Digital Disruption

SEAC เชิญ “ซับโรซ่า” ร่วมสะกิตเตือนผู้นำองค์กรไทย ลุกขึ้นเปลี่ยนแปลงองค์กรธุรกิจ รับมือ พายุการเปลี่ยนแปลงด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี (Digital Disruption) ด้วยแนวคิด “ใจเค้าใจเรา” (Empathy) สร้างทางรอดธุรกิจ…

ปลุก “ผู้นำ” เปลี่ยนองค์กรด้วยแนวคิด “ใจเค้าใจเรา” รับยุค Digital Disruption

มิสเตอร์ ไมเคิล เวนทูร่า ผู้ก่อตั้ง และซีไอโอ บริษัท ซับ โรซ่า (Sub Rosa) ที่ปรึกษาด้านการสร้าง และบริหารแบรนด์ให้กับธุรกิจ และองค์กรชั้นนำของโลก และผู้เขียนหนังสือ “Applied Empathy : The New Language of Lendership” กล่าวว่า ทางรอดของอค์กรในยุคที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีส่งผลกระทบ (Digital Disruption)

คือการที่องค์กรต้องสามารถต่อกรกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ ที่จะช่วยรั้งตำแหน่งผู้นำไว้ได้อย่างมั่งคง ยั่งยืน และต้องไม่ยึดติดกับ หลักการ วิธีการ กลยุทธ์ทางการตลาด และกลยุทธ์การขายแบบเดิม ๆ แต่ต้องสร้าง “ภาวะผู้นำ” หรือสร้าง “ผู้นำ” ที่ช่วยองค์กรก้าวสู่การเปลี่ยนแปลง (Transformation) 

ผู้นำขององค์กรที่ดีนั้นต้องตระหนักรู้อยู่เสมอเพราะ “โลกเปลี่ยนแปลงทุกวินาที” องค์กรในยุคนี้ค้องไม่ย่ำอยู่กับที่ แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องแสวงหาวิธีการ หรือแนวทางใหม่ ๆ โดยไม่ยึดติด และต้องเข้าใจ “ภาษาใหม่” ในแนวคิดของ “การเข้าใจแบบหยั่งรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่น” (Empathy) 

Digital Disruption

และรู้จักการนำเอาความเข้าใจแบบลึกซึ้งมาใช้ให้ถูกพฤติกรรม และถูกเวลา (Applied Empathy) ซึ่งแนวคิดของเรื่อง “ภาษาใหม่” นั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่

“Ability to Understand” กล่าวคือ ผู้นำขององค์กรในปัจจุบัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจ แบบที่เรียกว่ารู้ว่าถึงความรู้สึกของผู้อื่นอย่างท่องแท้ (Empathy) ผู้นำองค์กรต้องเข้าใจถึงความหมายในทุกด้าน ทั้งลูกค้า (Consumer) คู่แข่งทางธุรกิจ (Colleague) การบริหารงานภายในองค์กร (Yourseft) 

และบุคบากร หรือทีมงานในทุกระดับ (People) ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องโดยตรงหรือไม่ ก็ต้องเรียนรู้วิธีการทำงาน เพ่ื่อทำความเข้าใจในรูปแบบของวิธีการ กระบวนการ ว่าสิ่งใดคือสิ่งที่เหมาะสมที่สุด ผู้นำต้องรู้จักผ่านมุมมองของผู้อื่น เพื่อสร้างความเข้าใจในการสื่อสาร กับทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง 

Digital Disruption

ซึ่งเมื่อเข้าใจผู้อื่น ก็ทำให้เข้าใจสถานการณ์ และมีภาวะความเป็นผู้นำที่ดีขึ้น แก้ไขปัญหาได้ดีขึ้น และทำให้กลายเป็นผู้ที่สามารถแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนเป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายขึ้น และสร้างให้เกิดทีมงานที่มีประสิทธิภาพ คล่องตัว และเปลี่ยนแปลงองค์กรได้รวดเร็วมากขึ้น 

“Ability to Speak” ผู้นำองค์กรวันนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความสามารถในการนำข้อมูลที่เกิดขึ้นจากความเข้าใจสื่อสารออกไป หรือนำไปประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจ

ทั้ง 2 ส่วน ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างความเติบโตยั่งยืนให้องค์กร และสร้างปรากฏการณ์ขับเคลื่อนโลกได้ อย่างที่ จีอี (GE) กูเกิล (Google) แมริออท (Marriott) ไนกี้ (Nike) ไอจูน (iTunes) นิว บาลานซ์ (New Balance) องค์กรเพื่อการกุศล ชาน ซักเคอร์เบิร์ก อินนิชิเอทีฟ (Chan Zuckerberg Initiative) เป็นต้น

 

Digital Disruption

ด้าน อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ ศูนย์พัฒนาภาวะผู้นำ และผู้บริหารระดับสูง (South East Asia Center : SEAC) กล่าวว่า เราต้องการที่จะเดินหน้าสร้างแรงกระตุ้นให้ประเทศไทย ตระหนักถึงความรุนแรง และผลกระทบของโลกในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปมีส่วนในทุกมุม

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ผู้นำของงอค์กร ต้องลุกขึ้นมาเปลี่ยน โดยเมื่อเข้าใจเรื่องของ “ภาษาใหม่” ก็จะทำให้เห็นมุมมองใหม่ ๆ ซึ่งมุมมองใหม่ ๆ จะนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ ๆ คำตอบใหม่ ๆ ซึ่งล้วนจะนำไปสู่หนทางความสำเร็จในโลกยุคดิจิทัล ซึ่งทักษะความเป็นผู้นำนี้ ผู้นำสามารถเรียนรู้ได้ ฝีกฝนได้ เพียงแต่ต้องเปิดใจเรียนรู้

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุประสงค์มุ่งเพื่อโจมตีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Digital Content)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่