อย่างทีททราบกันที่ว่าเมื่อเดือนก่อนหน้าที่ผ่านมาในวงการโทรคมนาคมผ่านเรา มีเหตุการณ์ที่นับว่าเป็นประวัติศาสตร์สำคัญอีกครั้ง เพราะเนื่อง AIS, dtac, Ture Move H ต่างประกาศว่าไม่สนใจจะเข้าร่วมประมูลคลื่น 1800MHz ที่ กสทช. (NBTC) ในช่วงสิงหาคม 2561 นี้เลย ในเมื่อสถาการณ์เป็นเช่นนี้ของเทคโนโลยีสารจะเป็นอย่างไรต่อไป

ประมูลคลื่นช้า ใครได้ใครเสีย?

อย่างทีททราบกันที่ว่าเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาในวงการโทรคมนาคมผ่านเรา มีเหตุการณ์ที่นับว่าเป็นประวัติศาสตร์สำคัญ อีกครั้ง เพราะเนื่องจากไม่มีผู้ให้บริการรายใดเลย (AIS, dtac, ture move H) ที่สนใจจะเข้าร่วมประมูลคลื่น 1800 เมกกะเฮิร์ทซ ที่ทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. (NBTC) เตรียมจะจัดในช่วงวันที่ 4 สิงหาคม 2561 ที่จะถึงนี้

ในฐานะที่ทำงานวงการสื่อสารมวลชนทางด้านเทคโนโลยีมาว่า 20 ปี ผมคงต้องบอกว่านี่ถือเป็นครั้งแรกในบ้านเราที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น แน่นอนว่าในอดีตการให้บริการของ ทั้ง 3 ค่าย นั้นอยู่ในรูปแบบของสัญญาสัมปทาน แต่เมื่อเปลี่ยนรูปแบบของใบอนุญาต ก็มีการแข่งขัน แบบไม่ยอมกันมาตลอด แต่ก็ไม่เคยมีเหตุการณ์ไหนน่าแปลกใจอย่างเช่นครั้งนี้

3 ค่าย เผยเหตุผลบอกปัด กสทช. เข้าร่วมประมูล 

มาถึงวันนี้ หลายๆ ท่าน อาจจะได้อ่าน ข่าวจากสื่อต่างๆ มาไม่มากก็น้อย แต่เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ขอรวบรวมข้อมูลสาเหตุทั้งหมดที่ทั้ง เอไอเอส ดีแทค และทรู มูฟ เอส ได้ออกมากล่าวให้ทราบกัน

เริ่มจาก ทรูมูฟ เอช ผู้ให้บริการรายแรกที่ออกมาแสดงจุดยืนว่าจะไม่ร่วมประมูลคลื่น โดย ดร.กิตติณัฐ ทีคะวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัท (ร่วม) บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้ออกมาแจ้งว่าการไม่ร่วมประมูลเพราะมีปริมาณคลื่นที่มีอยู่ของ ทรูมูฟ เอช ยังมากเพียงพอที่จะรองรับลูกค้าที่จะเติบโตขึ้นได้กว่าเท่าตัวในอนาคต

ซึ่งการไม่เข้าร่วมก็ไม่ทำให้บริษัทเสียโอกาสแต่อย่างใด รวมทั้งจะไม่ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในตลาดอีกด้วย โดยทาง ทรูมูฟ เอช ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวอย่างรอบคอบ อีกทั้งยังได้ว่าจ้าง บริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสม และความคุ้มค่าในการลงทุนจากการประมูลคลื่นแล้ว จึงตัดสินใจ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า และนักลงทุน  และได้มีการส่งเอกสารถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อชี้แจงแก่นักลงทุน เรียบร้อยแล้ว

ด้าน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เองก็ออกมา ชี้แจ้งด้วยเช่นเดียวกัน และเป็นเพียงรายเดียวที่ได้มีการออกมาชี้แจ้งอย่างโจ่งแจ้ง โดยทาง ลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ชี้แจ้งว่า การที่ไม่เข้าร่วมประมูลเนื่องจาก

ราคาประมูลตั้งต้นยังอยูในระดับที่ค่อนข้างสูง และเงื่อนไขการประมูลที่ไม่เหมาะสม ซึ่งในฐานะผู้ประกอบธุรกิจเงื่อนไขดังกล่าวไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า และผู้ถือหุ้นได้ในระยะยาว อีกทั้ง ดีแทค เพิ่งได้เซ็นสัญญากับทาง ทีโอที ในการนำเอาคลื่น 2300 MHz มาให้บริการแก่ลูกค้า

โดย ปัจจุบัน ดีแทค ถือครองความถี่ย่าน 2100 MHz จำนวน 2×15 MHz และมีคลื่นใหม่ความถี่ 2300 MHz จำนวน 1x60MHz ซึ่งเป็นคลื่นความถี่เดียวที่กว้างที่สุดในประเทศไทย ซึ่งถ้าหมดสัมปทานคลื่น 1800 MHz และสิ้นสุดระยะเวลาเยียวยาแล้ว

ดีแทคยังมีคลื่นย่านความถี่สูงเพิ่มมากกว่าอีกเดิม 10 MHz จากคลื่นใหม่ 2300 MHz ที่จะนำมาให้บริการสำหรับคลื่นย่านความถี่สูงอย่างพอเพียงทำให้ ดีแทคมีคลื่นย่านความถี่สูง (High-band spectrum) มากเพียงพอ ในการให้บริการ

จึงไม่มีความจำเป็นต้องเร่งรีบในการเข้าประมูลคลื่น 1800 MHz ที่เป็นคลื่นที่เป็นย่านความถี่สูงเช่นกัน ซึ่งวันนี้ที่ ดีแทค กำลังมองหาคือคลื่นย่านความถี่ต่ำ (low-band spectrum) อย่าง 850MHz หรือ 900 MHz มากกว่า ซึ่งทาง กสทช. ไม่ได้นำมาจัดประมูลในครั้งนี้ด้วย

ทั้งนี้ ดีแทค เชื่อว่าทาง กสทช จะให้ความคุ้มครองลูกค้าใช้งานมือถือหลังหมดสัมปทาน เพื่อให้ผู้ใช้งไม่กระทบการใช้งานไม่ได้รับผลกระทบ อบ่างเช่นที่เคยมีกรณีสิ้นสุดสัมปทานคลื่นความถี่กับผู้ให้บริการรายอื่นๆ (เอไอเอส 9 เดือน ทรูมูฟ เอช 24 เดือน)

ขณะที่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ จำกัด (AWN) ในนาม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เองก็ออกมาประกาศในวันเดียวกันกับที่ทาดีแทค ประกาศ ว่าจะไม่ขอเข้าร่วมประมูล โดยจากการที่ได้พิจารณาหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการประมูลต่างๆ

พบว่าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประมูลครั้งนี้ ยังไม่เหมาะสมต่อการลงทุนหรือก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัทในขณะนี้ โดยบริษัทได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่า ปัจจุบันบริษัทมีจำนวนคลื่นความถี่มากถึง 55 MHz  โดยมีทั้งคลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz ,คลื่น 1800 MHz และคลื่น 900 MHz ที่บริษัทฯประมูลมาได้

รวมทั้งยังมีคลื่นความถี่ 2100 MHz จากบมจ.ทีโอที ที่ได้มีการลงนามสัญญา ร่วมกันกับบริษัทฯ แล้ว ซึ่งมีมากเพียงพอในดำเนินการที่จะส่งมอบบริการให้กับลูกค้า

1800Mhz

ซึ่งการออกมาประกาศโดยพร้อมเพียง จะนัดหมาย หรือไม่ นั้นคงไม่มีใครทราบได้ แต่ก็ทำให้ กสทช ไปไม่เป็น เลยทีเดียว เพราะก่อนหน้าที่ เอไอเอส จะออกมา ประกาศ ทาง กสทช มีท่าทีมีความหวังว่าทาง เอไอเอส จะเข้าร่วม แม้จะเป็นเพียงรายเดียวก็ตามที

กสทช. เล่นบทโหด เตือน!! ดีแทคเร่งย้ายลูกค้าเก่าที่อยู่ในระบบสัมปทาน

ซึ่งท่าที ณ วันดังกล่าว เห็นได้ชัดว่า กสทช ไม่ค่อย แฮปปี้ เท่าใดนัก และจะออกไปทางหัวเสียมากเลยทีเดียว ถึงขั้นมีการประกาศออกมาเป็นนัยยะสำคัญว่า ผู้ให้บริการทั้ง 3 ราย ไม่มองการไกล และเร่ืองราคาที่กำหนดไว้ก็สมเหตุผลแล้ว ให้ลด หรือให้มีราคาต่ำกว่านี้คงเป็นไปไม่ได้

โดยหวยที่ออก และดุเหมือนว่าทาง กสทช จะพาดพิงมาที่สุด คือ ดีแทค โดยในช่วงหนึ่งได้มีการกล่าวถึง เรื่องการคุ้มครองลูกค้าใช้งานมือถือหลังหมดสัมปทานว่า การเยียวยาเกิดขึ้นเมื่อประมูลคลื่นความถี่ไม่ทัน ซึ่งที่ผ่านมาต้องมีมาตรการเยียวยา เนื่องจากจัดประมูลคลื่นความถี่ไม่ได้ แต่ครั้งนี้ กสทช.จัดประมูลคลื่นความถี่ล่วงหน้า

ดังนั้นแนวทางในการดำเนินการ เมื่อไม่มีผู้เข้าประมูล การจะเยียวยาในการประมูลครั้งนี้จึงไม่จำเป็น เมื่อมีการสอบถามเรื่องแนวทางในการดำเนินการต่อไป ทาง กสทช ได้เพียง แต่แจ้งว่า จะส่งเรื่อง ไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หรือรัฐบาลว่าจะมีมาตรการ หรือแนวทาง เดินหน้าอย่างไรต่อไป ลังจากไม่มีผู้เข้ามาประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz

ด้าน ก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) ได้ออกมาแสดงท่าทีชัดเจนว่าจะไม่ให้ดีแทคได้รับการเยี่ยวยาเหมือนกรณีของ เอไอเอส และทรู มูฟ ที่เคยได้รับสิทธิ์ก่อนหน้าในช่วงที่ย้ายลูกค้าบนคลื่น 900 MHz (ช่วงปี 2016)

โดยให้ dtac ให้รีบดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในคลื่นความถี่ 850 และ 1800 MHz ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 ก.ย. 2561 จำนวนประมาณ 430,000 เลขหมาย โอนย้ายไปใช้บริการกับผู้ให้บริการรายอื่นที่รองรับการให้บริการ

หรือหากจะใช้บริการกับผู้ให้บริการรายเดิมก็ให้เปลี่ยนไปใช้คลื่นความถี่อื่น เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง

ขณะที่ ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) คือผู้ที่แสดงท่าทีหัวเสียมากที่สุด ถึงขั้นเอ่ยคำพูดว่าต่อสื่อต่างๆ ที่เข้าไปสัมภาษณ์ว่า  “ใครที่ฝันไม่ไกล ระวังจะไปไม่ถึง บอกว่าคลื่นพอ เราจะทำให้ไม่พอเอง” ซึ่งท่าที และคำพูดดังกล่าวของ เลขาธิการ กสทช. ทำให้สื่อต่างๆ คาดว่าน่าจะเห็นมาตราการอะไรตอบโต้ออกมาอย่างแน่นอน

และเป็นจริงดังคาด เมื่อ dtac เข้าไปหารือกับ กสทช. (17 ก.ค.) ในการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ซึ่งถือเป็นคลื่นความถี่ต่ำ ที่ดีแทคสนใจจะนำเข้ามาทดแทนคลื่นที่จะหมดสัมปทานลง แต่เมื่อเข้าพูดคุยกับได้ทราบว่ามีเงื่อนไขในการอนุญาตที่ระบุไว้ข้อ 16 โดยกำหนดให้ผู้ชนะการประมูลจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการรบกวนกันของคลื่นความถี่ และการรบกวนระบบอาณัติสัญญาณของระบบคมนาคมขนส่งทางรางทั้งหมด

แต่เพียงผู้เดียว…!! โดยมีภาระในการติดตั้งวงจรกรองสัญญาณ (filter) ให้แก่ผู้รับใบอนุญาตรายเดิมที่ใช้คลื่นความถี่ย่าน 850 MHz และผู้ให้บริการระบบคมนาคมขนส่งทางราง (ซึ่งคาดว่าน่าสืบเนื่องจากกรณี BTS ที่ถูกรบกวนคลื่นสัญญาณย่าน 2400MHz ที่ใช้ควบคุมระบบเดินรถ และสั่งการ) 

ซึ่งทาง กสทช แนวทางแก้ปัญหาให้ BTSไปใช้ย่านอื่นที่ไม่ใช่ 2400 MHz เพื่อควบคุมระบบเดินรถและสั่งการ ซึ่งปัจจุบัน กสทช. กันคลื่น 5 MHz ย่าน 800- 900 MHz ไว้ให้ใช้สำหรับการควบคุมรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่กำลังจะก่อสร้างอยู่ด้วย หากเป็นเช่นนั้น สิ่งที่ dtac อาจจะต้องเจอคือการลงทุน

ติดตั้งระบบป้องกันคลื่นรบกวน (filter) ไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งปัญหาอาจไม่จบ เพราะยังมีเรื่องความไม่แน่นอนการเข้าไปติดตั้งสถานีฐานที่ต้องติดตั้ง หรือผู้ให้บริการรายอื่นจะสะดวกในการให้เข้าไปติดตั้ง และอาจจะสร้างข้อพิพากระหว่างผู้ให้บริการด้วยกัน

แม้ในกรณีผู้ให้บริการรายอื่นๆ ยินยอมก็อาจจะมีการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่ม ซึ่งทาง กสทช เองก็ไม่ทราบว่าจะใช้เท่าไร หรือไม่ทราบว่า การรถไฟฟ้า ติดตั้งเสายังไง และยังอาจยุ่งยากขึ้นเมื่อพิจารณาข้อกำหนดในข้อ 17 ที่ระบุว่า กสทช มีสิทธิที่จะปรับเปลี่ยนช่วง หรือช่องความถี่ในกรณีจำเป็น (กสทช จะสามารถสลับช่องได้ตามเหมาะสม

เพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนของคลื่น) ซึ่งจะทำให้เสี่ยงทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มได้อีกในอนาคต เพราะตัวอุปกรณ์ป้องกันคลื่นรบกวนนั้นไม่สามารถย้ายไปได้ เท่ากับว่าหากมีการสั่งย้ายจริง ผู้ชนะอาจจะต้องลงทุนใหม่อีกด้วย

 

ตลาดโทรคมนาคม และ5G ในไทยจะเป็นอย่างไรต่อไป?

เชื่อว่าตำถามที่หลายๆ คนสงสัยคงนี้ไม่พ้นว่า หากสถาการณ์เป๋็นนี้แล้ว ตลาดโทรคมนาคมในบ้านเราจะเป็นเช่นไรต่อไป จะมีการจัดประมูลคลื่น 1800 MHz ขึ้นหรือไม่ โดยส่วนตัวแล้วเชื่อว่าการประมูลนั้นจะมีการจัดขึ้นอย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าจะเป็นเมื่อไรเท่านั้น

แต่ที่แน่ๆ คือเรากำลังจะเสียโอกาส ในการก้าวไปสู่ยุคของการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ช้าลงไปนิดหน่อยเท่านั้นเอง อาทิ อินเทอร์เน็ต ออฟติ้งส์ (IoT) อุปกรณ์ที่ทำให้มองเห็นเสมือนจริง (VR) รถยนต์ไร้คนขับ (Driverless Cars) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระบบการแพทย์อัจริยะ หุ่นยนต์ที่ใช้ผลิตในอุตสาหกรรม (Robotics) เป็นต้น ฟังดูเหมือนกล่าวเกินจริงไป หลายๆคนอาจจะคิดว่าต่อให้มีการประมูลคลื่น

ก็ยังต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมอยู่ดี อีกทั้งยังมีคลื่นอื่น ที่ผู้ให้บริการทั้ง 3 ค่าย สามารถนำไปใช้งานพัฒนาให้เกิด 5G ได้ อันนั้นก็เป็นความจริง แต่เราต้องไม่ลืมว่า ด้วยจำนวนคลื่นที่ทั้ง 3 รายนั้นถือครองอยู่ หากจะนำไปให้บริการก็อาจจะเพียงให้ใช้ ณ วันนี้ ผมขอย้ำว่า ณ ตอนปัจจุบันนี้เท่านั้น แต่ไม่ใช่ความสามารถที่รองรับความต้องการที่จะเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคต

การที่เราต้องให้ผู้ให้บริการดครงข่ายถือครองคลื่น เยอะๆ ก็เพราะเรากำลังก้าวสู่ยุคของเทคโนโลยีที่ต้องสามารถรองรับปริมาณการรับส่งข้อมูลจำนวนมหาศาลมากขึ้นทุกวัน เช่น การรับชมคอนเท้นต์วิดีโอที่มีความละเอียดสูง โดยในอนาคตคาดการณ์กันว่า ความละเอียดมาตรฐานของคอนเท้นต์วิดีโอจะอยู่ในระดับ 4K ซึ่งจำเป็นต้องมีการรับส่งที่มีปริมาณมาก ซึ่งหากไม่มีการเตรียมรับมือก็อาจเกิดวิกฤติข้อมูลขึ้นได้

หากมองในแง่ความเหมาะสมของความถี่ที่จะสามารถนำมาใช้งานเทคโนโลยีได้ ก็จะใช้ได้ทั้งคลื่น 1800 MHz 2300 MHz และ 26000 MHz (สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU กำหนดไว้ที่ 26000 MHz)  ซึ่งวันนี้มีเพียง datc รายเดียวที่มีคลื่นย่านความถี่สูง (High-band spectrum) ที่ดีแทคเองก็เร่งที่ลงโครงข่ายเพิ่มอย่างต่อเนื่อง

นอกจากเรื่องของย่านถวามถี่ การที่ไทยไม่สามารถเร่งทำให้เกิด 5G ขึ้นได้เร็วแล้ว ผลกระทบที่ตามมาในแง่ของโอกาสทางธุรกิจคือ เราจะไม่ได้รับความสนใจในการลงทุนจากประเทศอื่นๆ ที่พยายามจะขยายธุรกิจในภูมิภาคนี้ เพื่อเป็นศูนย์กลางไปยังประเทศอื่นๆ อีกด้วย งานนี้เรียกว่ามีแต่ผลเสียหากเราตั้งเป้าที่จะกลายเป็นศูนย์กลางในอาเซียนจริงๆ

หากมองในอีกแง่มุม การที่เงื่อนไขการประมูล ไม่เอื้อให้ผู้ประกอบกิจการ เพราะขาดความแน่นอนเกี่ยวกับเงื่อนไขการประมูล โดยสามารถแก้กติกาหลังการประมูลให้เอื้อประโยชน์อย่างไรก็ได้

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที และพิพัฒน์ เพิ่มผัน (Editors and Digital Content)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่