ในยุคที่มีข้อมูลเกิดขึ้นจำนวนมากและทุกคนต่างเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายดายเช่นนี้ คงไม่มีใครอยากให้ข้อมูลส่วนตัว หรือ Data Privacy เผยแพร่ไปถึงผู้ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง และยิ่งหากข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลความลับส่วนตัว จะต้องมั่นใจว่าข้อมูลดังกล่าว จะถูกเก็บรักษาเป็นอย่างดี

จากการเพิ่มของข้อมูลและจำนวน Devices อย่างก้าวกระโดด ทำให้ปัญหาด้านความเป็นส่วนตัวทั้งบุคคลและองค์กร มีอัตราที่เพิ่มขึ้นตามกระแสโลกดังกล่าว ซึ่งผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนและโซเชียลเน็ตเวิร์กส่วนใหญ่มักจะมองข้ามปัญหาความเป็นส่วนตัว และไม่ได้ให้ความสนใจอ่าน Privacy Policy ของผู้ให้บริการเท่าที่ควร

ซึ่งทำให้ข้อมูลของผู้ใช้บริการถูกนำไปประมวลผลและนำไปใช้ในเชิงธุรกิจโดยที่ผู้ใช้บริการไม่รู้ตัว ส่งผลให้เกิดปัญหา “ข้อมูลรั่วโดยเจตนา” เนื่องจากเราไปยอมรับ Privacy Policy ของผู้ให้บริการเอง และเราเองเป็นผู้ป้อนข้อมูลส่วนตัวของเราไปให้เขาวิเคราะห์เอง โดยที่เราไม่ทราบและไม่ระมัดระวังอย่างเพียงพอ

ดังเช่น Facebook เราเป็นผู้ป้อนข้อมูลต่าง ๆ นาๆ ให้กับเขา เรายินดีให้ข้อมูลด้วยสมัครใจ เมื่อเกิดเหตุข้อมูลรั่วไหล การจะเอาผิดก็เป็นเรื่องยาก ฉะนั้น ถ้าเราจำเป็นต้องใช้ Facebook จริง ๆ จะทำยังไงให้มันปลอดภัย  คำแนะนำหนึ่ง อ.ปริญญษ หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ที่ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อวิทยุคลื่นหนึ่งว่า

“คนไทยควรให้ความสนใจใน Data Privacy มากกว่านี้  ซึ่งก็ต้องเข้าใจก่อนว่า Facebook ไม่ได้สร้างถูกสร้างมาให้เราใช้ฟรี(ในความเป็นจริง) เพราะมันคือธุรกิจ เขาสามารถนำข้อมูลเราไปใช้โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตเรา”

สิ่งหนึ่งที่เราทำได้คือการเข้าไปตั้งค่า Facebook ให้มีความเป็นส่วนตัวที่สุดที่ เช่นการตั่งค่าโพส การตั้งค่าอัลบั้มรูปภาพ การตั่งค่าการแชร์ให้ใครเห็น หรือ ไม่เห็นโพสเรา รวมถึง Think before your post  และการตั่งค่าต่าง ๆ อีกหลายสิบอย่างที่ Facebook ออกแบบมาให้เราใช้  (แต่เราเคยใส่ใจขนาดไหน) คุณสามารถเข้าไปดูการตั่งค่าต่าง ๆ ได้ คลิ๊ก

เรื่องสำคัญต่อมาคือการไม่ใส่ข้อมูลใดๆ โดยไม่จำเป็น หลายคนใส่ทั้งประวัติการทำงาน เคยเรียนที่ใด ตำแหน่งที่บ้าน เบอร์โทรศัพท์ หรือแม้แต่เลขบัตรประชาชน ซึ่งก็ไม่เป็นไร หากข้อมูลยังไม่ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด แต่ควรตระหนักรู้ถึงสิ่งที่จะตามมาสักนิด

ทั้งนี้ข้อมูลผู้ใช้ Facebook  ที่รั่วไหลออกไป 90% เป็นผู้ใช้ในอเมริกา ทำให้เกิดการฟ้องร้องและเรียกค่าเสียหายหลายพันล้านจาก Mark Zuckerberg CEO ของ Facebook

อีกเคสที่พึ่งแถลงข่าวไปวันนี้คือ TrueMoveH โดยทรูยอมรับผิดว่าได้ละเลย ปล่อยให้ข้อมูลบัตรประชาชนของลูกค้าที่ลงทะเบียนซิมกับ iTrueMart หลุดเผยแพร่ต่อสาธารณะ ซึ่งก็ได้ออกมาตรการแก้ไขเพื่อให้ลูกค้าทั้ง 11,400 รายอุ่นใจ คือ  1.จะส่งเอสเอ็มเอส และอีเมลแจ้งเตือนไปยังลูกค้า ถึงมาตรการที่กำลังดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้กับลูกค้า 2 คุ้มครองสิทธิของลูกค้าในกรณีที่ข้อมูลอาจถูกนำไปใช้ผิดประเภท โดยได้แจ้งความไว้ล่วงหน้าแล้ว และ 3.ตั้งคอลเซ็นเตอร์ไว้ให้กับลูกค้าที่ปรึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะ โดยลูำกค้าทั้ง 11,400 รายสามารถโทรเข้ามาสอบถามโดยไม่เสียค่าบริการ

ก็นับว่าทรุแก้ไขปัญหาได้ดี แต่เหตุที่พึงคิดตามมาคือ ข้อมูลที่หลุดไปแล้วจะทำยังไง แล้วเหตุการณ์ลักษณะนี้จะเกิดขึ้นอีกไหม ความสะเพร่าของทรูที่ผ่านมาก็ไม่ได้มีแค่นี้ นี่เป็นอีกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วทำให้ผู้ใช้งานได้รับความเสียหาย ข้อมูลต่าง ๆ ที่หลุดไปไม่สามารถไปแก้ไขอะไรได้ เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเลขบัตรประชาชนได้ ทำได้แค่ระวังตัว

แน่นอนว่าผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ ไม่สามารถไปเอาผิดอะไรกับทรูได้ เพราะยังไม่มีกฎหมายรองรับในเรื่องนี้ (แหม ถ้าเป็นอเมริกาล่ะฟ้องมันเลยครับ)  สิ่งหนึ่งที่เราทำได้คือการเซ็นเอกสารให้สมบูรณ์ครบถ้วน ต้องระบุฉัดเจนว่าเอกสารนี้ใช้ทำเพื่ออะไร และไม่ให้เอกสารข้อมูลส่วนตัวกับใครง่าย ๆ ซึ่งนี่เป็นที่เราพอจะทำได้บ้างเพื่อปกป้องข้อมูลของตัวเราเอง

ทั้งนี้ทั้งนั้น ข้อมูลส่วนบุคคลนับเป็นเรื่องที่่จะต้องให้ความสำคัญอย่างมากในยุคดิจิทัลนี้ มิจฉาชีพจะพยายามทำทุกวิถึทางเพื่อเอาข้อมูลของคุณไปต่อยอดในการทำธรุกรรมต่าง ๆ ดังนั้นจงให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนตัวมาเป็นอันดับหนึ่ง

ติดตามข้อมูลด้าน Cybersecurity ได้ที่ >> Theleader.com