ประเทศไทยกำลังจะก้าวสู่ยุคสังคมไร้เงินสดเต็มรูปแบบในอีก ปี ภายใต้การเติบโตของมือถือสมาร์ทโฟน แต่เรากำลังก้าวสู่ยุคของการจ่ายเงินที่สะดวกมากขึ้นโดยการใช้ Bio-payment หรือ Biometric Payment …

highlight

  • ภาพรวมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Digital payment) ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปี 2561 มีการใช้บริการชำระเงิน และโอนเงิน ผ่านโทรศัพท์มือถืออย่างแพร่หลาย ข้อมูลเชิงสถิติชี้ให้เห็นชัดเจนว่า การใช้บริการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเติบโตเฉลี่ย 116% ต่อปี
  • ในปีที่ผ่านมามีจำนวนการใช้งานเพิ่มเป็น 89 รายการต่อคนต่อปี โดยการใช้ Digital payment ที่สูงขึ้นส่วนใหญ่ยังเป็นการใช้จ่ายด้วยเงินสด และจากสถิติยังพบปริมาณการใช้ Digital payment เติบโตถึง 83% นอกจากนี้ ยังพบว่าในปี 2559 มีการใช้งาน Digital payment จำนวน 3,205 ล้านรายการ
  • ประโยชน์ของการใช้จ่ายเงินแบบ ไบโอเมตริกซ์ เพย์เมนต์ คือผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจำรหัสลับ ไม่ต้องพกบัตร อุปกรณ์อื่น ๆ อย่างมือถือ แท็บเล็ต หรืออื่น ๆ เพื่อใช้จ่ายเงินอีกต่อไป

Bio-Payment มิติใหม่ของโลกการเงินที่มั่นใจได้ว่าปลอดภัย

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาคนไทยส่วนใหญ่ได้รู้จักและหันมาใช้จ่ายเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลายช่องทางมากขึ้น จากมาตราการกระตุ้นส่งเสริมของภาครัฐ อาทิ โครงการ “พร้อมเพย์” (Promptpay) เป็นนโยบายผลักดันระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ National e-Payment 

ที่ให้ประชาชนผูกเลขบัญชีกับเลขประจำตัวประชาชนหรือโทรศัพท์มือถือ เพื่อรับ/โอนเงินได้ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม หรือมีค่าธรรมเนียมน้อยกว่าการโอนผ่านธนาคารพาณิชย์  ด้านภาคเอกชน ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ได้ออกมากระตุ้นการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการเปิดการชำระเงินผ่านระบบ QR Code เป็นต้น

จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ระบุว่า ภาพรวมการชำระเงินของประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา รูปแบบการชำระเงินได้มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ Digital payment อย่างเห็นได้ชัด โดยตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปี 2561 พบว่าการใช้ Digital payment ของไทยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

Bio-Payment

โดยมีการใช้บริการชำระเงิน และโอนเงิน ผ่านโทรศัพท์มือถืออย่างแพร่หลาย ข้อมูลเชิงสถิติชี้ให้เห็นชัดเจนว่า การใช้บริการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเติบโตเฉลี่ย 116% ต่อปี ซึ่งหนึ่งในปัจจัยสำคัญ มาจากการขับเคลื่อนของหลายภาคส่วน ภายใต้แผน National e-payment Master plan 

ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบหลักในโครงการระบบพร้อมเพย์ และโครงการขยายการใช้บัตร อย่างไรก็ดี จากสถิติพบว่าการใช้ e-Payment ต่อประชากร ในปี 2559 มีการใช้งานจำนวน 49 รายการต่อคนต่อปี ในปี 2560 พบมีการใช้งานเพิ่มเป็น 63 รายการต่อคนต่อปี

และในปีที่ผ่านมามีจำนวนการใช้งานเพิ่มเป็น 89 รายการต่อคนต่อปี โดยการใช้ Digital payment ที่สูงขึ้นส่วนใหญ่ยังเป็นการใช้จ่ายด้วยเงินสด และจากสถิติยังพบปริมาณการใช้ Digital payment เติบโตถึง 83% นอกจากนี้ ยังพบว่าในปี 2559 มีการใช้งาน Digital payment จำนวน 3,205 ล้านรายการ

โดยในปี 2560 ที่ผ่านมา มีการใช้งานเพิ่มขึ้นเพิ่มเป็น 4,171 ล้านรายการ และในปี 2561 มีปริมาณการใช้งานเพิ่มสูงขึ้นเป็น 5,868 ล้านรายการ โดยตัวเลข Mobile Internet Banking มีอัตราการเติบโตสูงถึง 263% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาอีกด้วย

Bio-Payment

อนาคตของการจับจ่ายที่ปลอดภัยด้วยการพิสูจน์ตัวตน

ประโยชน์หลักของการใช้จ่ายเงินแบบ ไบโอเมตริกซ์ เพย์เมนต์ คือผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจำรหัสลับ ไม่ต้องพกบัตร อุปกรณ์อื่น ๆ อย่างมือถือ แท็บเล็ต หรืออื่น ๆ เพื่อใช้จ่ายเงินอีกต่อไป ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการจับจ่ายได้มากขึ้น และทำให้การจ่ายเงินสามารถทำได้รวดเร็ว และง่ายมากยิ่งขึ้นด้วย

นับเป็นการให้ประสบการณ์ในการจ่ายเงินที่ดีกว่ารูปแบบที่เคยมีอยู่เดิมให้กับลูกค้า และผู้ใช้งาน อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ที่ลูกค้าหรือผู้ใช้งานจะได้รับจะแตกต่างกันไปตามโหมดของการใช้งาน เช่น การใช้ลายนิ้วมือ ซึ่งเป็นโหมดที่เป็นทางเลือกในการจ่ายเงิน

แต่มีผู้ใช้งานจำนวนหนึ่งซึ่งมากถึง 15% มีปัญหากับการใช้ลายนิ้วมือในการจ่ายเงิน และบางส่วนไม่เชื่อถือการใช้งานโหมดดังกล่าว ทั้งนี้การก้าวสู่ยุคสังคมไร้เงินสดได้อย่างแท้จริงด้วยการนำ ไบโอเมตริกซ์ เพย์เมนต์ มาใช้งานจะต้องเผชิญกับความท้าทายด้านความปลอดภัย เพราะอัตลักษณ์ของแต่ละคนนั้นไม่ใช่ความลับ

และอาจจะมีการพยายามทำเลียนแบบเพื่อโจรกรรมขโมยการใช้จ่ายจากเจ้าขอตัวจริง ดังนั้นการพิสูจน์เพื่อให้บอกได้ว่าอัตลักษณ์นั้นเป็นของเจ้าตัวจริง ๆ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก ความถูกต้อง และการได้มาของข้อมูล ฺBiometric รวมถึงองค์ประกอบทางเทคโนโลยี

Bio-Payment

และการรักษาความลับของระบบข้อมูล เป็นสิ่งสำคัญมากในการทำระบบ ไบโอเมตริกซ์ เพย์เมนต์ ข้อมูลการจ่ายแบบ ไบโอเมตริกซ์ เพย์เมนต์เป็นข้อมูลไม่เป็นความลับ แต่เป็นข้อมูลที่แสดงรูปพรรณสัณฐานของบุคคลและต้องได้รับการปกป้องตามกฎหมายที่เกี่ยวกับความเป็นส่วนบุคคล สหภาพยุโรป หรือ EU ได้ให้แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้

เมื่อปี 2555 โดยแนะนำว่า ข้อมูล Biometric ควรได้รับการดูแลว่าเป็นข้อมูลที่มีความ Sensitive มากกว่าเป็นเพียงแค่ข้อมูลส่วนตัว ทั้งนี้เพื่อการใช้งานเทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดและเกิดประโยชน์สูงสุด กลุ่มธุรกิจธนาคารจำเป็นต้องมีการลงทุนหรือหาพันธมิตรด้าน Biometric authentication 

เพื่อสร้างบริการ Payment ที่มีประสิทธิภาพด้านการใช้งาน รวมทั้งมีความปลอดภัยสูงสุด เพื่อความเป็นผู้นำด้าน Payment ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์สำคัญที่ช่วยดึงฐานลูกค้าเข้าสู่ธนาคาร ด้วยการเร่งสร้างและเสริมแกร่งด้าน Customer biometric authentication รวมทั้งลงทุนในการอบรมภายใน

Bio-Payment

จับมือกับพันธมิตร เพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์ทาง Digital Business Ecosystem ของธนาคาร นอกจากนี้ ยังควรขยายการลงทุนด้านกระบวนการทำงานด้านเอกสารและการพิสูจน์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ทุกหน่วยงานในธนาคารพร้อมขยับเมื่อถึงเวลา

นอกจากนี้ ในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ  โดยเฉพาะอุตสาหกรรมค้าปลีก ควรเริ่มศึกษาการนำ ไบโอเมตริกซ์ เพย์เมนต์ มาใช้ เพราะในอนาคต เมื่อมีการใช้งานแพร่หลายมากขึ้น การเตรียมพร้อมออกแบบกระบวนการการจ่ายเงินให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย

ของลูกค้าแบบราบรื่น ไร้รอยต่อจะกลายเป็นแต้มต่อทางธุรกิจ ช่วยสร้างความแตกต่างในการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เพิ่มความรวดเร็ว ลดระยะเวลาในการจ่ายเงิน ลดต้นทุนพนักงานลงได้ในที่สุด

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณพชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่