Aruba

อรูบ้า (Aruba) แนะองค์กรธุรกิจไทยเร่งปรับตัวรับรูปแบบของการทำงานแบบ Digital Workplace ซึ่งจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในงานทำงาน และเพิ่มความปลอดภัย

Aruba แนะองค์กร เร่งปรับตัวสู่ Digital Workplace

Aruba

Justin Chiah ผู้อำนวยการอาวุโส และผู้จัดการทั่วไป ประจำภาคพื้นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ปละประเทศไต้หวัน กล่าวว่า ความสำคัญของภาคธุรกิจยุคนี้ คือ การปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้น คือ หากคิดจะเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่รูปแบบการของใช้เทคโนโลยี (Digital Transformation) โดยทุกวันนี้เกือบแทบจะทุกองค์กรต้องพบกับความท้าทายในเรื่องที่ต้องจัดการสภาวะแวดล้อมซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงสูงและไม่สามารถคาดการณ์ได้

ซึ่งเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมาก่อนหน้านี้เพื่อบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานของระบบเครือข่ายไม่สามารถใช้เพื่อขยายประสบการณ์ที่น่าพึ่งพอใจในการใช้งานแก่ผู้ใช้ได้ วันนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านประจำองค์กร ต้องการเครื่องมือใหม่ที่ทันสมัยใช้แก้ปัญหาเรื่องประสิทธิภาพได้แบบล่วงหน้า ให้ความเข้าใจเชิงลึกถึงสาเหตุที่เป็นไปได้ทั้งหลาย

และสามารถให้ข้อแนะนำทำการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบ (Configuration Changes) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเครือข่ายก่อนที่จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของเหล่าผู้ใช้ ร่วมถึงสามารถการดำเนินธุรกิจเพื่อที่จะสามารถระบุปัญหาเหล่านี้ได้ล่วงหน้า อีกทั้งยังต้องสามารถวิเคราะห์หาข้อมูลเชิงลึกในกรณีเกิดความผิดปกติ

และให้ข้อแนะนำที่ดีที่สุดในการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ระบบเครือข่าย สำหรับการใช้งานของพนักงานในยุคโมบายเฟิร์ส และสำนักงานที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์ IoT โดยใช้ข้อมูลการเชื่อมต่อของผู้ใช้ไปปรับปรุงให้ดีมากขึ้น

Aruba

ด้าน ประคุณ เลาหกิตติกุล ผู้จัดการประจำประเทศไทย อรูบ้า หนึ่งในบริษัทของฮิวเลตต์ แพคการ์ด เอ็นเตอร์ไพรส์กล่าวว่า  ในปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เริ่มมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเป็นผลอันเนื่องมาจากการตื่นตัวในการใช้อุปกรณ์พกพา

และการเพิ่มขึ้นของคนรุ่นยุคมิลิเนียน และนโยบายของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ทั่วทั้งเอเชียที่สนับสนุน และผลักดันการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสังคมให้เป็นดิจิตอลในระดับกว้างขวาง (Mass digitization) ซึ่งจากแนวโน้มดังกล่าวจะทำให้ ในอนาคตการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะยิ่งขยายตัวมากขึ้น

จากการเข้ามาของทุนของบริษัทข้ามชาติ ในส่วนขององค์กรธุรกิจต่าง ๆ เองก็ขยับใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของตนเองมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ คลาวด์ (Cloud Computing) เพื่อเพิ่มความคล่องตัว หรือการลงทุนด้านระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic)

เพื่อรองรับการเกิดขึ้นของยุค “อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง” (IoT) ที่วันนี้สามารถนำไปต่อยอดบริการในรูปแบบใหม่ๆ หรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และสร้างสภาพแวดล้อมการทำงาน เพิ่มความผูกพัน และเสริมประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจได้

สำหรับประเทศไทยเองหลังจากที่ประกาศที่จะก้าวเข้าสู่การขับเคลื่อน และพัฒนาเศรษฐกิจประเทศด้วยเทคโนโลยี ตาม นโยบาย “Thailand 4.0”  ทำให้ปัจจุบันเกิดการผลักดันให้ทำการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในการเชื่อมต่อทั้งหลายของประเทศให้ดีขึ้น และเพิ่มความสามารถให้แก่องค์กรธุรกิจมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยจากรายงานการศึกษาในระดับสากล ในเรื่องของศักยภาพของสำนักงานยุคดิจิทัล (Digital Revolutionaries Unlock of the Digital Workplace) จากพนักงานทั่วโลกจำนวน 7,000 คน ใน 15 ประเทศ เราพบว่า การที่พนักงานที่ได้ทำงานในสภาวะแวดล้อมของการทำงานที่เอื้อให้เกิดการทำงานที่ทันสมัย

ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Workplace) จะมีผลการของการทำงานที่ดีขึ้น เพราะมีความพึงพอใจ ในการทำงานสูงขึ้น มีแรงจูงใจใหม่ ๆ นอกจากนี้ยังมีรูปแบบของการใช้ชีวิตโดยรวมดีขึ้น แต่เมื่อมองกลับไปที่องค์กรที่เปลี่ยนแปลงได้น้อย ยึดติดรูปแบบเก่า ๆ มีการเปลี่ยนใช้เทคโนโลยีน้อย

และไม่สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงาน ให้แก่บุคลากรในองค์กรของตนเอง จะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าองค์กรที่เปลี่ยนแปลงใช้เทคโนโลยี โดยมีความเป็นไปได้อย่างมากที่จะถูกคู่แข่ง แซงหน้า ซึ่งปัจจุบันเราจะเห็นองค์กรธุรกิจที่เกิดขึ้นมามาใหม่ แต่สามารถล้มผู้นำในธุรกิจเก่าลงได้อย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ องค์กรที่เปลี่ยนแปลงน้อยจะไม่สามารถสร้างแรงจูงใจในการดึงดูดบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความสามารถเข้ามาทำงานด้วยได้ และอาจมีโอกาสอย่างมากที่จะเสียบุคลากรเดิม ที่มีอยู่ หากบุคลากรเหล่านั้นมีโอกาสที่จะทำงานในองค์กรที่มีความยืดหยุ่น

และสอดรับกับวิถีชีวิตที่ผูกพันกับดิจิทัลมากขึ้น (Digital Savvy Employee) ซึ่งแน่นอนคาบเกี่ยวเรื่องของการสร้างความปลอดภัยในส่วนของข้อมูลขององค์กรด้วย 

Aruba

สรุปประเด็นสำคัญ

การทำงานที่ได้ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ 

  • 51% ของพนักงานที่มีโอกาสได้ใช้เทคโนโลยีในการทำงานมีความพึงพอใจค่อนข้างสูง
  • 43% ของพนักงานที่สามารถใช้เทคโนโลยีในการทำงาน มีความรู้สึกเชิงบวก ว่าสามารถสร้างสมดุลในชีวิตการทำงาน และชีวิตส่วนตัว (Work-Life Balance) มากกว่า พนักงานที่ทำงานในบริษัทที่ล้าหลังในด้านการใช้เทคโนโลยี (Digital Laggards)
  • 56% ของพนักงานที่การทำงานด้วยเทคโนโลยี มีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น
  • 83% ของพนักงานจะมีความรู้สึกชื่นชมในวิสัยทัศองค์กรที่ตนเองทำงานอยู่

สร้างโอกาสในพัฒนาความเชี่ยวชาญ

  • ุ65% ของพนักงานที่ได้ใช้เทคโนโลยี เชื่อว่าสามารถพัฒนาความเชี่ยวชาญได้มากขึ้นถึง 73% และมีโอกาสเติบโตในหน้าที่การงาน 
  • 31% ของพนักงานที่ทำงานในองค์กรที่ล้าหลัง และใช้เทคโนโลยีน้อย เชื่อว่าจะไม่สามารถพัฒนาความเชี่ยวชาญได้

ผลงานเพิ่มขึ้น

  • 73% ของพนักงานที่ได้ใช้เทคโนโลยี เชื่อว่าตนเองได้รับผลกระทบเชิงบวกมากขึ้นในการทำงาน
  • 70% ของพนักงานที่ได้ใช้เทคโนโลยี ยืนยันว่าทำให้เกิดการร่วมมือการทำงาน (Collcboration) ดีขึ้น
  • 55% ของพนักงานที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยี เชื่อว่าทำให้เกิดการร่วมมือการทำงาน (Collcboration) ไม่มาก

ความก้าวหน้าเทคโนโลยี และระบบอัตโนมัติ (Automation) สร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้น

  • 71% ของพนักงาน ยอมรับการทำงานร่วมกับระบบอัตโนมัติ ภายใน 5-10 ปี

ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น

  • 98% ของพนักงานในเอเซียแปซิฟิก เชื่อว่าองค์กรตนเองควรปรับปรุง และใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้น
  • 70% ของพนักงานในเอเซียแปซิฟิก เห็นว่าองค์กรของตนจะล้าหลังกว่าคู่แข่งถ้ายังไม่มีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ
  • 67% ของพนักงานในเอเซียแปซิฟิก เชื่อว่าสำนักงานแบบดั้งเดิมจะกลายเป็นเรื่องล้าสมัย เพราะเทคโนโลยีก้าวล้ำหน้าขึ้นไปเรื่อย ๆ
  • 75% ของพนักงานในเอเซียแปซิฟิก บอกว่าบริษัทของตนได้ลงทุนในการสร้างเครื่องมือดิจิทัลในที่ทำงานในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ และสนใจจะลงทุนมากขึ้นในเทคโนโลยีใหม่ๆ ล้ำสมัย อันได้แก่ เครื่องมือในการควบคุมอาคารอัจฉริยะ (smart building tools) ที่ทำงานโดยอัตโนมัติในการควบคุมอุณหภูมิและแสง (14%) เทคโนโลยีที่สามารถสั่งงานได้ด้วยเสียงและเครื่องรับส่งสัญญาณภาพและเสียงแบบไร้สาย (wireless AV) (16%) และทำแอพบนอุปกรณ์พกพาให้ใช้ทำงาน (11%)
  • พนักงานในเอเซียแปซิฟิก เชื่อว่า เทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น (63%) ทำให้ทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น (53%) และมีบรรยากาศดึงดูดให้น่าทำงานมากขึ้น (52%)

ความท้าทายด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ (cybersecurity)

  • 56% ของพนักงานในเอเซียแปซิฟิก มักจะคิดถึงเรื่องความปลอดภัยอยู่บ่อย ๆ หรือในแต่ละวัน และยอมรับว่าตนเองอาจมีส่วนในเรื่องความเสี่ยงต่อข้อมูลและอุปกรณ์ต่าง ๆ ขององค์กร
  • 73% ของพนักงานในเอเซียแปซิฟิกยอมรับว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงอย่างเช่นแบ่งปันการใช้รหัสผ่านและอุปกรณ์ร่วมกับคนอื่น
  • 25% หรือ 1 ใน 4 ของพนักงานในเอเซียแปซิฟิก ยอมรับว่าเคยเชื่อมต่อเข้า Wi-Fi สาธารณะที่ค่อนข้างไม่ปลอดภัยภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา และ 20% ตอบว่าตัวเองใช้รหัสผ่านเดียวกันกับหลายแอพพลิเคชั่นและบัญชีผู้ใช้ และ 17% ยอมรับว่ามีการเขียนรหัสผ่านของตนไว้ป้องกันการลืม

หนทางสู่อนาคต

การค้นพบเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าบริษัทต่าง ๆ ควรที่จะรีบนำผลดีทางเทคโนโลยีของการมีสำนักงานยุคดิจิทัลมาปรับใช้งานเสียทีในขณะเดียวกันก็มองหาหนทางลดความเสี่ยงต่อความปลอดภัยลงให้เหลือน้อยที่สุดด้วย อรูบ้ามีข้อเสนอแนะองค์กรต่าง ๆ ควรจะดำเนินการดังต่อไปนี้ :

  • นำกลยุทธ์การมีสำนักงานยุคดิจิทัลมาใช้เสียที: แผนก IT จำเป็นต้องทำงานกับผู้จัดการธุรกิจ ผู้ใช้งานและผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาให้เป็นสำนักงานยุคดิจิทัลมากขึ้น โดยจะต้องรวมถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ล้ำยุคที่ที่บริษัทก้าวหน้าเหนือบริษัทอื่นมาใช้ อย่างเช่น เซนเซอร์แบบชาญฉลาด (smart sensor) และแอพบนอุปกรณ์พกพาที่ปรับใช้ตามความต้องการขององค์กร ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเพิ่มประสบการณ์ส่วนบุคคลที่พึงปรารถนากับสถานที่ทำงานมากขึ้น
  • สร้างสำนักงานยุคดิจิทัลที่เหมาะสำหรับการทำงานร่วมกัน : บริษัทจะต้องคิดว่าสำนักงานในยุคดิจิทัลนี้กว้างไกลกว่าพื้นที่จริง ๆ ในสำนักงานใหญ่ จะต้องรองรับการทำงานของพนักงาน คู่ค้าหรือลูกค้าที่เชื่อมต่อเข้ามาสู่ระบบจากที่พื้นที่ห่างไกล (remote) ด้วย ผู้นำทางด้าน IT จำเป็นต้องวางแผน ลงทุน สำหรับการสร้างสภาพแวดล้อมทางการทำงานที่ไร้พรมแดนนี้

สร้างความปลอดภัยตั้งแต่ระดับพื้นฐานขึ้นมา : บริษัทจะต้องออกแบบสำนักงานยุคดิจิทัลให้มีความปลอดภัยในฐานะเป็นส่วนสำคัญมาก ๆ  จะต้องคิดล่วงหน้าถึงเรื่องความผิดพลาดของมนุษย์ที่อาจเกิดขึ้นรวมทั้งการเข้ามาของผู้ประสงค์ร้าย เพื่อที่จะให้มีความปลอดภัย ผู้ดูแล IT จะต้องมองหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในด้านระบบเครือข่าย การประมวลผลแบบคลาวด์ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเรียนรู้ของจักรกล (machine learning) เข้ามาใช้

การศึกษาระดับสากลครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การเลือกได้ (choice) ความเป็นส่วนตัว (personalization) ความสะดวกในการใช้งาน (ease) และระบบอัตโนมัติ (automation) จะให้ผลดีทั้งระดับในการดำเนินงานและผลประกอบการขององค์กรที่ได้มีการปรับเปลี่ยนที่ทำงาน

ให้รองรับแนวโน้มอนาคตนี้ ที่ทำงานของเราเองเป็นเสมือนห้องทดลองมีชีวิตของสำนักงานยุคดิจิทัลอัจฉริยะและเราเห็นผลลัพธ์จากการที่เราสามารถหาพนักงานใหม่ ๆ ที่ชาญฉลาดมาบรรจุเข้าทำงานกับเราได้เร็วขึ้น

และพนักงานเก่าชั้นยอดล้วนยอมรับตำแหน่งงานที่สูงขึ้นในองค์กรโดยไม่ลาออกไปอยู่ที่อื่น เป็นผลดีที่จับต้องได้และมากกว่าในเรื่องของผลสำเร็จในการทำงานที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

Aruba

ด้าน ดร.กริชผกา บุญเฟือง รองผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า การ เราต้องยอมรับก่อนว่าเราก้าวสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง เราไม่ได้อยู่ในยุคเก่า ที่รอให้ผู้บริโภคต้องการก่อ แล้งจึงค่อยสร้าง

แต่เราต้องก้าวไปสู่การเรียนรู้ที่จะสามารถเข้าใจในความต้องการของผู้บริโภคได้ก่อนที่ผู้บริโภคจะต้องการ ซึ่งจะไปถึงจุดนั้นได้เราต้องใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ และสร้างนวัตกรรม จากข้อมูลที่เกิดขึ้น ได้อย่างเรียลไทม์ ทันต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของผู้บริโภค และทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ และเอกชน

ด้าน เอเดียน ฮาร์วิตโจนส์ รองประธานฝ่าย Desigh and Technical Services Centare Hotels & Resorts กล่าวว่า การใช้เทคโนโลยี ที่ทันสมัยจาก อรูบ้า ทำให้เราสามารถบริหารจัดการระบบงานภายในโรงแรมได้ดีกว่าที่เป็น ทำให้พนักงานของเราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว 

อีกทั้งยังช่วยให้เราสามารถนำข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ มาสร้างบริการใหม่ ๆ ซึ่งทำให้ลูกค้าที่ใช้บริการของโรงแรมมีประสบการณ์ที่ดีมากขึ้นในการใช้บรการของเรา 

ส่วนขยาย

* บทความนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อวิเคราะห์ในแง่มุมที่น่าสนใจ ไม่มีวัตถุประสงค์มุ่งเพื่อโจมตีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง 
** Compose : ชลัมพ์ ศุภวาที (Editors and Digital Content)
*** ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก www.pexels.com

สามารถกดติดตาม ข่าวสาร และบทความทางด้านเทคโนโลยี ของเราได้ที่