โดยปกติแล้วเวลาเราไปพบแพทย์ ขั้นตอนก็จะทำตั่งแต่รอคิว ซักประวัติ พบแพทย์ แล้วจ่ายยาตามคำสั่งแพทย์ แต่เราจะรู้ได้ไงว่ายานั้น หรือ รูปแบบการรักษานั้นเหมาะกับเราจริง ๆ หรือจะเป็นแค่ค่ามาตรฐานตามที่ถูกหนดไว้

ในที่นี้อยากขอยกเคสโรงพยาบาลแห่งหนึ่งที่ได้นำระบบไอทีขั้นสูงเข้าไปใช้งานภายในโรงพยาบาล แต่ขอออกตัวก่อนว่าไม่ได้จะโฆษณาให้กับโรงพยาบาล แต่เราอยากแชร์ข้อมูลของเทคโนโลยีด้าน Healthcare ว่าได้พัฒนาไปถึงขั้นไหนกันแล้ว

โรงพยาบบาลบำรุงราษฐ์ หลายคนคงคุ้นหู เพราะที่นี่ขึ้นชื่อเรื่องค่ารักษาที่แพงหูฉี่  แต่ในมุมที่แพงก็ได้มีการพัฒนาการรักษาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น   ล่าสุดในได้ร่วมมือกับ DellEMC โดยนำระบบโซลูชันระบบโครงสร้างแบบควบรวม (Converge Infrastructure Solution. มาใช้ดำเนินงานในห้องปฎิบัติการได้แบบอัติโนมัติ

โดยการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้งาน จะทำให้โรงพยาบาลสามารถเก็บข้อมูลคนไข้ผ่านอุปกรณ์เซ็นเซอร์แล้วนำไปวิเคราะห์วิธีในการรักษา พร้อมกับเก็บเป็นทะเบียนประวัติที่แพทย์สามารถดึงมาดูได้อย่างรวดเร็ว

อนึ่ง การเก็บข้อมูลและกำหนดวิธีการรักษาจะระบุเป็นเฉพาะเจะาะจงแค่คน ๆ นั้นคนเดียว โดยดูจากการลำดับพันธุกรรม ซึ่งโรงพยาบาลนี้สามารถทำได้ถึงขนาดนั้นแล้ว ซึ่งได้ให้ชื่อว่า” Personal Medicine Personal Treatment “

นั่นหมายความว่าการรักษาคนไข้ในแต่ละราย แพทย์จะระบุปริมาณยาเฉพาะ และให้ทางโรงพยาบาลผลิตยาออกมาตามปริมาณที่แพทย์สั่งเท่านั้น นั่นทำให้คนไข้ลดความเสียงที่จะทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการักษาออกไปมากทีเดียว

ถามว่าทำไมต้องทำถึงขนาดนี้ จริงๆ ทางโรงพยาบาลจะจ่ายสามารถจ่ายยาตามที่สาธารณสุขกำหนดค่ามาตฐานไว้ก็ได้ และถือว่าไม่ผิดด้วย แต่ในคนไข้แต่ละคนนั้นมีสภาวะร่างกายไม่เหมือนกัน ถึงแม้จะอายุเท่ากัน น้ำหนักเท่ากัน ทำให้ต้องการการรักษาที่เฉพาะเจาะจง

และในอนาคต ทางโรงพยาบาลจะเข้าสู่ยุคของ AI ที่ใช้สมองกลในการวิเคราะห์แนวทางการรักษาที่แม่นยำมากกว่าเดิม ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้มากขึ้น

นี่เป็นความใส่ใจที่โรงพยาบาลกำลังพัฒนา ซึ่งในประเทศไทยยังมีแค่เพียงรายดียวที่เคยเปิดเผยข้อมูลให้กับสื่อ ฉะนั้นใครมีประกันชีวิตก็ไปใช้โลดครับ แต่ถ้าจ่ายเงินสดก็อาจจะต้องกระเป๋าหนักกันนิดนึง

 

Personal Medicine