ไมโครซอฟท์จับมือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ขับเคลื่อนการปฏิรูปสู่ยุคดิจิทัลในภาคการผลิต โดยส่งเสริมการใช้ AI เป็นหัวใจหลัก…

highlight

  • ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ร่วมกับสภาอุต เชิญผู้ประกอบการจากภาคอุตสาหกรรมร่วมเปิดมุมมองการใช้เทคโนโลยี หลังมีองค์กรภาคอุตสาหกรรมเพียง 9% เท่านั้นที่นำ เอไอ เข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์หลักของธุรกิจ
  • 76% ของผู้นำธุรกิจภาคการผลิตมองว่า เอไอ จะเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนธุรกิจภายในช่วง 3 ปีข้างหน้า และอาจเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้นได้เกือบ 2 เท่า แต่มีเพียง 41% เท่านั้นที่ได้เริ่มนำ เอไอ มาใช้งาน
  • บริษัท อีแอนด์เอช พรีซิชั่น (ประเทศไทย) จำกัด นำเทคโนโลยีไอโอที และ เอไอ เข้าไปใช้ในโรงงาน จนสามารถลดเวลาการหยุดเครื่องจักรเพื่อตรวจสอบและซ่อมบำรุงลงได้ราว 11% และเพิ่มเวลาการผลิตได้เฉลี่ย 30 นาทีต่อเครื่องต่อวัน

ไมโครซอฟท์จับมือสภาอุตฯ เดินหน้าพัฒนาภาคการผลิต ด้วย AI

ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) เชิญผู้ประกอบการจากภาคอุตสาหกรรมมาเปิดมุมมองใหม่ในการนำภาคอุตสาหกรรมก้าวสู่ Industry 4.0 ในงาน CEO Envisioning Day เพื่อชูศักยภาพของ เอไอ เทคโนโลยีอัจฉริยะที่เป็นหัวใจสำคัญในการยกระดับการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

เพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจในยุคดิจิทัล โดยรายงานวิจัยร่วมระหว่างไมโครซอฟท์และไอดีซี ในหัวข้อ การเตรียมความพร้อมให้ธุรกิจเติบโตก้าวไกลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคด้วย ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ซึ่งศึกษาผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการผลิตทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ระบุว่า 76% ของผู้นำธุรกิจภาคการผลิตมองว่า เอไอ จะเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนธุรกิจภายในช่วง 3 ปีข้างหน้า และอาจเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้นได้เกือบ 2 เท่า แต่มีเพียง 41% เท่านั้นที่ได้เริ่มนำ เอไอ มาเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานในองค์กร

AI

ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เอไอ เป็นนวัตกรรมที่กำหนดทิศทางแห่งอนาคตของโลกธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรม แต่กลับมีองค์กรภาคอุตสาหกรรมเพียง 9% เท่านั้นที่นำ เอไอ เข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์หลักของธุรกิจแล้ว

ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ค่อนข้างน่ากังวล ท่ามกลางแรงกดดันจากการแข่งขันในตลาดที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้นำองค์กรในภาคการผลิตจึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนาความพร้อมในการนำเทคโนโลยี เอไอ มาใช้อย่างเต็มตัว เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการผลิต ที่จะต่อยอดไปสู่การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

ผลการสำรวจของไมโครซอฟท์และไอดีซีนี้ยังเผยว่า ธุรกิจภาคอุตสาหกรรมยังขาดความพร้อมในการประยุกต์ใช้ เอไอ ในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวัฒนธรรมองค์กร กลยุทธ์ทางธุรกิจ และข้อมูล ผู้ประกอบการจึงควรให้เร่งพัฒนาสิ่งเหล่านี้เพื่อไม่ให้ธุรกิจเสียเปรียบในการแข่งขัน

ด้าน ศักดิ์ณรงค์ แสงสง่าพงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่ภาคอุตสาหกรรมของไทยต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแนวคิด ปรับกลยุทธ์และวัฒนธรรมองค์กรให้เปิดรับการใช้เทคโนโลยีหรือแม้กระทั่ง เอไอ อย่างเต็มตัวและแพร่หลาย

รวมถึงการเปิดรับความร่วมมือกับธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกันเพื่อแบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูลให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันสำหรับทุกฝ่าย จนนำไปสู่การยกระดับธุรกิจภาคการผลิตในองค์รวมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและพร้อมสำหรับการแข่งขันในตลาดโลก

ทั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้จัดอบรมหลักสูตรสร้างเสริมศักยภาพผู้บริหารภาคอุตสาหกรรมไทยเพื่อก้าวสู่ยุคดิจิทัล หรือ eDIT (Executive Program in Digitalization Industry of Thailand) ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 โดยมุ่งหวังจะช่วยผลักดันและกระตุ้นการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Industry 4.0 อย่างจริงจัง

นอกจากนี้ สภาอุตสาหกรรมฯ ยังร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งในการพัฒนาหลักสูตรเฉพาะรวมถึงการสร้างโอกาสการฝึกงานให้กับนักศึกษา อันจะเป็นการพัฒนาแรงงานคุณภาพซึ่งมีทักษะจำเป็นต่าง ๆ ในยุคดิจิทัลเพื่อป้อนบุคลากรคุณภาพเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต

ขณะที่ ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบั กล่าวว่า การพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพเป็นส่วนสำคัญในการสานต่อกลยุทธ์ปฏิรูปธุรกิจให้กลายเป็นความสำเร็จที่จับต้องได้ ธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการปรับกลยุทธ์มุ่งสู่ยุคดิจิทัลยังต้องการพันธมิตร

ที่สามารถเปลี่ยนแผนงานให้เป็นระบบที่ใช้งานได้จริง ขณะที่พันธมิตรกลุ่มนี้ก็ต้องการบุคลากรที่มีคุณภาพเข้ามาทำงาน ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ควรต้องร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาบุคลากรคุณภาพ เพื่อสร้างระบบนิเวศทางเทคโนโลยีที่แข็งแรงให้กับประเทศไทย

นอกจากนี้ ภาคเอกชนเองก็ต้องปลูกฝังทัศนคติในเชิงรุกให้มากขึ้น และพยายามวางเป้าหมายให้องค์กรก้าวขึ้นไปแข่งขันกับผู้นำในอุตสาหกรรมของตนเอง เพราะการแข่งกับตัวเองในยุคที่ธุรกิจทั่วโลกมีโอกาสในการแข่งขันและเติบโตมากกว่าที่เคยคงไม่เพียงพออีกต่อไป

ในโอกาสนี้ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ได้นำเรื่องราวความสำเร็จของ บริษัท อีแอนด์เอช พรีซิชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (E&H Precision (ThailandCo., Ltd.) ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีฐานการผลิตอยู่ทั้งในไทย อินเดีย และเม็กซิโก มาเป็นตัวอย่างเพื่อสร้างแนวคิ

และแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการ หลังจากที่ทางบริษัทฯ ได้เริ่มนำเทคโนโลยีไอโอที และ เอไอ เข้าไปใช้ในโรงงาน จนสามารถลดเวลาการหยุดเครื่องจักรเพื่อตรวจสอบและซ่อมบำรุงลงได้ราว 11% และเพิ่มเวลาการผลิตได้เฉลี่ย 30 นาทีต่อเครื่องต่อวัน

อีแอนด์เอช พรีซิชั่น ยกระดับการผลิตด้วยเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์

AI

นาโอกิ ชิบาตะ (Naoki Shibata) ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนปฏิบัติการ บริษัท อีแอนด์เอช พรีซิชั่น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทเล็งเห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยีในการช่วยยกระดับขีดความสามารถ และประสิทธิภาพในการผลิตเราจึงตัดสินใจพัฒนาโซลูชัน ไอโอที และ เอไอ 

โดยเริ่มจากการศึกษาด้วยตนเองผ่านโปรแกรมการเรียนรู้ออนไลน์ของไมโครซอฟท์ ก่อนจะสร้างสรรค์นวัตกรรม ไอโอที บนแพลตฟอร์มคลาวด์ อาซัวร์ เพื่อแก้ปัญหาอย่างตรงจุด โดยระบบนี้จะใช้เซ็นเซอร์อ่านไฟแจ้งสถานะของเครื่องจักรในสายการผลิตเพื่อรายงานข้อมูลแบบเรียลไทม์ พร้อมส่งสัญญาณเตือนทันทีหากเกิดเหตุขัดข้อง

ที่ทำให้เครื่องจักรต้องหยุดทำงาน นอกจากนี้ พนักงานยังสามารถตรวจสอบสถานะปัจจุบันของเครื่องจักรแต่ละเครื่องได้จากทุกที่ ทุกเวลา ผ่านเว็บแอปพลิเคชันที่เข้าถึงได้จากอุปกรณ์ทุกรูปแบบอีกด้วย สำหรับการติดตั้งอุปกรณ์นั้น ใช้เวลาเพียงจุดละ 5 ที และสามารถดำเนินการให้ระบบพร้อมใช้งานได้ในเวลาเพียง 3 สัปดาห์เท่านั้น

ขณะนี้ อีแอนด์เอช พรีซิชั่น (ประเทศไทย) มีแผนที่จะขยายการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ให้ครอบคลุมเครื่องจักรครบทั้ง 800 เครื่องในประเทศไทย ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบ machine learning ที่วิเคราะห์ข้อมูลสถานะเครื่องจักรดังกล่าวเพื่อคาดการณ์ล่วงหน้าว่าเครื่องจักรเครื่องใดมีแนวโน้มที่จะต้องเข้ารับการซ่อมบำรุง

ซึ่งจะช่วยให้โรงงานสามารถวางแผนและตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงในสายการผลิตได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และลดช่วงเวลาการหยุดเครื่องจักรเพื่อซ่อมบำรุงให้สั้นที่สุด โดยอาจนำเสนอโซลูชั่นนี้ให้กับผู้ประกอบการรายอื่นที่สนใจได้นำไปใช้ เมื่อพัฒนาเสร็จสมบูรณ์แล้ว

AI

ขณะที่องค์กรธุรกิจทุกภาคส่วนจำเป็นต้องปรับตัวในยุคดิจิทัล เทคโนโลยี เอไอ และ ไอโอที จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตอีกต่อไป ทั้งทางด้านเทคโนโลยี และงบประมาณที่ไม่ได้จำเป็นต้องลงทุนเป็นจำนวนมหาศาลเหมือนเมื่อก่อน

สิ่งสำคัญคือผู้ประกอบการต้องกล้าคิดกล้าทำ และเร่งนำเอาเทคโนโลยีที่ดีที่สุดมาประยุกต์ใช้ให้ได้โดยเร็วเพื่อประโยชน์ในการเพิ่มผลิตผล และโอกาสในการแข่งขัน อันเป็นความท้าทายสำคัญในทุกธุรกิจ

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่