมูลไปใช้โดยที่ประชาชนไม่ยินยอม ซึ่งแน่นอนเมื่อระบบไอดีต่าง ๆ ก้าวไปสู่การเชื่อมโยงด้วยเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ (Public Key Infrastructure หรือ PKI) ที่เมื่อทำงานร่วมกับเทคโนโลยีระบบรหัสแบบกุญแจสาธารณะ (Public Key Cryptography หรือ PKC)

Digital ID

ซึ่งประกอบด้วยกุญแจ 2 ดอก คือ กุญแจส่วนตัว (Private Key) และกุญแจสาธารณะ (Public Key) โดยที่บุคคลหรือเอ็นทิตี้หนึ่งๆ จะมีกุญแจทั้ง 2 ดอกดังกล่าว ก็จะสร้างที่ก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในการระบุถึงความเป็นเจ้าของกุญแจสาธารณะว่าเป็นของบุคคลนั้นจริง

ก็จะทำให้การชำระเงินสามารถทำได้ระหว่าง Human to Human หรือ B to B โดยไม่ต้องเดินทางไปธนาคารก็ทำได้ในทันที นอกจากนี้สิงคโปร์ยังมีการยุทธศาสตร์เพื่อทำให้เกิดการขายระหว่างองค์กรภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นราชการ หรือเอกชน  เชื่อมไปถึงประชาชน (Business to Business to Customer หรือ B2B2C)

ผ่านการเชื่อมโยงให้ธุรกิจต่าง ๆ ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลลูกค้าผ่าน Digital Id ได้ เมื่อประชาชนทำการระบุตัวตนด้วยระบบดิจิตอลก็สามารถใช้บริการของภาคธุรกิจได้ทันที เพราะตลอดช่วงที่ผ่านมาทางรัฐบาลสิงค์โปรเองก็พัฒนาเรื่องของเทคโนโลยีทางด้านการเงินที่ปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้ใช้

โปร่งใส และตรวจสอบพิสูจน์อัตลักษณ์ตัวตนได้ผ่านกระบวนการในการรู้จักลูกค้า (Know Your Customer หรือ KYC) เป็นรายบุคคล รวมไปถึงภาคธุรกิจ ที่เรากำลังสร้างระบบที่เรียกว่า “เครดิต” (Credit) ที่แม่นยำด้วยการอาศัยข้อมูลของรัฐ (MyInfo)

เช่น ชื่อ, นามสกุล, ข้อมูลติดต่อ, ที่อยู่, การศึกษา, รายได้, การครอบครองรถ, ที่อยู่อาศัย, ไบโอแมทริกซ์ ร่วมไปถึงลายเซ็นต์ดิจิทัล (Digital Signature) ซึ่งช่วยให้ ธุรกิจขนาดเล็ก (SME) ใช้ข้อมูลนี้เปิดใช้บริการต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้รัฐบาลยังมีแผนที่จะพัฒนาระบบ Digital Identity บนโทรศัพท์มือถือ หรือ Mobile ID

Digital ID

ร่วมไปถึงการสร้าง พอร์ทัล (Portal) กลางที่ให้พาทเนอร์ทั้งมีเป็นผู้ที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี หรือนักพัฒนารุ่นใหม่ มีพื้นที่ตรงกลาง หรือ แซนด์บ็อกซ์ (Sandbox) ที่จะช่วยให้นักพัฒนาภายนอก เข้าถึงข้อมูลที่จะสามารถนำไปพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ในอนาคตอีกด้วย

“สำหรับประเทศไทยเรื่องของการสร้างระบบ Digital ID นั้น รัฐจะต้องสร้างระบบที่ง่ายในการใช้งาน และเชื่อมโยงบริการต่าง ๆ เข้ามาไว้จุดเดียว ที่ผู้บริโภคสามารถใช้เพียง ID เดียว ในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับตัวเค้าได้โดยไม่ต้องยุ่งยากใช้เอกสารอย่างในอดีต แต่ใช้ข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบแล้วจากหลายชุดเครื่องมือหลาย ๆ แบบ”

สร้างองค์กรกลางที่จะเป็นผู้เชื่อมโยงตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ

Digital ID

Mr.Ng Kang Siong Principal Researcher of Information Security Lab MIMOS, Malaysia กล่าวว่า การสร้างการระบุอัตลักษณ์ และคุณลักษณะของบุคคล (Identity) ทางดิจิทัล (Digital Identity) ประเด็นที่สำคัญคือความสามารถในการที่ยืนยันได้ว่าข้อมูลต่าง

ที่จะแสดงความเป็นตัวตนของบุคคลนั้น ๆ มีความแม่นยำขนาดไหน และที่มาของข้อมูลนั้นมาจากแหล่งข้อมูลนั้นมาจากไหน ดังนั้นในประเทศต่าง ๆ จึงได้เริ่มองค์กรกลางที่จะเป็นผู้เชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ จากหลาย ๆ แหล่ง เพื่อสร้างกระบวนการในการใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด และลดค่าใช้จ่ายที่แต่หน่วยงานจะต้องลงทุนไปได้อีกมาก

ที่ประเทศมาเลเซียเป็นประเทศแรกบนโลก ที่มีการพัฒนา และจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน แบบสมาร์ทการ์ด แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเริ่มง่ายเพราะในปี 2001 ที่เราเริ่มที่จะปรับเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนไปเป็นแบบสมาร์ทการ์ด ก็ต้องเจอกับปัญหาเรื่องของอุปกรณ์ที่จะมาใช้อ่านข้อมูล รวมไปถึงการเก็บรวบร่วมข้อมูลทั้งหมดให้ไปอยู่ในบัตร

ทั้งหมดเมื่อประเมินแล้วพบว่าจะใช้งบประมาณในการลงทุนค่อนข้างสูง เราจึงคิดที่จะปรับไปใช้ระบบใหม่ที่ดีกว่า โดยมีหน่วยงานที่มีชื่อว่ากรมจดทะเบียนแห่งชาติ (Functions of National Registration Department Jabatan Pendaftaran Negara หรือ JPN) ขึ้นมา โดย JPN จะทำหน้าที่ในการเก็บรวบร่วมข้อมูลของบุคคล

และเป็นหน่วยงานที่จะออกใบรับรองการลงทะเบียนข้อมูลของบุคคล ตั้งแต่ใบแจ้งเกิด ใบสูติบัตร และทำหน้าที่ในรักษาทะเบียนถาวร รวมไปถึงสร้าง พรบ. ข้อบังคับในการใช้การลงทะเบียน (National Registration Act 1959) ซึ่งเมื่อเข้าสู่ระบบก็จะสามารถใช้ ไอดี

Digital ID

ทั้งในส่วนของบริการทางด้านการเงิน เช่นการเปิดบัญชี หรือใช้เพื่อสมัครเข้าเรียนในสถานศึกษาได้ โดยหมายของเราคือการการสร้างระบบนี้ให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ในการให้บริการประชาชน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งหากหากทำบัตรหายก็เพียงเดินทางไปแจ้งเขตเพื่อขอทำบัตรใหม่

แต่ไม่ต้องใช้เวลานาน เพราะข้อมูลมีอยู่แล้วภายในระบบ ซึ่งการทำแบบนี้ช่วยให้กระบวนการในการที่ประชาชนจะติดต่อกับหน่วยงานรัฐง่าย และสะดวกมากขึ้น รวมถึงลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลงได้ โดยเราเรียกว่าระบบ Over the Counter ที่เพียงแค่ประชาชนยื่นบัตรสมาร์ทการ์ดให้ที่เคาเตอร์บริการที่มีเครื่องอ่านการ์ด

ก็จะใช้บริการได้ทันที และหากต้องการความปลอดภัยก็ใช้ร่วมกับเครื่องอ่านลายนิ้วมือ หรือจะใช้ร่วมกับการเปรียบเทียบตัวจริงกับรูปหน้าบัตรประชาชนด้วยสายตาของเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้มาเลเซียยังได้พัฒนาระบบ Mine Crad ซึ่งใช้ Template ของระบบสแกนลายนิ้วมือในการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ

เพื่อใช้ในการทำธุรกรรมการเงินได้ทันทีที่หน้าเคาน์เตอร์ ซึ่งเป็นระบบเดียวกันกับที่มสงรัฐบาล และธนาคารในมาเลเซียใช้อีกด้วย ซึ่งทำให้ง่ายในการที่จะใช้เพียงบัตรใบเดียวกับหลายกิจกรรม แต่แน่นอนว่าเมื่อโลกวันนี้การทำธุรกรรมมักจะอยู่บนโลกออนไลน์ ทำให้เกิดคำถามว่าเราจะพิสูจน์ตัวตนทางออนไลน์ได้ย่างไร

เราอาจจะให้ระบบจากผู้ให้บริการที่มีในตลาด แต่ก็ไม่มีใครบอกได้ว่าระบบดังกล่าวดีพอ ฉะนั้นตำตอบก็คือต้องสร้างระบบในการตรวจสอบขึ้นมาเองโดยสร้างองค์กรกลางขึ้นมาเพื่อสร้างมาตรฐานที่เป็นศูนย์กลาง โดยมีผู้ตรวจสอบ และรับรองข้อมูล

Digital ID

และทำการเชื่อมโยงกับผู้ให้บริการทางด้านโทรคมนาคม ในการใช้ Mobile ID เพื่อ ยืนยันอีกทาง รวมไปถึงใช้ Digital Signature Act 1997 ในการยืนยันการทำ ธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ ที่รวมถึงการยืนยันคู่กรณีอีกทาง ซึ่ง มาเลเซีย จึงได้นำระบบ Digital ID เข้ามาใช้เป็นระบบหลัก

ซึ่งการที่เข้าใช้ผู้ใช้จะต้องล็อคอิน เข้าไน แอพพลิเคชั่น ที่เรียกว่า My Digital ID App โดยใช้ Digital ID และ QR code เป็นตัวยืนยันในการเข้าใช้ โดยระบบนี้จะเป็นระบบเปิดที่หลาย ๆ ภาคส่วน สามารถเข้ามาใช้ร่วมกันได้ ไม่ใช่แค่ในประเทศมาเลเซีย

ซึ่งในอนาคตเราตั้งเป้าให้ระบบนี้สามารถนำไปใช้ทั่วโลก หลังจากนั้นจะพัฒนาให้ภาคอุตสาหกรรม หรือภาคเอกชนสามารถใช้งานได้ และการสร้าง Digital Id ให้เป็นระบบอัตโนมัติ จะทำให้เราได้เปรียบในการสื่อสาร และเชื่อมต่อข้อมูลต่าง ๆ ภายในองค์กรสะดวกและรวดเร็ว

ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็มีในการบริหารจัดการเอกสารที่เป็นทางการทั้งหมด ทำให้การที่จะเข้าไปดูข้อมูลต่าง ๆ ที่รัฐบาลจัดเก็บ และนำมาใช้การติดต่อราชการ หรือทำธุรกรรมต่าง ๆ  

Digital ID

“ประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างองค์กรกลางที่จะเป็นผู้เชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ จากหลาย ๆ แหล่ง เพื่อสร้างกระบวนการในการใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด และลดค่าใช้จ่ายที่แต่หน่วยงานจะต้องลงทุน ซึ่งหากทำได้จะสร้างความเชื่อมั่น และนำข้อมูลสามารถนำไปสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อประชาชนภายในประเทศ”

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่