TTW

TTW เผยแผนการสร้างโรงผลิตน้ำประปาในเมืองเมาะลำไย รัฐมอญ ประเทศเมียนมาร์ กำลังคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง เชื่อเสร็จตามกำหนดภายในปี 2562 และพร้อมให้บริการใน 12 โซน สำคัญทั้วเมือง และสามารถคืนทุ่นได้ใน 10 ปี

 TTW

TTW โชว์ความคืบหน้าหลังรุกลงทุ่นในประเทศพม่า

ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ทีทีดับบลิว กล่าวว่า ธุรกิจการบริหารจัดการน้ำของเราในช่วงปีที่ผ่านมาสามารถเติบโตได้ตามเป้าหมาย โดยเราสามารถสร้างผลกำไรจากการผลิตน้ำประปาจากโรงผลิตน้ำประปาของเราทั้ง 2-3 แห่งภายใน 9 เดือนแรกอยู่ที่ 1.99 พันล้านบาท โดยเพิ่มขึ้น 4.14% จากปีก่อนมีกำไร 1.91 พันล้านบาท

โดยปัจจุบัน ทีทีดับบลิว มีโรงผลิตน้ำประปาที่อำเภอบางเลน จ.นครปฐม กำลังการผลิต 4.4 แสนลูกบาศก์เมตร/วัน ส่วนโรงงานผลิตน้ำประปาของบริษัท น้ำประปาปทุมธานี จำกัด (PTW) มีกำลังการผลิต 4.8 แสนลูกบาศก์เมตร/วัน

และอย่างที่ทราบกันดีว่า ทีทีดับบลิว นั้นมองหาโอกาสทางธุรกิจอยู่เสมอ ซึ่งที่ผ่านมาเราได้ได้รับเชิญเพื่อหารือเกี่ยวกับโอกาสในการเข้าไปพัฒนา และบริหารจัดการระบบผลิตน้ำประปา ทั้งในประเทศกัมพูชา และในหลายเมืองของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เช่น เมืองเมาะลำไย เมืองมัณฑะเลย์ และเมืองเมียวดี

ซึ่งเราได้ว่าจ้างที่ปรึกษาซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเข้าไปศึกษาความต้องการใช้น้ำประปา ทำประชาพิจารณ์ รวมถึงความคุ้มค่าในการลงทุน โดยในส่วนการเข้าไปลงทุนเมืองเมาะลำไย (Mawlamyine) ในประเทศพม่านั้นที่มีมูลค่าของโครงการกว่า 400 ล้าน เราได้เริ่มโครงการไปแล้ว ซึ่งเป็นได้ลงทุนผ่านบริษัท ไทยวอเตอร์ โอเปอเรชั่นส์ จำกัด (TWO) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของเรา (เราถือหุ้นอยู่กว่า 68%)

และได้ร่วมทุนกับกลุ่มบริษัท Z Corporation ของเมียนมาร์ ได้จัดตั้งบริษัท Myanmar Tap Water Company โดย ทีทีดับบลิว มีสัดส่วนถือหุ้น 70% และกลุ่มบริษัท Z Corporation ถือสัดส่วน 30% และจะใช้เวลาก่อสร้าง 18 เดือน และคาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในกลางปี 62 และน่าจะสามารถคืนทุนได้ภายใน 10 ปี

โดย ทีทีดับบลิว มีได้สิทธิ์ในการผลิต และจำหน่าย ให้แก่ในหน่วยงานรัฐของเมือง ในลักษณะสัมปทานเป็นระยะเวลา 30 ปี และสามารถต่ออายุได้ 2 ครั้ง ๆ ละ 10 ปี ซึ่งเมื่อก่อสร้างเสร็จ จะสามารถสร้างกำลังการผลิตน้ำประปาได้มากถึง 40,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน

และสามารถกระจายไปตาม12 โซน สำคัญทั้วเมือง ผ่านท่อนำส่งนำขนาดต่างๆ โดยเราได้วางแผนในการวางท่อได้อยางเหมาะสม โดยผ่านการใช้เทคโนโลยีในการตรวจวัดแรงดันน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในส่วนแรงดันน้ำไม่เพียงพอ

โดยในส่วนเมืองเมาะลำไย ที่เราไปทำเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 3 ซึ่งมีสถานที่สำคัญ เช่น มหาวิทยาลัยสำคัญที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆของพม่า และสถานที่สำคัญอีกหลาย อีกทั้งมีแหล่งน้ำดิบที่ยังมีความสมบรุณ์ จากแม่น้ำสายสำคัญหลายๆสาย ที่สามารถนำมาผลิตน้ำได้ และเป็นเมืองปลายทางที่สามารถเชื่อมต่อกับหลายๆประเทศ จึงเป็นเมืองที่มีความสนใจในการเข้าไปลงทุน

TTW
ขอขอบคุณภาพจาก www.worldatlas.com

นอกจากนี้ ทีทีดับบลิว สนใจที่จะเข้าลงทุนโครงการผลิตน้ำประปาอีก 2 เมืองในเมียนมา คือ เมืองเมียวดี และ เมืองพะอันซึ่งอยู่ในรัฐกะเหรี่ยง ซึ่งทั้งสองเมืองเป็นเมืองหน้าด่านที่จะเชื่อมเข้าไทยที่แม่สอดเชื่อมต่อไปมุกดาหารแล้วไปเมืองดานังของเวียดนามได้ 

โดยทั้ง 3เมื่องได้แก่ เมืองเมาะลำไย เมืองพะอัน และเมืองเมียวดี เป็นสามเหลี่ยมทองคำทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีความต้องการน้ำประปาของภาคธุรกิจ ทั้งเมียนมาและไทย อาทิ โรงแรม ศูนย์การค้า และมีจำนวนประชากรก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ในส่วนของโรงผลิตนำเดิมที่อยู่ภายในประเทศเราได้ขยายกำลังการผลิตเพิ่มเติมที่งโรงผลิตน้ำประปากระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร และมีการใช้เทคโนโลยี “เมมเบรน” (Membrane) ในระดับ การกรองแบบ Ultra-filtration โดยมีกำลังการผลิตเริ่มต้นที่ 100,000 ลบ.ม./วัน

ซึ่งเมื่อปรับปรุงเสร็จจะสามารถขยายกำลังการผลิตได้สูงสุดถึง 400,000 ลบ.ม./วัน ซึ่งปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ และกำลังอยู่ในช่วงของการทดสอบระบบ โดยโรงผลิตน้ำประปากระทุ่มแบนแห่งนี้สามารถรองรับการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองในฝั่งสมุทรสาครได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และทำให้สามารถเป็น “แหล่งสำรอง” ให้กับโรงผลิตน้ำประปาบางเลน จ.นครปฐม ซึ่งจะสามารถสร้างความสมดุลในการส่งจ่ายน้ำประปาในพื้นที่บริการฝั่งสมุทรสาคร-นครปฐมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ส่วนขยาย 

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่ได้มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่