เรียกว่าเป็นการช็อกตลาดวงการการสื่อสาร มากพอสมควร หลังเมื่อช่วงเช้าวันที่ 14 ผ่านมา หลังที่ทาง dtac ได้ออกมาประกาศว่า “ลาร์ส โอเคะ นอร์ลิ่ง” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัทฯ ได้ขอยื่นหนังสือลาออก โดยจะมีผลในวันที่ 1กันยายน 2561 ที่จะถึงนี้ ทำให้หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยว่าเมื่อขาดหัวเรือใหญ่ ดีแทค จะทำอย่างไรต่อไป

dtac What  Happened?

อย่างที่กล่าวไปว่าการประกาศลาออกแบบช้อกวงการ “ลาร์ส โอเคะ นอร์ลิ่ง” ในครั้งนี้ ทำให้หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยว่าเมื่อขาดหัวเรือใหญ่ ดีแทค จะสามารถหาคนมาแทนได้ทัน หรือไม่ และถ้าทันจะเป็นคนจาก เทเลนอร์ หรือจะดีแทคจะกลับไปใช้บริการจากผู้บริหารคนไทย อย่างเฉกเช่นในอดีต

และยังมีคำถามที่ผู้ใช้บริการที่กังวลจะยังคงทำเดินกิจการต่อในประเทศไทย หรือไม่ ในขณะที่ปัญหาที่ยังคาราคาซัง ไม่ว่าจะเป็นการประมูลคลื่น 1800MHz และ 900MHz ที่เลื่อนออกไป ร่วมการเช้าใช้คลื่น 2300MHz จากทีโอที  ก็ยังไม่เรียบร้อยซะทีเดียว ดังนั้นการประกาศลาออกของหัวใบพัดสีฟ้า ยิ่งทำให้ความหวั่นวิตกเพิ่มมากขึ้น

แม้ว่าที่ผ่านมาบทบาทของ ลาร์ส โอเคะ นอร์ลิ่ง ในฐานะผู้บริหารสูงสุดของดีแทค ถือว่าไม่ได้เลวร้าย แต่ก็ไม่สามารถเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จมาก เพราะผลประกอบการแม้จะดูมีกำไรเพิ่มขึ้น ในปีที่ผ่านมา แต่ก็เป็นการเพิ่มขึ้น หลังจากที่กำไรลดลงมาต่อเนื่อง 3-4 ปี 

dtac

นั่นแสดงให้เห็นว่าแคมเปญการตลาดที่ได้ทำออกไป ไม่โดนใจผู้บริโภคมากเท่าใดนัก ซึ่งในส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะคุณภาพสัญญาณที่ลดน้อยลง ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะจำนวนคลื่นที่น้อยลงหลังจากที่คืนคลื่น 1800MHz ไปให้ทาง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อให้นำประมูล 4G

ทำให้วันนี้ดีแทคเหลือจำนวนคลื่นทั้งหมด 50 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะหมดอายุลงในปีนี้พร้อมกันสองคลื่น (รวม 35 เมกะเฮิรตซ์) เท่ากับว่าดีแทคจะเหลือคลื่นไว้ให้บริการเพีงย 15 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าอย่างแน่นอน

แม้ว่าทางดีแทคจะพยายามที่จะชดเชยด้วยการเร่งลงอุปกรณ์กระจายสัญญาณเพิ่ม เพื่อให้ไม่เกิดสะดุดจากการใช้งานร่วมไปถึงการทำสัญญาเช่าคลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์ และรับซื้อความจุโครงข่าย 60% จากความจุโครงข่ายจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)ในไตรมาส 4 ปี 2560 ที่ผ่านมา (เช่า 4,510 ล้านบาทต่อปี) 

แต่ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นการแก้ไขในเบื้องต้นเท่านั้น ไม่ให้ผลกระทบการใช้งานของลูกค้ารุนแรงมาก ซึ่งอย่างที่ทราบกันดีกว่าลูกค้าของดีแทคในช่วงสิ้นปี 2560 ที่ผ่านมา ดีแทคมีจำนวนฐานลูกค้าอยู่ที่ 22.7 ล้านเลขหมาย ซึ่งลดลงจากปี 2559 ซึ่งมีอยู่ที่ 24.5 ล้านเลขหมาย ซึ่งทางดีแทคออกมาชี้แจ้งว่าจำนวนที่ลดลงนั้นเกิดขึ้นจากการแข่งขัน

ที่รุนแรงในกลุ่มของตลาดแบบเติมเงิน (พรีเพด) และพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนมาใช้บริการรายเดือนเพิ่มขึ้น (โพสต์เพด) ซึ่งจากการสำรวจล่าสุดของทางดีแทคพบว่ากลุ่มลูกค้าเติมเงินของดีแทค  มีลูกค้ายกเลิกบริการ (Churn Rate) ดีขึ้น 2%

ซึ่งแม้ว่าดีแทคจะกล่าวเช่นนั้น แต่สัดส่วนการใช้งานลูกค้าที่อยู่บนโครงข่าย 2100 MHz กลับเพิ่มขึ้นเพียง 3% เท่านั้น (จาก 95% เป็น 98%) เมื่อเปรียบเทียบกับ ในช่วงปลายปีก่อนหน้า แม้ว่าจะเห็นว่าแนวโน้มจากการใช้งานอนิเทอร์เน็ตผ่านโครงข่ายของลูกค้าดีขึ้น 67.2% แต่นั่นน่าจะเป็นเพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคมีทิศทางไปเช่นนั้น

อยู่แล้ว ซึ่งหากว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคต้องการใช้เพิ่มขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่ ด้วยจำนวนคลื่นที่ดีแทคมีน่าจะลำบากไม่น้อยหากจะทำให้สามารถใช้งานให้อย่างราบรื่น 

ลดจำนวนพนักงาน ผู้บริหาร ใหม่ – เก่า ตบแถวลาออก!!

แม้ว่าการยื่นลาออกของ ลาร์ส นอร์ลิ่ง จะเป็นสิ่งที่สร้างความหวั่นวิตก แต่ในความเป็นจริงแล้วนี่ไม่ใช้ครั้งแรกที่ ดีแทค มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารของตัวเอง หากลองมองย้อนไปในอดีต กีแทคได้เปลี่ยนตัวผู้บริหารมาแล้วหลายคน แต่ก็ยังสามารถรักษาตำแหน่งของผู้ให้บริการ No.2 มาได้อย่างยาวนาน

ซึ่งมาเสียตำแหน่งตกลงเป็น No.3 ในช่วงหลัง แต่เชื่อว่าน่าจะไม่ใช่ประเด็นหลักใจความสำคัญสักเท่าใดนัก เพราะตำแหน่งดังกล่าวเป็นการวัดที่จำนวนหมายเลขที่มีการใช้งานของผู้บริโภค ซึ่งเปลี่ยนแปลงตามจำนวนของหมายเลขของลูกค้าแบบเติมเงิน ซึ่งมีการเข้าออกจากระบบเยอะ จากการแข่งขันด้นโปรโมชั่น และราคาแพ็คเกจ 

ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่อยู่ที่เพราะเหตุใด ผู้บริหาร ในระดับสูง ของดีแทค จึงเปลี่ยนตัวอยู่บ่อยครั้ง ไล่มาตั้งแต่ในอดีตที่ทีมผู้บริหารเก่าที่ถือคีย์แมนเป็นอย่าง ดร.ชัยยศ จิรบวรกุล, ปกรณ์ พรรณเชษฐ์ , วัชหรพงษ์ ศิริพากย์ และ ภาณุพันธ์ สงวนพรรค หรือแม้แต่ ธนา เธียรอัจฉริยะ ที่ได้ออกไปก่อนหน้า

จนมาถึง สิทธิโชค นพชินบุตร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด ที่ได้ลาออกไปในช่วงปลายปีที่ผ่านมา หลังลาออกจาก ซัมซุง มาเข้ารับตำแหน่งที่ดีแทคได้เพียง 1 ปีกว่าๆ ส่วนในตำแหน่งของ CEO ก่อนมาถึงยุคของ ลาร์ส โอเคะ นอร์ลิ่ง นั้นก็มี จอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ และ ทอเร่ จอห์นเซ่น (ซึ่งระหว่างรอ จอน เอ็ดดี้ นั้น ชิกเว่ เบรคเก้ P&CEO Telenor group ได้เข้ามาดูงานบริหารชั่วคร่าว)

ซึ่งหากมองมาถึงตรงนี้ น่าจะเป็นข้อสังเกตได้ว่า ตำแหน่ง CEO ของ ดีแทค น่าจะไม่ใช่งานที่เหมาะผู้บริหารต่างชาติ เพราะไม่ว่าจะเป็นท่านใดก็ต่างไม่สามารถทำให้ดีแทคกลับคืนมาสู่ความยิ่งใหญ่ และแข่งขันได้สนุกอย่างเฉกเช่นในอดีต ที่ดีแทค มี วิชัย เบญจรงค์กุล และชิกเว่ เบรคเก้ เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมกันได้ 

dtac

ขณะที่พูดถึงในส่วนจำนวนพนักงานเองก็มีนโยบายที่จะปรับลดจำนวนพนักงานลงให้เหลือไม่เกิน 4,000 คน ภายในปี 2563 แต่จะไปเพิ่มในส่วนของพนักงานที่มีทักษะทางด้าน ดิจิทัล มากขึ้น ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใจแต่อย่างใด เพราะเรากำลังอยู่ในยุคของเทคโนโลยีเข้าไปตอบโจทย์การทำงานในหลายส่วน

และมาถึงจุดที่หลายฝ่ายกังวลว่า แล้วเมื่อสถาการณ์เป็นแบบนี้ Telenor group ในฐานะบริษัทฯแม่ของ ดีแทค จะทำอย่างไร เพราะผลกำไรที่เพิ่งกลับมาดีขึ้น อาจกลับไปลดลงได้เช่นกัน แต่เชื่อว่าเมื่อมองตัวเลขกำไรแบบ EBITDA จากกลุ่มบริษัททั้งหมด Telenor group ในภูมิภาคนี้ ดีแทค นั้นถือเป็น อันดับ 2 ในช่วง 2 ปี

จึงเป็นไปได้ยากที่ทาง Telenor group จะปล่อย ดีแทค ให้ย่ำแย่อย่างต่อเนื่อง แม้ว่ากำไรสุทธิจะโตไม่มากในช่วงปี 2017 เพียงแต่อาจจะต้องตอบคำถามนักลงทุนให้ได้ว่า

dtac

การเลือก CEO คนถัดไป ควรจะต้องเป็นใคร หากใช้ผู้บริหารจากต่างประเทศจะตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคชาวไทย แล้วจะทันต่อการการประมูลคลื่นที่กำลังจะเกิดขึ้น หรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นใคร งานนี้เรียกว่า หินเอาเรื่อง ด้วยสถาการณ์การแข่งขัน และเวลา ที่เหลือมีอยู่

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่