ในช่วงนี้ใครๆก็พูดถึงนโยบายไทยแลนด์ 4.0 (Thailand 4.0) ที่จะนำพาประเทศไทยก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจใหม่ ก้าวไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม จากนโยบายของภาครัฐที่มีความชัดเจน ทำให้หลายธุรกิจเริ่มปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อเตรียมพร้อมกับการแข่งขันทางธุรกิจ

thailand-4-0

 

ปัจจุบันหลายธุรกิจให้ความสำคัญในการพิ่มศักยภาพภาพทางด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรกันมากขึ้น เนื่องจากตระหนักดีแล้วว่าปัจจุบันมีธุรกิจเกิดใหม่ที่อาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอย่างสตาร์ทอัพ พร้อมเข้ามาแข่งขันในโลกการค้าได้ตลอดเวลา

4 เทรนด์ไอที ที่ธุรกิจควรให้ความสำคัญ

บัณฑิต ว่องวัฒนะสิน กรรมการผู้จัดการ บจก. อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์  หรือ ISSP

 

บัณฑิต ว่องวัฒนะสิน ไอเอสเอสพี กล่าวว่า จากแนวโน้มของเทรนด์เทคโนโลยีในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล องค์กรธุรกิจควรพิจารณาเพื่อนำมาปรับใช้ให้ธุรกิจสามารถจะเติบโตและก้าวไปพร้อมๆ กับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้วย 4 เทรนด์ไอที ดังนี้

1. โมบายเทคโนโลยี (Mobile Technology) นับเป็นเทคโนโลยีที่ใกล้ชิดคนไทยมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้บริโภคที่หันมานิยมใช้สมาร์ทโฟน, แวร์เอเบิล, แท็บเล็ต และอุปกรณ์เชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น และมีบทบาทสำคัญอย่างมากในชีวิตประจำวัน ผู้บริโภคมีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป อุปกรณ์โมบายกลายเป็นส่วนหนึ่งในทุกกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพื่อการสื่อสาร อัพเดตสถานการณ์ข่าวสาร การติดตามความเคลื่อนไหวของเพื่อน ครอบครัว ดารานักแสดง นอกจากนั้นยังมีการซื้อสินค้าและการใช้จ่ายต่างๆ หรือแม้แต่การใช้หาข้อมูลความรู้ที่ต้องการ รวมทั้งการแสดงออกทางความคิดเห็นต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ผ่านอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อไปในเครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่าง Facebook, Line, Instagram, WhatsApp ฯลฯ ซึ่งจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปดังกล่าว ทำให้ภาคธุรกิจต้องหันมาสนใจในการคิดค้น และพัฒนาโมบายเทคโนโลยี หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งใช้ช่องทางดังกล่าวเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกค้าและองค์กรอย่างใกล้ชิด
2. อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (Internet of Things หรือ IoT) IoT กำลังเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการผสานรวมโลกแห่งความเป็นจริงกับโลกดิจิทัลเข้าไว้ด้วยกันอย่างรวดเร็ว ตลอดจนสร้างโอกาสและความท้าทายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนสำหรับองค์กรธุรกิจ จากการที่โมบายเทคโนโลยีแพร่หลาย ผู้คนเริ่มคุ้นชินกับการใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อควบคุม หรือใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตมากขึ้น องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวแล้วนำระบบดิจิทัลกำลังเข้าไปเปลี่ยนโมเดลธุรกิจที่ใช้ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบเดิมๆ ให้สามารถเชื่อมต่อกับสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้ ด้วยการนำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยงทุกส่วนให้กลายเป็นระบบอัจฉริยะ และเป็นแนวทางที่สามารถปฏิบัติได้จริง เพื่อผลักดันมูลค่าของธุรกิจให้ก้าวสู่ระดับที่ใหญ่ขึ้น เติบโตขึ้นได้ในยุคของเศรษฐกิจดิจิทัล
3. บิ๊กดาต้า (Big Data) ด้วยผลจากการแพร่หลายของเทคโนโลยี อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ทันสมัย สัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุม และพฤติกรรมผู้บริโภคที่ทำให้เกิดข้อมูลต่างๆ เกิดขึ้นมากมายบนโลกดิจิทัล ทั้งข้อมูลที่มีโครงสร้างและข้อมูลไร้โครงสร้างซึ่งล้วนแล้วแต่มีมูลค่ามหาศาลต่อธุรกิจในยุคนี้ และเพื่อต้องการเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค ไม่จำเป็นต้องใช้เวลานานในการเก็บข้อมูล เนื่องจากเทคโนโลยีจากคลาวด์โซลูชั่นสามารถจับข้อมูลต่างๆ บนโลกออนไลน์ได้อย่างรวดเร็วยกตัวอย่างบริการที่ไอเอสเอสพีมีอย่าง “Oracle Social Relationship Management” (Oracle SRM) ซอฟต์แวร์ที่ทำงานบนคลาวด์ มีฟังก์ชั่นในการจับฟีดแบ็คของผู้บริโภคจากเว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์ อาทิ Facebook, Twitter, LinkedIn, Google +, YouTube และเพจโซเชียลอื่นๆโดยนำข้อมูลที่ได้จากโพสต์และความคิดเห็นต่างๆมาประมวลผล และยังมีเครื่องมือที่สามารถติดต่อสื่อสารกับกลุ่มผู้บริโภคได้ในระยะเวลารวดเร็ว ซึ่งจะช่วยตอบโจทย์ทางธุรกิจให้กับนักการตลาดที่ต้องการความรวดเร็วของข้อมูล ได้มีเครื่องมือในการมอนิเตอร์และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดทิศทางในการทำการตลาดได้อย่างทันท่วงที สามารถแข่งขันและก้าวเป็นผู้นำทางการตลาดยุคดิจิทัลได้โดยง่าย

4. คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) เป็นตัวเลือกที่องค์กรหลายแห่งทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่หันมาให้ความสำคัญ ให้ความเชื่อมั่นในระบบความปลอดภัยและความเสถียร เพื่อนำมาใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร เพื่อลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากคลาวด์คอมพิวติ้งเป็นการเช่าใช้บริการเป็นรายเดือน มีผู้เชี่ยวชาญระบบคอยดูแลให้ตลอด 24 ชั่วโมง และเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยน จะมีการอัพเดตให้ใหม่เสมอ ยกตัวอย่างโซลูชั่นคลาวด์ของไอเอสเอสพี อย่างชุดโปรแกรมการทำงาน Office 365, ERP ระบบบริหารจัดการองค์กรแบบครบวงจร ด้วยเทคโนโลยีของ SAP Business One ที่พร้อมรองรับการทำงาน ทั้งด้านการเงิน, การบัญชี, การขาย, การให้บริการ, การจัดซื้อ, ระบบสินค้าคงคลัง, การผลิต รวมไปถึงระบบโลจิสติกส์ ที่มีสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง และเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงลูกค้า

ทางไอเอสเอสพียังมีเว็บไซต์สำเร็จรูป (Web Builder , e-commerce) ให้เลือกใช้บริการได้ตามความต้องการที่หลากหลาย ที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว เช่น ระบบหน้าเว็บไซต์ที่เหมาะกับอุปกรณ์สมาร์ทโฟน ด้วยพื้นที่เว็บไซต์มากถึง 10 GB ที่มาพร้อมระบบบริหารจัดการสินค้า ทำให้สามารถวางแผนการสั่งซื้อ และการส่งของให้ลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทุกอย่างล้วนอยู่บนคลาวด์ องค์กรธุรกิจไม่จำเป็นต้องลงทุนระบบไอที เซิร์ฟเวอร์ต่างๆเอง ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายของธุรกิจได้ และยังเพิ่มความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยได้ด้วยมาตรฐานระดับโลกที่เป็นพาร์ทเนอร์กับทางไอเอสเอสพีอีกด้วย
ทั้ง 4 เทคโนโลยีนี้จะขับเคลื่อนองค์กรธุรกิจ ให้สามารถก้าวไปพร้อมกับแผนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างไรและเมื่อไร ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวและเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อข้ามผ่านยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปแปลงอย่างรวดเร็วนี้ได้อย่างสง่างาม และท้ายที่สุดแล้วแทรนด์ธุรกิจและเทคโนโลยีใหม่ๆ จะนำพาให้เดินไปในเส้นทางไหน ย่อมเป็นสิ่งที่เราต้องจับตามองกันต่อไป