ทุกวันนี้ อุตสาหกรรมต่าง ๆ กำลังได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีสิ่งที่เรียกว่า IIoT (Industrial Internet of Things) หรือ  อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งสำหรับอุตสาหกรรม ซึ่งกำลังเข้ามาเปลี่ยนกระบวนการแบบเดิม ๆ คำถามคือ อุตสาหกรรมต่าง ๆ จะเริ่มต้นอย่างไรเพื่อก้าวสู่ยุคที่เรียกว่า Industry 4.0 ได้

ฉลาก และบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะที่เชื่อมโยง (IIoT ) จุดเริ่มต้นที่ดี ของอุตสาหกรรมยุคที่ 4

กระแสอุตสาหกรรม 4.0 เทคโนโลยี ที่ถูกพูดถึงกันมากที่สุดเทคโนโลยีหนึ่ง คงหนีไม่พ้น Industrial Internet of Things หรือ ไอไอโอที (IIoT) ซึ่งถูกนำมาใช้มากขึ้นในปัจจุบัน  เพื่อพัฒนาระบบอัตโนมัติที่สำหรับใช้ควบคุมการผลิตแบบแยกส่วน (Discrete Manufacturing)  ซึ่งมีเป้าหมายที่จะช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ผลิต

โดยทำให้การสำรองสินค้าคงคลังและการใช้พลังงานภายในโรงงานลดลง  ในขณะที่การควบคุมการผลิตและคุณภาพของสินค้ากลับมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น   รวมถึงโรงงานผู้ผลิตยังได้รับข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานต่างๆ เพื่อนำไปปรับปรุง พัฒนา ทั้งด้านการผลิต บรรจุภัณฑ์และสินค้าใหม่ในอนาคต

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คืออุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ที่ไม่ใช่เพียงผู้ผลิตเท่านั้นแต่ผู้บริโภคเองก็ได้รับประโยชน์ จาก ไอไอโอที เช่นเดียวกัน  โดยการนำ ไอไอโอที มาปรับใช้กับฉลากและบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ  ซึ่งโรงงานผู้ผลิตสามารถบันทึกข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้าลงไปในฉลากหรือบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะได้

รวมถึงยังสามารถติดตามตรวจสอบสินค้าระหว่างการขนส่งไปจนถึงมือผู้บริโภค  โดยผ่านเทคโนโลยีการตรวจรับข้อมูล  ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดของวัตถุดิบ  ข้อมูลอายุการใช้งาน และการเก็บรักษา  สารประกอบที่อาจก่อให้เกิดภูมิแพ้ วันหมดอายุ หรือข้อมูลอัพเดทอื่น ๆ ที่สำคัญ

ทำให้ฉลากอัจฉริยะกลายเป็นเครื่องมือป้องกันการปลอมแปลงสินค้า ปัญหาการปนเปื้อนสินค้า การขโมยสินค้า ทั้งยังเป็นตัวช่วยยืดอายุสินค้า ให้กับวงการอาหาร และบรรจุภัณฑ์

IIoT

เทคโนโลยีสอดรับกับธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม

ดังนั้น หากอุตสาหกรรม ต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง การเริ่มต้นจากการใช้ ฉลาก และบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ  ถือเป็นอีกทางเลือกที่ดี และจะเป็นฟันเฟืองสำคัญในกลไกการขับเคลื่อนธุรกิจของท่านก้าวเข้าสู่ยุคของอุตสาหกรรม 4.0  ได้ ซึ่งการเกิดขึ้นของฉลาก และบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ

เนื่องจากวันนี้เครื่องพิมพ์ระบบดิจิทัลได้ก้าวหน้าไปมาก โดยสามารถรองรับงานพิมพ์ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด และรองรับความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย ทั้งในเรื่องกระบวนการพิมพ์ที่ใช้เวลาน้อยที่สุด มีคุณภาพสูง  ต้นทุนต่ำ

อีกทั้งยังพิมพ์ได้บนวัสดุหลากหลายประเภท  ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ โพลีไวนิล หรือฟอยล์ ยิ่งไปกว่านั้น เครื่องพิมพ์ระบบดิจิทัลยังสามารถผลิตฉลากสำหรับสินค้าทุกประเภท รวมถึงฉลากชิงค์สลีฟ (Shrink sleeves) สำหรับบรรจุภัณฑ์ประเภทขวด กล่องกระดาษแข็ง ป้ายแท็กสินค้า ป้ายติดชั้นวางสินค้า

อีกด้วย ซึ่งการใช้เครื่องพิมพ์ที่สามารถใช้กับงานเฉพาะทาง จะช่วยให้ธุรกิจสามารถส่งมอบสินค้าให้ทันเวลา (Just In Time)

นอกจากนี้ในการนำไปใช้ในระบบซัพพลายเชนในปัจจุบัน  บรรจุภัณฑ์ที่มีฉลากพิมพ์ด้วยระบบดิจิทัล  นั้นสามารถสร้างประโยชน์ให้กับเจ้าของแบรนด์ได้มากกว่าการเป็นแค่เครื่องมือสร้างความแตกต่างให้กับสินค้า เช่น เมื่อแบรนด์ขนมขบเคี้ยวต้องการสร้างภาพลักษณ์สินค้าใหม่

ทีมพัฒนาสินค้าจะใช้เครื่องพิมพ์ระบบดิจิทัล  พิมพ์ฉลากต้นแบบแต่ละรสชาติบนฟอยล์  แล้วนำไปขึ้นรูปเป็นถุง และใส่สินค้าจริงก่อนนำไปขายในร้านค้า เพื่อทดลองตลาดก่อน  ซึ่งการทำเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้มาก

แต่ยังช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับทีมงานที่รับผิดชอบการในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของสินค้า อีกด้วย ตัวอย่างที่ชัดเจนมากที่สุดของการเปลี่ยนแปลงด้วยการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีฉลากพิมพ์ด้วยระบบดิจิทัล  คือ บริษัท โคคา โคล่า อิสราเอล (ปี 2551)

ได้ใช้เครื่องพิมพ์ระบบดิจิทัลมาสร้างความฮือฮาในแคมเปญ Refresh Your Sprite โดยเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการออกแบบฉลากกระป๋องสไปรท์ของตัวเอง  ซึ่งแคมเปญนี้ได้รับการตอบรับอย่างท่วมท้น โดยมีดีไซน์ฉลากส่งเข้ามายังเว็บไซต์ของแคมเปญมากกว่า 1 แสนแบบเลยทีเดียว

IIoT

ไม่เพียงแต่ฉลาด และสะดวก แต่ปกป้องแบรนด์สินค้าได้

นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะยังช่วยให้เกิดการป้องกันการปลอมแปลงสินค้าได้ โดยเมื่อใช้ร่วม กับระบบการตรวจสอบหมายเลขกำกับ อาทิ บาร์โค้ด (Barcode) คิวอาร์โค้ด (QR Code) และแถบสีที่ใช้เสริมหรือแทนเทคโนโลยี (RFID)  ผ่านอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกัน ระบบก็จะสามารถติดตามสถานะการขนส่งสินค้า

การตรวจสอบทะเบียนประวัติ และระเบียบข้อกำหนดทางอิเล็กทรอนิกส์ การตรวจรับรองสินค้า และการตรวจพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เพื่อป้องกันการปลอมแปลง  ซึ่งในส่วนของโรงงานผู้ผลิตเองก็สามารถเลือกที่จะพิมพ์ภาพหรือเนื้อหาประกอบสินค้าลงไปในบรรจุภัณฑ์ได้อีกด้วย

โดยเรื่องของการปลอมแปลงสินค้า นั้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในแวดวงอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ไวน์ คือ สินค้าที่ประสบปัญหาการปลอมแปลงอย่างมาก การปลอมแปลงสินค้าได้ ทำให้ผู้ผลิตเสียชื่อเสียง และเสียความสัมพันธ์กับลูกค้า

อย่างไรก็ดีล่าสุดปัจจุบันเริ่มมีใช้เทคโนโลยีทางด้านงานพิมพ์มาแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยผู้ผลิตไวน์เกรดพรีเมียมอย่าง Grand Vin ของฝรั่งเศส ได้ใช้ฉลากอัจฉริยะ  ที่ไม่เพียงแต่จะมีข้อมูลต้นกำเนิดสินค้าที่เป็นรหัสข้อมูลลับ ข้อมูลย้อน กลับถึงขั้นตอนการบรรจุไวน์ลงขวด รหัสโลจิสติกส์เฉพาะ

ทำให้วันนี้ผู้เกี่ยวข้องกับ Grand Vin  สามารถตรวจสอบไวน์แต่ละขวดได้ ตั้งแต่ขั้นตอนการขนส่ง ข้อมูลเพิ่มเติมในรูปแบบตัวอักษรขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จึงยากมากที่จะลอกเลียนแบบ  นอกจากนี้ยังมีรหัส CRM ซึ่งเป็นรหัสที่สุ่มสร้างขึ้นมาให้มีเอกลักษณ์เฉพาะ  เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยและช่วยบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์อีกด้วย

ดังนั้นหากกล่าวว่าวันนี้การใช้ฉลากอัจฉริยะที่พิมพ์ด้วยระบบดิจิทัล  คือการรับประกัน 100% ว่าสินค้าเป็นของแท้ สามารถตรวจสอบ ย้อนกลับไปยังที่มาของสินค้านั้นได้ นับว่าเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าสินค้าเป็นของแท้ และเป็นของที่มีคุณภาพ

ก็คงไม่ใช่คำกล่าวที่เกินจริงไปนัก แถมฉลากเหล่านี้ยังสร้างโอกาสให้แบรนด์ได้ใกล้ชิดกับผู้ซื้อสินค้าเพื่อปูทางสู่การเพิ่มยอดขายในอนาคตได้อีกทางด้วย

IIoT

เอปสัน (EPSON) พร้อมช่วยธุรกิจก้าวสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ที่ฉลาดขึ้น

เพื่อช่วยธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอปสัน ได้ร่วมกับโรงงานผลิตหลายรายจัดทำโซลูชั่น RFID ฉลากสีที่ใช้ในการใส่รหัสสี เพื่อแยกแยะสินค้าในคลังสินค้าให้ง่ายขึ้น สะดวกกว่าการต้องอ่านข้อมูลจากบาร์โค้ด

ทั้งนี้ ข้อมูลที่เข้ารหัสไว้ในฉลาก RFID จะทำหน้าที่ ระบุตัวชิ้นสินค้า ตรวจสอบสถานะการขนส่ง บริหารการจัดสินค้าคงคลัง และยังช่วยป้องกันการปลอมแปลงสินค้าได้ด้วย

โดยปัจจุบันเอปสันมีเครื่องพิมพ์ที่เหมาะกับงานพิมพ์ฉลากที่รองรับตั้งแต่ธุรกิจขนาดเล็กไปยังธุรกิจโรงพิมพ์ขนาดใหญ่ อาทิ Epson Color Works เหมาะกับธุรกิจ SME หรือ OTOP ที่มีปริมาณงานพิมพ์น้อย และ Epson SurePress เหมาะกับงานบรรจุภัณฑ์หรือแพ็คเกจจิ้งจำนวนมาก

โดยผู้ประกอบการสามารถเลือกกลุ่มและรุ่นสินค้าให้เหมาะกับขนาดธุรกิจของตนเอง  ก้าวต่อไปสำหรับบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มยุคอุตสาหกรรม 4.0 คือการ บูรณาการตัวบรรจุภัณฑ์เข้ากับเทคโนโลยี ไอไอโอที โดยสมบูรณ์ ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงระบบซัพพลายเชนทั้งหมด

ตั้งแต่ ผู้ผลิต ผู้ขนส่ง ผู้ค้าปลีก ไปจนถึง ผู้ให้บริการอาหารและเครื่องดื่มเข้าด้วยกัน ทุกฝ่ายสามารถติดตามตรวจสอบ คุณภาพอาหารได้ตลอดทุกขั้นตอน ข้อมูลอัพเดทต่างๆ สามารถส่งถึงและบันทึกลงในบรรจุภัณฑ์หรือฉลาก อัจฉริยะ

IIoT

เมื่อสแกนบรรจุภัณฑ์หรือฉลากด้วยอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับซอฟท์แวร์วิเคราะห์ข้อมูลผ่านระบบคลาวด์ ก็จะทราบข้อมูลที่จำเป็นต่างๆ ซึ่งสามารถนำให้ปรับปรุงธุรกิจและช่วยสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคได้อีกด้วย แน่นอนว่าบรรจุภัณฑ์แบบดั้งเดิมยังคงช่วยสร้างความโดดเด่นให้กับแบรนด์สินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ต่างๆได้

แต่บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะคือมาตรฐานใหม่ที่ให้ทั้งความสะดวก สบาย คุ้มค่า และอเนกประสงค์ เพิ่มขึ้นจากการใช้เครื่องพิมพ์ระบบดิจิทัล ซึ่งเป็นเทรนด์ใหม่ที่ทำให้เกิดการช็อปปิ้งแบบอินเตอร์แอ็คทีฟ และทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และผู้บริโภคเหนียวแน่นยิ่งขึ้นกว่าที่เคย…

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุมุ่งเพื่อโจมตี หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Reporters)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่