Cyber Attack

พิษภัยของการโลกานิวัฒน์อินเทอร์เน็ต (de-globalisation of the internet) กำลังเกิดขึ้นพร้อมภัยทางไซเบอร์ (Cyber Attack) เมื่อโลกอินเทอร์เน็ตได้ใกล้ถึงจุดจบ…

ภัย Cyber Attack ที่มาพร้อมการแตกแยกของ Internet

การแบ่งแยก และแตกแยก !! สิ่งเหล่านี้อาจจะฟังดูเหมือนเป็นเรื่องที่ฟังดูคุ้นเคย และเราเข้าใจกันว่า แนวคิด และวัฒธรรม ศาสนา อาจจจะทำให้คนที่มีความคิดความเชื่อที่แตกต่างกัน ไม่ยอมรับในอีกฝ่าย ที่คิด และเชื่อต่างกับตนเอง แต่ก็มีความพยายามที่จะอยู่ร่วมกันอย่างปราณีประนอมมากที่สุด (เท่าที่ทำได้)

และเมื่อโลกก้าวสู้ยุคของ อินเทอร์เน็ต (Internet) มนุษย์ต่างมองว่านี่คือ ย่างก้าวที่สำคัญ ของการลดช่องว่าง ลดความขัดแย้ง สร้างโอกาสให้คนเชื่อมโยงเข้าหากันมากขึ้น ซึ่งรวมไปถึงเป็นโอกาสที่สำคัญในการสร้างเศรษฐกิจ (Economy) ของประเทศเติบโตมากขึ้น

ซึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าการเชื่อมโยงกันของมนุษย์ผ่านอินเทอร์เน็ต ได้ทำให้เกิดธุรกิจใหม่ และวิธีการใหม่ๆ ในการสื่อสาร รวมไปถึงทำให้อุตสาหกรรมนั้นเติบโตขึ้นอย่างเท่าทวีคุณ และส่งผลให้เกิดเปลี่ยนแปลงโครงสร้ำงเศรษฐกิจโลกจากที่เน้นภาคอุตสาหกรรมมาสู่ภาคบริการมากขึ้น

แน่นอนว่าเมื่อมีข้อดี ย่อมที่จะมีผลเสียตามมาด้วยเช่นกัน เพราะการที่มนุษย์เชื่อมโยงกันผ่านโลกของอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้ห่วงโซ่มูลค่ำโลก (Global value chain) มีแนวโน้มสั้นลง โดยบริษัทข้ามชาติจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีแนวโน้มย้ายฐานการผลิตกลับประเทศมากขึ้น และทำให้การพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศลดน้อยลง

ทำให้หลายประเทศที่เจริญแล้วประสบปัญหาจากที่เคยมีรายได้มาก กลับมาเหลือรายได้เข้าประเทศน้อยลง หลายๆประเทศทั่วโลกจึงเริ่มที่กลับมาตั้งกฏ หรือออกกฏเชิงนโยบายชาตินิยม เพื่อปกป้องตนเอง อย่าง America First ขึ้น ด้วยการกีดกันทางการค้า ทั้งหมดเพื่อฉุดรั้งกระแสโลกำภิวัตน์ (Deglobalization) นั่นเอง

De-globalisation of the internet

Cyber Attack

ซึ่งนั่นรวมไปถึงการปกป้องระบบเทคโนโลยีต่าง ๆ ของตนเองด้วยเช่นกัน วันนี้หลายประเทศกำลังสร้างแนวป้องกันไซเบอร์ของตน และแยกตัวเป็นอิสระจากกัน ซึ่งอาจจะส่งผลดีกับบางประเทศในบางแง่มุม แต่หารู็ไม่ว่า การแบ่งแยกดังกล่าวนั้นทำให้อาชญากรไซเบอร์นั้นได้ประโยชน์ เพราะมีอิสระในการปลดปล่อยภัยคุกคามทั่วโลกได้ง่ายขึ้น

ซึ่ง ยูจีน แคสเปอร์สกี้ แลป ผู้ก่อตั้ง และซีอีโอของ แคสเปอร์สกี้ แลป เคยได้ให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจว่า วันนี้ บราซิล และเยอรมนีกำลังพิจารณาและอาจจะเริ่มดำเนินการตั้งหน่วยงานอิสระด้านอินเทอร์เน็ตเพื่อสร้างเน็ตเวิร์กคู่ขนานที่แยกตัวจากอินเทอร์เน็ต สำหรับใช้สื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลความลับขั้นสูง

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายประเทศที่กำลังร่างนโยบายเพื่อให้บริษัทใหญ่ระดับโลกอย่างกูเกิ้ล และเฟซบุ๊กย้ายดาต้าเซ็นเตอร์ไปที่ประเทศนั้นๆ เพื่อป้องกันการสอดส่อง และการรุกล้ำข้อมูลจากภายนอกประเทศ

แนวคิดของเรื่อง “บอลข่านไนเซชั่น” (Balkanisation) และการปกป้องทางการค้า (Protectionism) ที่ประเทศต่างๆ กำลังดำเนินการอยู่นั้นจะไม่ก่อประโยชน์ให้ประเทศใดเลยนอกจากอาชญากรไซเบอร์เท่านั้น

Cyber Attack

โดย สเตฟาน นิวไมเออร์ กรรมการผู้จัดการ แคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้ให้ความเห็นถึงเรื่องดังกล่าว ภายในงาน ประชุมประจำปี Kaspersky Lab APAC Cyber Security Weekend ครั้งที่ 4 ที่จัดขึ้นที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ที่ผ่านมาว่า เมืองดิจิทัลระดับโลกที่ไร้พรมแดนในอุดมคตินั้นได้ใกล้ถึงจุดจบแล้ว

วันนี้หลายประเทศกำลังสร้างแนวป้องกันไซเบอร์ของตน โลกของอินเทอร์เน็ตที่ใช่ฟรีในตอนแรก กลับถูกแบ่งแยกเป็นอิสระจากกัน ซึ่งแม้ดูเหมือนเป็นผลดีกับบางประเทศ แต่นั่นหมายภึงโอกาสที่อาชญากรไซเบอร์ หรือเหล่าแฮกเกอร์จะได้ใช้ประโยชน์ ในการปิดกัน และปล่อยภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ ให้กับองค์กรธุรกิจทั่วโลก

ง่ายมากขึ้นเพราะไม่สามารถเชื่อมโยงเพื่อตรวจสอบระหว่างกันได้ นั่นเอง และอาจจะทำให้เรื่องที่หลาย ๆ องค์กร ต้องการให้เกิดขึ้นอย่างการใช้ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) หรือ Machine Learning มาเพื่อช่วยวิเคราะห์ข้อมูลงมีปริมาณมหาศาลระดับ (Big Data) หรือเพื่อเรียนรู็รูปแบบพฤติกรรมของเหล่าแฮ็คเกอร์

และสร้างสิ่งที่เรียกว่าการป้องกันแบบอัจริยะ (Security Intelligence) กลายเป็นเรื่องที่ทำได้ยากขึ้น เพราะไม่สามารถตรวจจับขั้นตอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากพอ ที่จะสามารถหยุดยั้งภัยคุกคามระดับสูงไม่ให้ทำอันตรายระบบได้ แบบทันท่วงที นั่นเอง

Cyber Attack

ด้าน วิทาลี คัมลุก ผู้อำนวยการทีมวิเคราะห์และวิจัยระดับโลก แคสเปอร์สกี้ แลป ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แสดงความเห็นว่า วันนี้จำนวนมัลแวร์ที่เราตรวจจับได้ในแต่ละวันนั้นมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น มีความซับซ้อนมากขึ้น และสามารถเข้าถึงเป้าหมายได้มากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา

อนาคตของอินเทอร์เน็ตมีความเปราะบาง และการที่ประเทศต่างๆ ก็เร่งเสริมกำลังป้องกันตัวเอง จะกลายเป็นสาเหตุให้เกิดวิกฤตที่เรียกว่า บอลข่านไนเซชั่น ขึ้น การแตกแยก เพื่อสร้างระบบป้องกันตนเองนี้ไม่ใช่เกราะที่สามารถใช้ป้องกันตัวจากภัยคุกคามจากอินเทอร์เน็ตในอนาคตได้

แต่จะทำให้ถูกพิชิตได้ง่ายขึ้นมากกว่าเดิม ทางออกที่ดีสุดคือต้องรวมตัวกัน ร่วมมือกัน และเชื่อใจกัน เพื่อขัดขวางอาชญากรไซเบอร์ที่กระทำการร้ายโดยไม่คำนึงถึงเส้นพรมแดนหรือภูมิศาสตร์การเมืองใดๆ ไม่ใช่เพื่อป้องกัน กลัวหวาดระแวงกันจนกลายเป็นช่องทางที่ง่ายต่อการโจมตี

Cyber Attack

ด้าน แอนทอน ชินกาเรฟ รองประธานฝ่ายกิจการสาธารณะและหัวหน้าสำนักงานซีอีโอของแคสเปอร์สกี้ แลป เองก็ได้ กล่าวเสริมว่า ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าภัยทางไซเบอร์กำลังเป็นอันตรายมากขึ้น อาทิ กลุ่มลาซารัส (Lazarus) กลุ่ม APT ที่ใช้โค้ดภาษาเกาหลีในการสื่อสารทำงาน ลาซารัสได้ปล่อยปฏิบัติการโจมตีซัพพลายเชนปลอมเพื่อส่งมัลแวร์ไปยังดีไวซ์ในระบบวินโดวส์และ MacOS

หรือการโจมตีของอุปกรณ์ประเภทโมบาย โยใช้มัลแวร์ชื่อ โรมมิ่ง แมนทิส (Roaming Mantis) ที่โจมตีโดยมีแรงจูงใจเป็นเม็ดเงินจากการแพร่กระจายมัลแวร์ไปยังสมาร์ทโฟนทั่วเกาหลีใต้ บังคลาเทศ และญี่ปุ่นผ่านการไฮแจ็ค DNS ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งหากทุกประเทศยังคงกลัวเรื่องของการเข้ามาล้วงข้อมูล จนสร้างระบบปิด ระหว่างกัน ความเสียหายน่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าที่เกิดขึ้นมาในอดีต

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่