depa

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า (depa) ลงพื้นที่ EEC ติดตามความคืบหน้าโครงการโครงการเปลี่ยนผ่านชุมชน และสถานประกอบการสู่ดิจิทัล…

highlight

  • สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ลงพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อติดตามความสำเร็จโครงการเปลี่ยนผ่านชุมชน และสถานประกอบการสู่ดิจิทัล พร้อมศึกษาดูงานความคืบหน้า และความสำเร็จของการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรม ทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต การให้บริการ และการตลาด เพื่อการยกระดับขีดความสามารถ การเพิ่มประสิทธิภาพ และมูลค่าเพิ่ม ทั้งภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากดีป้า
  • 2 บริษัทฯ ด้านการเกษตร ที่ได้รับการสนับสนุน ทุนจากดีป้าจากโครงการ depa Mini Transformation Voucher ขนผลงานร่วมแสดงความสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีเปลี่ยนธุรกิจสู่เกษตรอัจริยะ หรือสมาร์ท ฟาร์มมิ่ง (Smart Farming)

depa ลงพื้นที่ EEC ติดตามผลโครงการยกระดับชุมชน และผู้ประกอบการ

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจทัล กล่าวว่า ตามที่ ดีป้า มีมาตรการส่งเสริม และสนับสนุนผู้ประกอบการด้านดิจิทัล และให้การส่งเสริมและอุดหนุน (Funds) จึงได้พาคณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมผู้ประกอบการและกลุ่ม Startup ที่ได้รับทุนช่วยเหลือ และอุดหนุน Digital Transformation Fund  

และ คูปองดิจิทัล Mini Transformation Voucher  ณ บริษัท สุขสมบูรณ์น้ำมันปาล์ม จำกัด ผู้ผลิต และจัดจำหน่ายน้ำมันปาล์ม และ บริษัท เทวดา คอร์ป จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ด้านการเกษตร

เพื่อชมการสาธิตการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และร่วมเรียนรู้ และศึกษาแนวทางในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้การบริหารจัดการธุรกิจให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ

depa

ด้าน ฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า ด้วยนโยบายการทำงานร่วมกับภาคเกษตรและผู้ประกอบการที่ต้องการเปลี่ยนผ่านตัวเองและองค์กรไปสู่ดิจิทัล เราเชื่อมั่นในศักยภาพของเกษตรกรไทย ว่าจะสามารถประยุกต์ใช้ดิจิทัลได้

เพราะอินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีนวัตกรรม ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ทุกคนเข้าถึงโลกออนไลน์ได้ด้วยสมาร์ทโฟนในมือ เมื่อเราสร้างแพลตฟอร์มหรือเครื่องมือที่ดี มีประโยชน์ ให้เกษตรกร หรือ ผู้ประกอบการ ความสามารถในการควบคุมผลผลิต ลดต้นทุน เพิ่มรายได้

และสร้างมูลค่าให้กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ก็จะเกิดขึ้น ดังนั้น ดิจิทัลจึงไม่ใช่เรื่องของคนเมืองใหญ่หรือเป็นเรื่องไกลตัวคนต่างจังหวัดอีกต่อไป

depa

สำหรับ บริษัท เทวดา คอร์ป จำกัด จ.ฉะเชิงเทรา เป็นบริษัท Startup ด้านการนำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน มาใช้งานแบบครบวงจร ได้รับการสนับสนุนจาก เช่น ด้านการเกษตรความแม่นยำสูง การขนส่งทางอากาศแบบอัจฉริยะ โดยมีประสบการณ์ด้า อากาศยานขนาดเล็ก และระบบอากาศยานไร้คนขับ

ตลอดจนระบบไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และ Software ด้าน UAV กว่า 14 ปี ให้บริการโดรนด้านการเกษตร ประกอบไปด้วย โดรนสำหรับฉีดพ่นสารเหลวแบบต่างๆ โดรนหว่านเมล็ดพืช โดรนหว่านข้าว โดรนหว่านปุ๋ยชนิดเม็ด และโดรนสำรวจสุขภาพพืชด้วยกล้อง Multispectral 

depa

นอกจากนี้ ยังให้บริการวิเคราะห์สุขภาพพืชด้วยโดรน และเครื่องมือวัดทางการเกษตร บริการระบบสถานีตรวจวัดสภาพอากาศ เก็บค่าสภาพอากาศแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ทิศทางลม ความกดอากาศ และอื่นๆ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลวิเคราะห์การดูแลพืช

พร้อมระบบ Sofware และ Cloud Server สำหรับการใช้งาน รวมถึงบริการโปรแกรมบริหารจัดการด้านการเกษตรครบวงจร แบบฟาร์มอัจริยะ และบริการพัฒนาระบบขนส่งทางอากาศด้วยโดรน ได้รับทุนจากดีป้าในโครงการ depa Mini Transformation Voucher

depa

ขณะที่ บริษัท สุขสมบูรณ์ น้ำมันปาล์ม จำกัด เป็นบริษัทผู้ผลิต และจัดจำหน่ายน้ำมันปาล์มที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ ผ่านโครงการระบบบริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมัน RSPO และการขนส่งแบบอัจฉริยะ Digital Platform : Smart RSPO Palm Oil Plantation and Logistic Management 

ผ่านแอพพลิเคชั่น สุขสมบูรณ์ แอพพลิเคชั่นสำหรับการบริหารจัดการสวนปาล์ม ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยทำหน้าที่จัดการสวน บำรุงรักษา ตัดผลผลิต สรุปปริมาณผลผลิตและคาดการณ์ผลผลิตรอบถัดไป โดยใช้โทรศัพท์มือถือ (Smart Phone) เก็บข้อมูลบริเวณต้นปาล์ม ซึ่งเกษตรกรต้องเดินไปที่ต้นปาล์มและพิมพ์ข้อมูลผ่านแอพ

depa

จากนั้นข้อมูลต่างๆ จะถูกรวบรวม ก่อนส่งมายัง HUB กลางที่สำนักงานของบริษัทฯ โดยเทคโนโลนีดิจิทัลดังกล่าวที่ทางบริษัทนำมาใช้ในธุรกิจ สามารถแก้ปัญหาเกษตรกรขาดการบันทึกข้อมูลการจัดการสวนปาล์ม ปัญหาโรงสกัดฯ ขาดข้อมูลปริมาณวัตถุดิบผลปาล์มสด (FFB) ที่จะเข้าสู่ระบบการผลิต

และยังสามารถช่วยเกษตรกรให้ได้รับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตปาล์มให้ต่ำลง และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านแรงงานอีกด้วย โดยได้รับทุนจากดีป้าในโครงการ depa Digital Transformation Fund

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่