Police ICT

วันนี้อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นช่องหลักของเด็กรุ่นใหม่ใช้เพื่อหาความรู้ และความบันเทิง ให้กับตัวเอง ซึ่งเนื้อหาบางอย่างอาจมาพร้อมความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทางแก้ของพ่อแม่ส่วนใหญ่คือการทำให้ตัวเองการเป็นเหมือนตำรวจทางเทคโนโลยี (Police ICT) เพื่อออกกฏควบคุมลูกหลานของตนเอง แต่นี่จะใช่ทางออกที่ดีที่สุดจริงหรือ?

พ่อแม่ยุคใหม่เลือกสวมบท Police ICT ขุมเข้มลูกหลาน

ความเสี่ยงในโลกออนไลน์ทุกวันนี้ไม่เพียงแต่จะก่อความปวดเศียรเวียนเกล้าให้แก่บรรดาผู้ปกครองเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเวลาที่บุตรหลานใช้ไปกับการออนไลน์ก็น่าเป็นห่วง ดังนั้น จึงพบว่าผู้ปกครองจำนวนไม่น้อย (หนึ่งในสาม) เลือกที่จะจำกัดเวลาใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อป้องกันอันตรายจากการท่องโลกออนไลน์

แต่ก็ยังมีวิธีอื่นที่ผู้ปกครองอีกไม่น้อยเลือกที่จะนำมาใช้เพื่อลดความเสี่ยง และยังเป็นการเปิดทางให้เด็กๆ ได้มีโอกาสใช้ประโยชน์จากสิ่งดีๆ ที่โลกดิจิทัลมีให้เลือกสรรได้ การที่คนรุ่นใหม่พึ่งพาการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมากนั้นทำให้หนึ่งในสามของผู้ปกครอง (33%) ที่เข้าร่วมการสำรวจข้อมูลกังวลใจอย่างมากว่าลูกหลานของตนจะเป็นคนติดเน็ต

ซึ่งสอดประสานกับตัวเลขที่ แคสเปอร์สกี้ แลป ร่วมกับ บีทูบี อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ทำการสำรวจข้อมูลไว้ พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวนหนึ่งในสิบ (12%) ติดการใช้อินเทอร์เน็ต และผู้ปกครอง (36%) กังวลการดูเนื้อหาไม่เหมาะสม และ (32%) กังวลเรื่องการติดต่อกับคนแปลกหน้า

Police ICT
ที่มา : Consumer Security Risks Survey 2017 by Kaspersky Lab

ดูเหมือนว่าการที่เยาวชนติดโลกออนไลน์ได้กลายมาเป็นข้อกังวลอันใหญ่หลวงของผู้ปกครองยุคนี้ไปเสียแล้ว ผู้ปกครองจำนวนเกินครึ่ง (51%) ที่รู้สึกถึงการคุกคามของภัยทางออนไลน์ต่อบุตรหลานของพวกเขา เด็กๆ มักใช้เวลาส่วนมากในโลกออนไลน์

จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะต้องสร้างเกราะป้องกันคุ้มภัยให้แก่เด็กๆ เวลาที่พวกเขาออนไลน์ ทำให้ผู้ปกครอง 33% เลือกที่จะใช้วิธีตั้งกฎเกณฑ์เรื่องเวลาที่เด็กๆ สามารถเล่นอินเทอร์เน็ตได้ อย่างไรก็ตาม การจำกัดเวลาก็มิใช่เงื่อนไขด้านความปลอดภัยของเด็กๆ เสียทีเดียว ในช่วงเวลา 12 เดือน

เยาวชน 44% เผชิญภัยคุกคามทางออนไลน์อย่างน้อย 1 ครั้ง และเด็กจำนวนหนึ่งในสิบ (12%) ดูเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับวัย และ (10%) ได้เข้าถึงซอฟต์แวร์ไวรัสอันตราย ดังนั้น ทางเลือกสำหรับผู้ปกครองคือ ควรสนับสนุนบุตรหลานของตนให้มีทางเลือกอื่นๆ เช่น การศึกษา การเรียนรู้ด้านต่างๆ เป็นต้น

พบว่า ผู้ปกครองจำนวนกว่าหนึ่งในสาม (37%) ใช้วิธีพูดคุยกับเด็กๆ เป็นประจำ เพื่อจะได้สอนความรู้เกี่ยวกับอันตรายที่มาทางออนไลน์ และผู้ปกครอง 31% พยายามที่จะอยู่กับเด็กๆ ด้วยในเวลาที่พวกเขาออนไลน์ เพื่อจะได้มีโอกาสชี้ให้เห็นถึงรูปแบบข้อมูลอันตราย สิ่งล่อแหลมยั่วยุต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นมา

Police ICT
ที่มา : Consumer Security Risks Survey 2017 by Kaspersky Lab

ดมิทรี อะเลชิน รองประธานฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์ แคสเปอร์สกี้ แลป  ได้ให้ความเห็นว่า การที่พ่อแม่ผู้ปกครองต่างต้องการปกป้องลูกหลายให้ปลอดภัย แต่การกีดกันการเข้าสู่โลกออนไลน์นั้นก็ไม่น่าที่จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ในทางกลับกัน การให้การศึกษา สร้างความเข้าใจ สื่อสารข้อมูลต่างๆ

น่าที่จะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เรามั่นใจได้ว่าเด็กๆ ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างรู้เท่าทัน และปลอดภัยในระดับหนึ่ง การลงซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยเพื่อการป้องกันอีกชั้นก็ย่อมเป็นสิ่งที่พึงกระทำเช่นกัน การจำกัดการท่องโลกออนไลน์เป็นส่วนสำคัญ หากคุณอยู่กับพวกเขาตลอดเวลา แต่วิธีจะใช้ไม่ได้เลยถ้าเด็กๆ อยู่คนเดียว

แต่เทคโนโลยีสามารถเป็นผู้ช่วยผู้ปกครองในการลดความเสี่ยงได้ เด็กๆ ยังได้ท่องโลกออนไลน์ สรรหาข้อมูล ความรู้ต่างๆ ที่เกิดประโยชน์ได้อย่างปลอดภัย และมีพัฒนาการทักษะดิจิทัลโดยไม่ต้องกังวลเรื่องภัยคุกคามทางออนไลน์
Kaspersky Safe Kids ได้รับการออกแบบเพื่อเป็นผู้ช่วยพ่อแม่ผู้ปกครอง

ในการเป็นเกราะป้องกันบุตรหลานจากอันตรายทางโลกออนไลน์ โซลูชั่นนี้มีฟีเจอร์ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกแอพพลิเคชั่น เว็บไซต์ให้บุตรหลานของตนได้ หรือเตือนให้เด็กๆ รู้ว่าสิ่งใดไม่ปลอดภัยได้ด้วยตัวเอง ผ่านการเตือนว่าแอพพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์ที่เด็กๆ กำลังจะเข้าไปนั้นมีความเสี่ยง หรือตอนเท้นท์ที่ไม่ดีงาม เป็นต้น

โซลูชั่น Safe Kids มีฟีเจอร์รองรับได้ตั้งแต่การกำหนดหรือจำกัดช่วงเวลา ไปจนกระทั่งติดตามเก็บข้อมูลกิจกรรมต่างๆ ที่เด็กๆ ดำเนินการเมื่อออนไลน์

และโซลูชั่น Safe Kids ยังสามารถจัดการดูแลป้องกันได้อีกหลายระดับขั้นตามความต้องการของผู้ปกครองเพื่อให้ความคุ้มครองบุตรหลานให้พ้นจากภัยคุกคามออนไลน์ที่มีอยู่ดาษดื่น และที่มาใหม่อีกมากมาย

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่