Robot

เมื่อไม่นาามานี้ใน บล็อก ของ บาส เด วอส ผู้อำนวยการ ไอเอฟเอส แล็บส์ ได้มีการเขียนเรื่องราวที่เกี่ยวกับการเข้าแทนที่มนุษย์ของด้วย “หุ่นยนต์” (Robot) ซึ่งมีแนวคิดที่น่าสนใจว่า เรื่องที่หลาย ๆ อุตสาหกรรมกลัวนั้นจะเกิดขึ้นจริง ๆ หรือไม่ 

Help! The Robot will work for us!

โดย มร.บาส เด วอส ได้ให้ความเห็นไว้ว่า เค้าไม่เชื่อว่า หุ่นยนต์ จะมาแทนมนุษย์ได้ แต่หุ่นยนต์ต่างหากที่จะมาทำให้มนุษย์ทำงานได้สะดวกมากขึ้น โดยเปลี่ยนในรูปแบบของวิธีการทำงาน และการเรียนรู้ ให้ดีกว่าเดิม ส่วนในเรื่องของความกังวลที่เกิดขึ้นมาจากกลุ่มคนที่ให้คำจำกัดตนเองว่าคือ “แรงงานสูงวัย”

หนึ่งในคำถามที่เกิดขึ้นในใจของ มร.บาส เด วอส ในวันที่มีประเด็นของการเข้าแทนที่มนุษย์ด้วยหุ่นยนต์ คือ ตนเองอยู่ในกลุ่มแรงงานสูงวัยหรือยัง แต่คำตอบคือเค้าไม่เชื่อว่ามีความหมายอะไรกับตัวเค้า หรือคนอีกมากมายที่มีงานทำในตอนนี้ เพราะงานที่ทำอยู่แม้อาจจะไม่มีอีกในอนาคต

แต่ไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดในเร็ววันจึงไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องที่จะว่างงานไหม หรือไม่ต้องกังวลจนเกินความจำเป็น แม้ว่าวันนี้จะมีหุ่นยนต์เพิ่มขึ้นมาก และมีการพูดถึงปัญญาประดิษฐ์ที่เข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ แม้ว่าจะเป็นเรื่อง และมีหลายอุตสาหกรรมนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้งานในโกดังสินค้า

Robot

เนื่องจากสามารถทำงานแทนคนขับรถที่เป็นมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ในภาคการผลิตก็เป็นเรื่องปกติที่จะเห็นสายการผลิตอัตโนมัติ และหุ่นยนต์ เข้าไปช่วยลดต้นทุนลดลง และเพิ่มความยืดหยุ่นมากขึ้น แต่ก็ยังมีบางเรื่องที่ต้องพิจารณา 

ไม่ว่าจะเป้นแนวโน้มความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างอายุเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นกับอายุเกษียณวัยที่ไม่สอดคล้องกัน ทำให้มีโอกาสสูงอย่างมากที่จะต้องทำงานนานขึ้นกว่าในทุกวันนี้ เพื่อที่จะทำให้ทั้งคนและเทคโนโลยีไปด้วยกันได้

ภายในปี 2 AI จะสร้างงานมากกว่าทำให้งานหาย

มร.บาส เด วอส ให้ความเห็นว่า สิ่งที่การ์ทเนอร์คาดการณ์ไว้ว่าภายในปี 2020 เอไอจะกลายมาเป็นตัวสร้างงานอย่างเบ็ดเสร็จ ทำให้เกิดงาน 2.3 ล้านตำแหน่ง ในขณะที่ทำให้ตำแหน่งงานหายไปเพียง 1.8 ล้านตำแหน่ง สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นอย่างไร

สิ่งนี้มันสะท้อนถึงความต้องการที่แตกต่างไปจากเดิม กล่าวคืองานในยุคถัดไปจะต้องการคนที่มีความแตกต่าง และมีคุณสมบัติมากขึ้นกว่าเดิม ในทุกวันนี้ องค์กรจำนวนมากกำลังประสบปัญหาในการสรรหาบุคคลที่มีทักษะความสามารถที่เหมาะสม

ซึ่งจากงานวิจัยของไอเอฟเอสเองก็บ่งชี้ให้เห็นว่า 34% ของบริษัทต่างๆ ยังไม่ได้เตรียมพร้อมรับมือกับช่องว่างของแรงงานที่มีทักษะเมื่อต้องก้าวเข้าสู่เส้นทางสายดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น ดังนั้นแทนที่จะกลัวในเรื่องการไม่มีงานให้เราทำ ลองเปลี่ยนความคิดใหม่กันดู เพราะประเด็นใหญ่สุดไม่ใช่เรื่องที่ว่าหุ่นยนต์กำลังเข้ามาแย่งงานเรา

แต่เป็นมนุษย์ต่างหากที่ยังไม่มีทักษะมากพอที่จะทำได้ เรื่องนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เราไม่สามารถคาดหวังให้ผู้คนทำงานแบบเดิมๆ อย่างที่พวกเขาทำมาตลอดทั้งชีวิตการทำงานได้ ขณะเดียวกันเราก็สูญเสียพวกเขาไปไม่ได้ ซึ่งอาจหมายความว่าผู้คนจะต้องเปลี่ยนงานหลายครั้งในช่วงชีวิตวัยทำงานของพวกเรา

เราจำเป็นต้องพิจารณาถึงความต้องการของพวกเขา และแทนที่จะมุ่งความสนใจเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว เราจำเป็นต้องให้ความสนใจกับวิธีที่เราจะนำพาแรงงานของเราผ่านการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าได้อย่างไร

Robot

ปัญหานี้มีองค์ประกอบในการแก้ไขอยู่เพียง 2 อย่างเท่านั้น คือ คน (people) และเทคโนโลยี (Technology)

ผู้คน (people) คนจำเป็นต้องทำงานที่แตกต่างกันออกไปมาก เราจำเป็นที่จะต้องมีศูนย์ฝึกอบรมเฉพาะทางที่ทุ่มเทฝึกฝนทักษะความชำนาญให้กับพวกเขาในช่วงต้นของวัยทำงานหรือไม่ ทำไมเราไม่ส่งผู้คนไปเรียนงานที่พวกเขาอาจจะทำสัก 4 ปี ตั้งแต่อายุแค่ 12 อย่าเข้าใจผมผิด ผมเป็นผู้สนับสนุนการศึกษาที่ดีอย่างมาก

แต่บางทีเราก็ควรสอนให้คนของเรารู้วิธีที่จะเรียนรู้แทนการรู้วิธีทำงาน ทำให้พวกเขามีทักษะพื้นฐานเพื่อเปิดทางให้พวกเขาสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดการทำงานของเขา ใช่ เรื่องนี้อาจจะเกิดขึ้นในการศึกษาขั้นสูงกว่า อย่างมหาวิทยาลัย แต่คนงานกลุ่มใช้แรงงานจำนวนมากที่อยู่ข้างนอกนั่นล่ะ พวกเขาเหมาะสมกับอะไร

แทนที่จะทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ อาจจะให้ทำงานแค่ 4 วันต่อสัปดาห์ และให้เวลา 1 วัน สำหรับการทำตัวให้ทันสมัย ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม เราต้องทำให้แน่ใจว่าผู้คนจะทันสมัยอย่างต่อเนื่องในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ที่มีแต่จะพัฒนาเร็วขึ้นไปอีกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

เทคโนโลยี (Technology) เราลืมเรื่องที่เทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่มนุษย์ไปก่อน แต่หันมาให้ความสนใจในเรื่องที่ว่าเทคโนโลยีสามารถส่งเสริมมนุษย์ได้อย่างไร เราจะนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยคนงานปิดช่องว่างทางด้านทักษะและความรู้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานได้อย่างใร

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเออาร์ (Augmented Reality) สำหรับการสนับสนุนทางไกล หรือโดรนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนงาน  ควรพิจารณาเทคโนโลยีทั้งหมดนี้ ในบริบทของวิธีการที่พวกเขาสามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มพูนทักษะของมนุษย์และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณ จากบล็อก บาส เด วอส ผู้อำนวยการ ไอเอฟเอส แล็บส์ 
**** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก : www.pexels.com

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่