SECUEiNFO

กลุ่มสามารถ (SAMART) ทุ่มงบ 200 ล้าน เปิดตัวบริษัทด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) ในชื่อ ซีเคียวอินโฟ (SECUEiNFO) ชูความสามารถในการตรวจจับภัยคุกคามด้วย AIจาก ไอบีเอ็ม ซีเคียวริตี้ (IBM Security) 

กลุ่มสามารถ ทุ่มงบ 200 ล้านบาท เปิดตัวบริษัท ซีเคียวอินโฟ (SECUEiNFO) ให้บริการด้านระบบรักษาความปลอดภัยอิเล็กทรอนิกส์ (Cyber Security) แบบครบวงจร IBM Security ผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีศูนย์เฝ้าระวังภัยคุกคามไซเบอร์

หรือ Cyber Security Operation Center (CSOC) นำระบบ AI ช่วย ตรวจจับ วิเคราะห์การโจมตีได้อย่างรวดเร็วแม่นยำสูงสุดเป็นรายแรกในประเทศไทย รองรับภัยคุกคามด้านไซเบอร์ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก

SECUEiNFO ประกาศพร้อมลุยธุรกิจ Cyber Security

 

SECUEiNFO

วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ด้วยการที่ปัจุบันโลกก้าวสู่ความทันสมัยมากขึ้นจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ตามกระแสของการเร่งเปลี่ยนแปลงองค์กรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยี (Digital Transformation)

แต่สิ่งที่ตามคือปัญหาเรื่องของภักคุกคามทางไซเบอร์ ที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ซึ่งภัยคุกคามทางไซเบอร์นี้ไม่ใช่เพียงเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กรเท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างเสียหายในทางเศรษฐกิจของประเทศได้อีกด้วย เพราะเป็นเรื่องของความเชื่อมั่นของนักลงทุนด้วย

แน่นอนว่าเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องใหม่ หลายธุรกิจในหลายๆอุตสาหกรรมนั้นเริ่มที่ตระหนักถึงภัยคุกคามทางไซเยอร์ และเริ่มมีการลงทุนในเรื่องของความปลอดภัยกันมากขึ้น จะเห็นได้จากเม็ดเงินในการลงทุนในเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้นกว่า 1 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐในปีที่ผ่านมา

ขณะที่ในประเทศไทยการลงทุนเรื่องการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์เฉพาะในปี 2561 แล้วกว่า 7 พันล้านบาท (ประมาท 240 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ซึ่งคิดเป็นการเติบโตเฉลี่ย 12% ทุกปี โดยลงทุนมากที่สุดคือการลงทุนในด้าน “บริการดูแลระบบรักษาความปลอดภัย” (Managed Security) มากที่สุด

ซึ่งจากเทรนด์นี้ กลุ่ม สามารถ จึงได้ลงทุนในการสร้างบริษัทฯใหม่ที่จะมาดูแลด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) ในชื่อ “ซีเคียวอินโฟ” (SECUEiNFO) ขึ้น โดยจะเป็นการให้บริการแบบครบวงจร ผ่าน 4 รูปแบบ ได้แก่

  • บริการเฝ้าระวัง แนะนำ และแจ้งเตือน (Managed Security Service) โดยทีมงานผู้เชี่ยยวชาญทางด้านการรักษความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งทางบริษัท ได้เซ็นสัญญาเป็นพาทเนอร์ (Exclusive Pertner) กับทาง IBM Security ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้บริการด้าน Cyber Security Solution ระดับโลก
  • บริการประเมินความเสี่ยง (Cyber Security Risk Assessment) ที่ครอบคลุมรอบด้าน
  • บริการให้คำปรึกษา (Cyber Security Consultant) โดยผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์
  • บริการศูนย์ฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ทางด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Security Education and Awareness)สำหรับองค์กรที่ต้องการยกระดับองค์ความรู้ทางด้านการป้องกันภัยคุกตามทางไซเบอร์ซีเคียวริตี้

ด้วยเทรนด์ของเทคโนโลยีที่มาพร้อมความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ บวกกับประสบการณ์จากมืออาชีพในด้านนี้โดยเฉพาะ และมี Partner อย่าง IBM ที่มีเทคโนโลยีอันดับต้นๆของโลกในธุรกิจนี้ บริษัท ซีเคียวอินโฟ จึงตั้งเป้าภายใน 1-2 ปี จะมีรายได้ประมาณ 50-100 ล้านบาท

จากลูกค้าของกลุ่มสามารถในกลุ่มภาครัฐก่อน และขยายไปสู่ภาคเอกชนต่อไป และจะก้าวสู่การเป็น TOP 3 ภายใน 5 ปี บนพื้นฐานของการเป็นส่วนหนึ่งในพลังที่สร้างสังคมดิจิทัลให้มีความปลอดภัยสูงสุดด้วย

SECUEiNFO

ด้าน ปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ได้ทวีความรุนแรง และวิธีการที่ลหากกลายมากขึ้นกว่าในอดีตมาก

และจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อโลกเริ่มสู่ยุคที่ทุกสิ่งสามารถเชื่อมต่อกันได้ผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet of things) โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2020 จะมีการลงทุนมากวว่า 20.8 พันล้าน เพื่อรองรับความปลอดภัยเมื่อทุกสิ่ง “things”

และจะเกิดการขโมยบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล(Personal Data Records Stolen) มากขึ้นถึง 5 พันล้าน และคาดว่าจะเกิดการสูยเสียคาใช้จ่ายจากการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีความถี่และความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น (Lost to Cybercrime) มากถึง 8 พันล้านเหรียญ

ขณะที่แรงกดดันด้านความปลอดภัยยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยองค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลกต้องเร่งปรับตัวให้ทันต่อการปฏิบัติตามข้อกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (General Data Protection Regulation หรือ GDPR)

เพื่อป้องกันการเสียค่าปรับหากไม่สามารถปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าได้ นอกจากนี้ เร่ืองของการขาดแคลนทักษะทางด้านซีเคียวริตี้ ของพนักงานภายในองค์กร จะทำให้ในปี 2022 เกิดงานที่ไม่ได้รับการปกป้องมากถึง 1.8 ล้านล้านรายการ

โดยเชื่อว่าจากแนวโน้มดังกล่าว จะทำให้องค์กรต่างๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลงทุนจากผู้ให้บริการทางด้านไซเบอร์ ซีเคียวริตี้ ในเรื่องของเครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อตามให้ทันวิธีการ หรือแนวโน้มการโจมตี ที่เปลี่ยนแปลงอยา่งรวดเร็วของนักโจรกรรมทางไซเบอร์

และจากการศึกษาถึงค่าใช้จ่ายในด้าน ไซเบอร์ ซีเคียวริตี้ ในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก เราพบว่าจะมีต้นทุนเฉลี่ยในเรื่องของปกป้องการละเมิดข้อมูล จะอยู่ที่ประมาณ 2.5 ล้านเหรียญ โดยคิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อการบันทึกเฉลี่ยอยู่ที่ 125 เหรียญ เลยทีเดียว

ซึ่งที่ผ่านมา ไอบีเอ็ม ได้พยายามอย่างยิ่งที่สร้างความแข็งแกร่งให้แก้องค์กรต่างๆ ทั่วโลก ผ่านความร่วมมือในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงการเข้าสนับสนุนทำให้เกิดศูนย์ย์เฝ้าระวังการคุกคามทางไซเบอร์ ( CSOC) ด้วย

ซึ่งเรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับทางกลุ่ม สามารถ ในการสร้าง CSOC ขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย โดยนอกจากการที่จะเป็นศุูนย์เฝ้าระวังภัยคุกคามแล้ว การที่ กลุ่มสามารถ มีแนวคิดในการช่วยฝึกอบรมองค์ความรู้ทางด้าน ไซเบอร์ ซีเคียวริตี้ ให้แก่องค์กรที่สนใจ จะช่วยให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนในภาพรวม

SECUEiNFO

ด้าน ชวลิต ทินกรสูติบุตร หัวหน้าฝ่ายเทคนิคด้านการให้บริการ Cyber Security บริษัท ซีเคียว อินโฟ จำกัด. กล่าวว่า ในส่วนการให้บริการ Managed Security Service เราได้เปิด ศูนย์เฝ้าระวังการคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Security Operation Center หรือ CSOC)

ที่เปิดให้บริการ 24 ชม. โดยใช้แนวทางเดียวกับศูนย์ CSOC ของ IBM ทั่วโลก พร้อมนำ Watson for Cyber Security ซึ่งเป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ของ IBM มาเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญในการช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาสาเหตุของภัยคุกคามเป็นรายแรกในประเทศไทย

เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังที่ครอบคลุมขึ้น และได้รับการแก้ปัญหาได้ถูกต้องและ รวดเร็วยิ่งขึ้น โดย CSOC ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่

  1. People มีบุคลากรที่มีความรู้ และประสบการณ์ ที่คอยเฝ้าระวังภัยให้กับลูกค้าตลอด 24 ชม.ทั้ง 7 วัน หรือ เรียกกว่า 24×7
  2. Process มีขั้นตอนการทำงานที่ได้มาตรฐาน เริ่มตั้งแต่ แยกแยะ (Identify) ตรวจจับ (Detect) ตอบรับ (Response) และปรับปรุง (Improve) ซึ่งเป็นแนวทางในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลในระดับสูงสุด
  3. Technology มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้าน Cyber Security ได้แก่ Watson (AI for Cyber Security)

โดย CSOC จะสร้างความคุ้มค่าสูงสุดให้กับองค์กรที่ใช้บริการ อาทิ องค์กรภาครัฐ กลุ่มธนาคาร กลุ่มพลังงาน กลุ่มธุรกิจขนส่ง รวมถึงองค์กรที่ใช้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ที่ผ่านทั้ง Smartphone และคอมพิวเตอร์โดยองค์กรผู้ใช้บริการไม่ต้องลงทุนในการจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังด้าน Cyber Security

ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีตลอดเวลา รวมถึงลดภาระในการสรรหาบุคลกรที่มีความชำนาญด้านนี้โดยตรง ที่สำคัญยังสามารถตรวจสอบ เรียกดูข้อมูลด้านความปลอดภัยได้ทันทีตามความต้องการของแต่ละองค์กรอีกด้วย

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี 
  หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่