Phuket Smart City

รมต. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือดีป้า ลงพื้นที่ตรวจสอบความคืบหน้าในการสร้าง เมืองอัจริยะที่ภูเก็ต (Phuket Smart City) พร้อมเร่งดำเนินงานเพื่อหวังเป็นเมืองต้นแบบให้เมืองอื่นๆทั่วประเทศ

Phuket Smart City is a Country Model

เมื่อวันที่ 15-17 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) พร้อมด้วย ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาโครงการ ภูเก็ตสมาร์ทซิตี้

ซึ่งเป็นโครงการที่ดีป้าให้การสนับสนุนและเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมี นายถาวรวัฒน์ คงแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ให้ข้อมูล ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของดีป้าประจำศูนย์ภาคใต้

Phuket Smart City

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวว่า ภูเก็ตสมาร์ทซิตี้ จัดตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ขณะนี้ได้ดำเนินไปแล้วทั้งสิ้น 4 ด้านประกอบด้วย Smart tourism , Smart safety Smart environment และSmart Economy

โดยในด้านการท่องเที่ยว Smart tourism ได้ติดตั้งอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อให้บริการฟรีแก่นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป ถึง 1,000 จุด ครอบคลุมพื้นที่สำคัญด้านการท่องเที่ยวและพื้นที่ชุมชน โดยมีผู้เข้าใช้กว่า 45,000 คนต่อวัน

นอกจากนี้ยังได้สนับสนุน ดิจิทัล สตาร์ทอัพ ด้านการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดการปรับตัวของเอสเอ็มอีด้วยดิจิทัล ในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ตามนโยบายรัฐบาล ในทุกๆด้าน

โดยในส่วนของการเพิ่มประสิทธิภาพในด้านความปลอดภัย Smart safety จะดำเนินการใน 3 ด้านคือ รวบรวมกล้อง CCTV ของภาครัฐกว่า 1,000 ตัว ทั่วทั้งเกาะภูเก็ต รวมถึงการการติดตั้งระบบ CCTV Analytics ในการจับใบหน้า ระบบอ่านป้ายทะเบียนรถ

Phuket Smart City

และระบบบังคับการใช้กฎหมายจราจร สุดท้ายคือการจัดตั้งศูนย์ CCTV จังหวัดภูเก็ต ณ ที่ทำการสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยเขต 18 กลุ่มอันดามัน ด้านสิ่งแวดล้อม Smart environment ดำเนินการติดตั้งระบบ IoT Sensors ไปยัง 2 ลำคลองคือ คลองบางใหญ่เขตเทศบาลนครภูเก็ต คลองปากบางเขตเทศบาลป่าตอง

โดยติดตั้งทั้ง 15 สถานีประกอบด้วยการวัดปริมาณน้ำฝน ระดับน้ำ คุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ ทั้งนี้เพื่อเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติจากน้ำท่วมและแผ่นดินถล่มสุดท้ายคือ ด้านเศรษฐกิจ Smart Economy ได้ผลักดันให้เกิดการปรับตัวของเอสเอ็มอีด้วยดิจิทัล ด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และการสนับสนุนดิจิทัลสตาร์ทอัพ รายใหม่

โครงการ ภูเก็ตสมาร์ทซิตี้ จะถือเป็นเป็นโมเดลประเทศ ที่จะขยายผลไปสู่เมืองใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มพัฒนาไปบ้างแล้วที่ จ.เชียงใหม่ ขอนแก่น กรุงเทพมหานคร และ อีอีซี

ดีป้า ในฐานะเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการ ภูเก็ตสมาร์ทซิตี้ ร่วมกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน), บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน), บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด, สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้มีการริเริ่มนำอุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ ประสานกับข้อมูลภาครัฐและภาคเอกชน

เพื่อสร้างต้นแบบ City Data Platform ตามนโยบายการขับเคลื่อนด้าน Big Data ของประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้เมืองมีความสามารถในการบริหารจัดการสูงขึ้น อย่างไรก็ตามแม้จังหวัดหวัดภูเก็ตแม้จะมีขนาดเล็กเพียง 543 ตารางกิโลเมตร แต่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงมาก

Phuket Smart City

และมีความซับซ้อนในปัญหาค่อนข้างสูง โดยได้วางเป้าที่จะพัฒนา City Data Platform เพื่อตอบโจทย์ ข้อมูลพฤติกรรมนักท่องเที่ยว ข้อมูลสนับสนุนการลงทุน ข้อมูลด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้จังหวัดภูเก็ตได้มีการวางแผนการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

เพื่อขยายการดำเนินงานด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการเมือง อีกทั้งจังหวัดภูเก็ตยังมีภาคเอกชนอย่างบริษัทภูเก็ตพัฒนาเมือง คอยร่วมขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะอย่างเต็มที่ และเพิ่งเปิดตัวโครงการ Smart Bus ไปเมื่อเร็ว ๆ นี้

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่