For the foreign department's series on dementia. Jennifer Yang travels to Japan, the world's first super-aged country, to see how the Asian nation is coping with dementia. She sees how a nation is reshaping itself to tackle this growing public health issue and meets a robot named Paro, a baby harp seal designed to alleviate the behavioural and psychological symptoms of the disease. Photos by freelance photographer Motonari Tagawa.
หากพูดถึงหุ่นยนต์ ก็คงไม่พ้นยักใหญ่อย่างประเทศญี่ปุ่น ที่กำลังตั้งหน้าตั้งตาพัฒนาหุ่นยนต์เป็นอุตสาหกรรมส่งออกหลักของประเทศ ล่าสุด ได้ให้ประเทศต่าง ๆ เข้าชม หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นมีคุณภาพชีวิตอย่างที่ควรจะเป็น

หุ่นยนต์แมวน้้ำขนปุย ร้องเสียงเบา ๆ และ ขี้อ้อน  หรือจะเป็น Pepper หุ่นยนต์เต้นนำกลุ่มผู้สูงอายุในการออกกำลังกาย สิ่งเหล่านี้คือการดูแลผู้สูงอายุรูปแบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมในประเทศญี่ปุ่น โดยใช้หุ่นยนต์ที่สามารถเรียนรู้พฤติกรรมและเข้าถึงลักษณะทางอารมณ์เพื่อทำหน้าทีคลายความเหงากับให้ผู้สูงอายุ

หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ ในโรงพยาบาล Shin-tomi ในกรุงโตเกียวใช้รูปแบบของหุ่นยนต์กว่า 20 รูปแบบในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นโครงการนำร่องของรัฐบาลที่หวังจะใช้หุ่นยนต์รับมือกับสังคมผู้สูงอายุที่กำลังเพิ่มมากขึ้น

หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ
Paro seal หุ่นยนต์แมวน้ำขนปุย ที่ถูกส่งไปเป็นเพื่อนคุยเพื่อคลายความเหงาให้กับผู้ัสูงอายุ

จากการสัมภาษณ์ คุณ คาซูโกะ ยามาดะ หญิงชราวัย 84 ปี ที่ได้ออกกำลังกายกับหุ่นยนต์ Pepper  เธอว่า “หุ่นยนต์เหล่านี้ยอดเยี่ยม” โดยหุ่นยนต์สามารถจดจำบทสนทนา และตอบโต้กลับได้เป็นอย่างดี ทำให้คนที่ไร้ญาติสามารถมีคู่สนทนาเพื่อคลายเหงาและมันจะทำให้ชีวิตของพวกเขาสนุกมากขึ้น

หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ
การแสดงท่าทางออกกำลังของหุ่นยนต์ Pepper ที่่ให้ผู้สูงอายุทำตามเพื่อการผ่อนคลายร่างกาย

อนึ่ง ถึงแม้ว่าหุ่นยนต์เหล่านี่้จะได้กระแสตอบรับที่ดี และมีแนวโน้มที่จะใช้รับมือกับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต แต่ญี่ปุ่นก็ยังต้องเผชิญกับต้นทุนการผลิตหุ่นยนต์ที่สูงมากๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขยายตัวของตลาดญี่ปุ่น

โดยนับจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นจะให้เงินสนับสนุนการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อนำมาทดแรงงานที่ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยคาดว่าจะมากถึง 380,000 คนในปี พ.ศ. 2568 และรัฐบาลก็มีแผนหาต้นทุนเพื่อการพัฒนาหุ่นยนต์คือการส่งออกผลิตภัณฑ์ด้านหุ่นยนต์ไปยังประเทศต่าง ๆ ที่กำลังสนใจเช่น เยอรมันนี จีน และอิตตาลี ที่กำลังเผชิญกับความท้าทายด้านประชากรผู้สูงอายุเช่นเดียวกันกับญี่ปุ่น

“นี่เป็นโอกาสสำคัญของญี่ปุ่น” คำกล่าวจาก Atsushi Yasuda  ผู้อำนวยการสำนักงงานนโยบายหุ่นยนต์ของกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น และเขาก็คาดการณ์ว่าทุก ๆ ประเทศ ก็อาจจะต้องประสบปัญหาเหมือนกับเรา

ที่ผ่านมา มีกลุ่มประเทศต่าง ๆ กว่า 100 ประเทศเข้าเยี่ยมชมโรงพยาบาล Shin-tomi และได้ให้ความสนใจในเตียงหุ่นยนต์ที่สามารถแปลสภาพเป็นรถเข็นได้ และหุ่นยนต์แมวน้ำขนปุย ซึ่่งปัจจุบันถูกใช้เป็นสัตว์บำบัดในบ้านพักคนชราของเดนมาร์กแล้วกว่า 400 แห่ง

ถ้าหากมีการนำมาใช้ในไทย ก็คงจะเป็นการดีมาก ด้วยเหตุเพราะไทยก็กำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเช่นเดียวกันกับญี่ปุ่น ซึ่งจำเป็นต้องมีใครสักคนคอยดูแลอย่างไกล้ชิด ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ดูแลเรื่องกายภาพเท่านั้น  การเข้าถึงลักษณะทางอารมณ์และสร้างความสุขทางใจก็เป็นเรื่องสำคัญ หุ่นยนต์จึงเป็นตัวเลือกที่ดี

Sorce : Reuters

ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ : Theeleader.com