DITP ออกโรงแนะ 2 แนวคิดให้แก่ สตาร์ทอัพไทย เผย ปัญหา และประสบการณ์ คือกุญแจธุรกิจสู่ยูนิคอร์น ที่ใช้สร้างธุรกิจให้เจริญเติบโตได้…

highlight

  • การพัฒนาโมเดลธุรกิจให้มีความแตกต่างสามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ รวมถึงการจับคู่ธุรกิจ และดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาร่วมลงทุนกับสตาร์ทอัพไทย ดังนั้นการเริ่มต้นทำสตาร์ทอัพ สิ่งสำคัญจะต้องเข้าใจกลุ่มลูกค้า เข้าใจกระบวนการในการพัฒนาเรื่องของสินค้า และผู้ประกอบการต้องไม่ย่อท้อ

DITP ออกโรงแนะ 2 แนวคิดให้สตาร์ทอัพไทย

หลายคนคงได้ยินคำว่า สตาร์ทอัพ (Startup) กันมาเป็นระยะเวลาพอสมควร ซึ่งขณะนี้ในบ้านเรา ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างกำลังผลักดันให้ธุรกิจดังกล่าวสามารถสร้างทั้งมูลค่า และสร้างการยอมรับให้เกิดขึ้นในตลาดโลก ทั้งด้วยการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ

การพัฒนาโมเดลธุรกิจให้มีความแตกต่างสามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ รวมถึงการจับคู่ธุรกิจ และดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาร่วมลงทุนกับสตาร์ทอัพไทย อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนอย่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม

ต่างก็ให้ความสำคัญกับธุรกิจสตาร์ทอัพไม่แพ้กัน โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซียที่ทุกวันนี้มีนักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจลงทุนธุรกิจเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง จนสามารถพัฒนาสตาร์ทอัพให้ก้าวสู่ระดับยูนิคอร์น (สตาร์ทอัพที่มีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ) และก้าวสู่ตลาดอินเตอร์ติดตลาดได้หลากหลายราย

 

DITP

ล่าสุด กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DIPT) โดยสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่(NEA) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพไทยให้เติบโตได้อย่างไร้ขีดจำกัด จึงได้ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA 

ดำเนินการจัดโครงการ Pitch2Success  สานฝันสตาร์ทอัพไทยสู่สากล โดยมุ่งติดอาวุธสำคัญอย่าง การพิชชิ่ง Pitching ให้กับเหล่าสตาร์ทอัพ เพื่อสร้างทักษะที่ดีในการนำเสนอแผนธุรกิจ และสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการจัดตั้งและขยายธุรกิจได้มากยิ่งขึ้นในอนาคต

ทั้งยังได้มีการได้มีการจัดเสวนาในหัวข้อ “เคล็ดลับการทำสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จ” โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากวงการสตาร์ทอัพมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่งได้แชร์ข้อคิดดีๆไว้ได้แก่

 “ปัญหาคือที่มาของสิ่งใหม่”

DITP

รังสรรค์ พรมประสิทธิ์ ผู้สร้างสรรค์ และก่อตั้งแอพพลิเคชั่นคิวคิว แอพเพื่อคนไม่ชอบรอคิว กล่าวว่า กรพัฒนาแอพฯคิวคิว เกิดขึ้นจากการที่ไม่อยากเสียเวลารอคิวให้หมดไปอยู่หน้าร้าน เทคนิคง่าย ๆ ที่ฝากไว้ให้รุ่นน้องสตาร์ทอัพนำไปใช้ ก็คือ

ต้องรู้จักวิเคราะห์ปัญหาจากสิ่งใกล้ตัว ตีโจทย์ให้แตกว่าจะแก้ไขปัญหานั้นได้อย่างไร และที่สำคัญคือ คิดแล้วต้องลงมือทำ หาช่องทางในการนำนวัตกรรมมาช่วยพัฒนาระบบ มองตลาดที่รองรับให้กว้าง และไม่หยุดยั้งในการพัฒนาสินค้า และบริการ

สำหรับผมการเขียนโปรแกรม มันคือการแก้ปัญหาจากเมื่อก่อนเราพยายามจะแก้ปัญหาของคนอื่น ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจหลายๆอย่าง จนมาตอนนี้เราก็แก้ปัญหาเหมือนเดิม เพียงแต่มองที่ปัญหาของตัวเองเป็นจุดเริ่มต้น เอาเทคโนโลยีเข้ามาแก้

แล้วบังเอิญมันมีคนจำนวนมากที่มีปัญหาเหมือนเรา และมีคนพร้อมจะจ่ายเพื่อโซลูชั่นที่เราคิดเราทำขึ้นมา มันก็เลยเกิดเป็นธุรกิจ ทีนี้วิธีการและรูปแบบที่จะใช้มันคือโมเดลธุรกิจ เราจะให้มันโตไปทางไหน แบบไหน แบบที่เราเลือกเราเลือกวิธีแบบสตาร์ทอัพมันก็เลยเกิดแบรนด์คิวคิว ขึ้นมาแบบที่ได้เห็นกัน

หาสิ่งที่ชอบ หาตัวเองให้เจอเร็วที่สุด โฟกัสในเรื่องนั้น และลุยให้มันสุดๆ ไปเลย

ธุรกิจสตาร์ทอัพต้องสร้างคุณค่า และประสบการณ์ใหม่ๆ ให้แก่ลูกค้า

DITP

นพพล อนุกูลวิทยา ผู้ก่อตั้ง เทคมีทัวร์ TAKE ME TOUR ธุรกิจท่องเที่ยวแนวคิด Local Experience หรือประสบการณ์ร่วมกับชุมชน กล่าวว่า เทคมีทัวร์ ถือกำเนิดจากการเป็นคนชอบเที่ยวและไม่อยากเป็นลูกน้อง จึงริเริ่มก่อตั้ง เว็บไซต์ ที่เป็นตลาดกลางให้นักท่องเที่ยวมาพบปะไกด์ท้องถิ่น

ซึ่งบริษัทได้สร้างแพลตฟอร์มในการสร้างทริป ตั้งราคา และพาเที่ยวได้ด้วยตนเอง หรือที่เรียกว่า Local Expert ถ้าคุณรู้จักย่านที่คุณอยู่เป็นอย่างดี และ มีไอเดียพาเที่ยวก็สามารถเข้ามาสร้างทริปได้ฟรี เพราะเราเชื่อว่า “ใครๆก็พาเที่ยวได้” ส่วนในด้านนักท่องเที่ยวต่างชาติก็จะเข้ามาเลือกทริ

และจองออนไลน์ผ่านหน้าเว็บไซต์ได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เทค มี ทัวร์ มีโมเดลธุรกิจเดินตามแนวคิดแบบ Sharing Economy หรือเศรษฐกิจแบ่งปัน ซึ่งเป็นคอนเซปต์ใหม่ของโลกที่เราพยายามสร้างให้เห็นว่า Local Experience มันมากกว่าแค่การไปในที่ชุมชน หรือชนบทไกล ๆ

หรือการเที่ยวเมืองไทยอาจไม่ใช่เรื่องของวัดพระแก้ว หรือวัดอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องทั่วๆ ไปในชีวิตรอบๆ ตัวเราทั้งหมดเลย ด้วยคอนเซปต์นี้ทำให้เกิดความหลากหลายในกิจกรรมการท่องเที่ยวค่อนข้างมากขึ้น เปรียบเสมือนการสร้างคุณค่าและประสบการณ์ใหม่ๆให้กับลูกค้า 

จิตใจต้องพร้อม ต้องสู้ระดับหนึ่ง แต่ต้องชอบในสิ่งที่คุณทำเมื่อเห็นปัญหา และนำมาเพื่อแก้ไข

DITP

ด้าน ริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการศูนย์ Startup Thailand สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า การเริ่มต้นทำสตาร์ทอัพ สิ่งสำคัญจะต้องเข้าใจกลุ่มลูกค้า เข้าใจกระบวนการในการพัฒนาเรื่องของสินค้า และผู้ประกอบการต้องไม่ย่อท้อ ยกตัวอย่างจากทั้งคิวคิวและเทคมีทัวร์

กว่าที่จะประสบความสำเร็จในตลาดต่างประเทศและได้มาพูดบนเวทีนี้ได้นั้น เมื่อ 3-4 ปีที่แล้วเขาค่อนข้างทรหด ล้มแล้วลุกเสมอไม่ย่อท้อ นอกจากนี้ ไม่มีใครรู้ว่าในสิ่งที่เรากำลังทำมันจะประสบความสำเร็จหรือไม่ เพราะการทำสตาร์ทอัพส่วนใหญ่แล้วเป็นสิ่งใหม่ในตลาด

เราจึงต้องรู้จักเตรียมความพร้อม ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล เงินทุน เครือข่ายธุรกิจ แผนการทำตลาด ฯลฯอีกอย่างหนึ่งก็คือเราล้มเมื่อไหร่ก็ต้องลุกเสมอ เพราะว่าจะไม่มีใครเป็นไอดอลหรือเป็นตัวอย่างที่ดีให้เราได้ เราต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง ต้องทดสอบสมมติฐานเรื่อยๆอยู่เสมอ

และประเด็นสำคัญที่สุดก็คือ ปัญหาทุกอย่างมีทางออก ไม่มีเงินก็มีหน่วยสนับสนุน ไม่มีตลาดเราก็ต้องหาวิธีทำ Business Model ใหม่ขึ้นมา เพราะฉะนั้นปัญหาพวกนี้สามารถทำได้ แก้ไขได้ เพียงแค่อย่าเพิ่งยอมแพ้อะไรง่ายๆ

DITP

ขณะที่ นันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หรือสถาบัน NEA กล่าวว่า ภายใต้นโยบายส่งเสริมสตาร์ทอัพของรัฐบาล NEA ไม่เพียงแต่จะสนับสนุนในด้านองค์ความรู้ และการฝึกปฏิบัติการเท่านั้น

แต่ยังมุ่งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆที่มีความเชี่ยวชาญในการส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อให้กลุ่มดังกล่าวเติบโตได้อย่างเต็มที่ ทั้งด้วยการสนับสนุนเรื่องการระดมทุน การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ การพัฒนานวัตกรรม งานวิจัย และเทคโนโลยี การต่อยอดสู่เวทีต่างๆที่สามารถผลักดันให้สตาร์ทอัพก้าวสู่ระดับที่สูงขึ้น

โดยมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์ สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รวมถึงภาคเอกชนที่ประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพ

DITP

ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการไทยได้รับโอกาสในการต่อยอดธุรกิจไปสู่เวทีการค้านานาชาติได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการอบรมสัมมนาตลอดปีอีกกว่า 100 หลักสูตรที่จะช่วยส่งเสริมความสามารถผู้ประกอบการทั้งในด้านการค้าออนไลน์ การส่งออก ด้านการตลาดทั้งในและต่างประเทศ

รวมถึงไอเดียใหม่ๆในการทำธุรกิจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นแนวทางสำคัญในการยกระดับธุรกิจต่างๆในประเทศไทยให้มีมูลค่าสูงขึ้นและเติบโตได้อย่างเต็มกำลั

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่